กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการร้านชำปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพผู้บริโภค
รหัสโครงการ 65-L1466-1-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเกลือ
วันที่อนุมัติ 12 กรกฎาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 13,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววรางคณา ผลาพร
พี่เลี้ยงโครงการ นายไชยา สุทธิโภชน์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาเกลือ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.326,99.466place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล จากนโยบายของรัฐบาลได้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานอาหารไทย ตลอดจนการดำเนินการพัฒนาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลอาหารที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงต้องมีการปรับปรุงและยกระดับมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารสำหรับสถานที่ต่างๆ เช่น ตลาด ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารโรงอาหารในพื้นที่ ทั้งโรงเรียน และหมู่บ้าน เพื่อให้สถานที่ต่างๆได้มาตรฐานตามที่กำหนด อันจะทำให้ประชาชนมีความปลอดภัยจากการบริโภคอาหารเพิ่มขึ้น ในส่วนของการดำเนินงานในเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารรัฐบาลมอบให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินโครงการอาหารปลอดภัย เพื่อดูแลมาตรฐานอาหารในประเทศไทย ให้ได้มาตรฐานสากล เนื่องจากอาหารที่วางจำหน่ายในท้องตลาด ปัจจุบันยังมีการปนเปื้อนของสารต้องห้าม อันอาจก่อให้เกิดโรคต่างๆมากมาย อาทิ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไต ซึ่งปัจจุบันได้มีมาตรการต่างๆ เพื่อตรวจสอบมาตรฐานอาหารที่จำหน่ายในท้องตลาด เช่น การตรวจสารปนเปื้อนในอาหารสดที่วางจำหน่ายในตลาด การตรวจสอบการปนเปื้อนของแบคทีเรียในอาหารปรุงสุก ของแผงจำหน่ายอาหารในหมู่บ้าน การตรวจสอบมาตรฐานร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร การตรวจสอบมาตรฐานสถานที่ผลิตอาหาร รวมถึงการสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารและการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมในภาคประชาชน เป็นต้น ซึ่งมาตรการที่ได้กล่าวมาข้างต้น ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และมีการประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะ
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเกลือ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในงานด้านอาหาร และยา ดังกล่าวเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านอาหารปลอดภัยและการใช้ยาของนโยบายกระทรวงสาธารณสุข และสร้างการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่ายในการพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภค ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์เพื่อรักษาคุณภาพด้านอาหาร, ยา และเครื่องสำอาง เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้บริโภคในพื้นที่ให้มีความรู้และทักษะในการเลือกสิ้นค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน

 

0.00
2 2. เพื่อให้ผู้บริโภคในพื้นที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและใช้สินค้าที่มีความปลอดภัยไม่มีสารอันตราย

 

0.00
3 3. เพื่อยกระดับร้านค้าของชำในหมู่บ้านให้มีการจำหน่ายอาหารและสิค้าที่มีคุณภาพ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 15 13,150.00 0 0.00
1 ก.ค. 65 - 31 ส.ค. 65 โครงการร้านชำปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพผู้บริโภค ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ 15 13,150.00 -

5.วิธีการดำเนินการ 1.ขั้นเตรียมการ 1.1 จัดทำแนวทางการดำเนินงานโครงการรณรงค์การบริโภคอาหารสะอาดปลอดภัยปราศจากสารปนเปื้อน
1.2 เสนอโครงการและแผนงานเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน 2. ขั้นดำเนินการ 2.1จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้และพฤติกรรมด้านสุขาภิบาลแก่ผู้ประกอบการ และแกนนำเครือข่ายสุขภาพ
2.2.ดำเนินการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารในตลาดสดในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเกลือ 2.3 ดำเนินการตรวจร้านขายอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารภายในชุมชน ตามมาตรฐานการจัดตั้งร้านขายอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารที่ถูกหลักสุขาภิบาล 2.๔เชิญชวนร้านอาหารให้ดำเนินการพัฒนาสถานประกอบการของตนเองให้ได้มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร 2.๕สำรวจ/ให้คำแนะนำร้านขายของชำ สุ่มตรวจฉลากผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ ,ส่งเสริมแนะนำให้มีการใช้ยาสมุนไพรและการใช้ยาอื่นอย่างสมเหตุสมผล ในพื้นที่รับผิดชอบ 2.๖ ประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคทางด้านอาหารผู้ใช้บริการในชุมชนตำบลนาเกลือ ให้ถูกสุขลักษณะทางโภชนาการทางด้านอาหาร
  2. มีการปรับปรุงสถานที่ขายอาหารรวมถึงการแต่งกายของผู้ประกอบการอาหารทางด้านผลิตสินค้าบริโภคให้ถูกสุขลักษณะตามหลักโภชนาการ   3.เสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้บริโภคในเรื่องสุขภาพในเรื่องอาหารการกินของประชาชนใน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2565 10:17 น.