กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมค่ายเยาวชนเทศบาลตำบลเตราะบอน
รหัสโครงการ 65-L3054-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลเตราะบอน
วันที่อนุมัติ 11 สิงหาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 สิงหาคม 2565 - 28 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 161,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอรชร เฮ่าบุญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.688,101.543place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เยาวชนเป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และพฤติกรรม เป็นช่วงรอยต่อของความเป็นเด็กและผู้ใหญ่ มีความอยากรู้อยากเห็นจึงเกิดการแสวงหาคําตอบด้วยตนเองหรือตามคำชักจูงของเพื่อน ประกอบกับความก้าวหน้าทางด้านสื่อ เทคโนโลยี ที่เจริญขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งสื่อสังคมออนไลน์ Social Media ต่าง ๆ ที่ทำให้เยาวชนคล้อยตามไปในทางที่ไม่ดีได้ง่าย ขณะเดียวกันความอ่อนแอทางด้านสังคมกลับเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะสถานบันทางสังคมที่สำคัญที่สุดคือครอบครัว ที่เปลี่ยนแปลงจากครอบครัวใหญ่มาเป็นครอบครัวเดี่ยว สมาชิกในครอบครัวน้อยลง และปฏิสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัวก็น้อยลงด้วยเนื่องจากพ่อแม่ผู้ปกครองต้องประกอบอาชีพ ทำมาหากิน จนไม่มีเวลาให้กับลูกหลานในวัยหัวเลี้ยวหัวต่อ เด็กและเยาวชนบางรายจำเป็นต้องใช้ชีวิตเพียงลำพังมากขึ้น สาเหตุทั้งหลายนี้เปรียบเหมือนสายพานความป่วยไข้ทางสังคมที่จะส่งผลให้เด็กและเยาวชนต้องเผชิญปัญหาต่าง ๆ จนนำไปสู่ปัญหาสังคมระดับประเทศตามมาอย่างมากมาย อาทิ ปัญหายาเสพติด การก่อคดีอาชญากรรม ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศ โรคติดต่อต่าง ๆ จากการมีเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในเด็กและเยาวชน
ทั้งนี้ สถานการณ์ด้านการแพร่ระบาดของยาเสพติดระดับโลกในปัจจุบัน พบว่า ประชากรที่มีอายุระหว่าง 15-35 ปี มีแนวโน้มการใช้ยาเสพติดเพิ่มขึ้น (United Nations Office on Drugs and Crime, 2021) สำหรับประเทศไทย พบว่าจำนวนเด็กและเยาวชนที่ถูกดำเนินคดียาเสพติดให้โทษ โดยสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนทั่วประเทศ พบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในระหว่างปี พ.ศ. 2559-2563 คือ ร้อยละ 42.3, 44.6, 50.1, 51.4 และ 52.1 ตามลำดับ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 85 เป็น เพศชาย มีอายุอยู่ระหว่าง 15-19 ปี และ 20-24 ปี ประเภทของยาเสพติดที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย คือ ยาบ้า ยาไอซ์ กัญชา กระท่อม เฮโรอีน และสารอื่น ๆ (สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด)และจากการประเมินสหปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดด้านการใช้ยาเสพติดของเด็กและเยาวชนไทย มีสาเหตุมาจาก 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ รายได้ครอบครัวต่ำ ภาระเกินวัย แรงขับ/การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย มีทัศนคติต่อยาเสพติดในทางบวก การควบคุมตนเองต่ำ จิตใจไม่มั่นคง ยึดถือตนเองเป็นศูนย์กลาง อยากรู้อยากลอง และติดการเที่ยวแตร่ 2) ปัจจัยด้านครอบครัว ได้แก่ ครอบครัวบกพร่อง การเลี้ยงดูไม่เหมาะสมและถูกปล่อยปะละเลย 3) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมและสังคม ได้แก่ การคบหาสมาคมกลุ่มเพื่อนที่มีพฤติกรรมการกระทำความผิด พื้นที่พักอาศัย/แหล่งชุมชนที่มีอัตรากระทำผิดสูง มีแหล่งมั่วสุมและพื้นที่เสี่ยงต่อปัญหายาเสพติด และการไม่ได้รับโอกาสหรือถูกปฏิเสธจากสังคม ส่วนสถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของประเทศไทย ปัจจุบันกรมอนามัยใช้ข้อมูลที่สำคัญ 3 ตัวชี้วัด คืออัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 10-14 ปี อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี และร้อยละการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี ในปี 2564 การตั้งครรภ์โดยไม่มีความพร้อมโดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น พบว่า มีจำนวนผู้หญิงอายุต่ำกว่า 20 ปีที่ให้กำเนิดบุตรอยู่ที่ 63,831 ราย โดยแยกเป็นอายุระหว่าง 15-19 ปี จำนวน 61,651ราย และอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 2,180 ราย และยังมีผู้หญิงอายุต่ำกว่า 20 ปีที่มีการคลอดซ้ำอีกถึง 5,222 ราย ภาครัฐ โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์พีระยุทธ สานุกูล ผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กล่าวว่า “นับแต่ที่กรมอนามัยเริ่มดำเนินนโยบายป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ตามยุทธศาสตร์ปี พ.ศ. 2560-2569 หน่วยบริการมีการจัดบริการคุมกำเนิดกึ่งถาวรเพิ่มขึ้นจนครอบคลุมร้อยละ 85.6 ของโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขในปี พ.ศ.2563 และมีวัยรุ่นเข้าถึงบริการคุมกำเนิดกึ่งถาวรสะสมตั้งแต่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2557 – 31 มีนาคม พ.ศ.2564 รวม 210,997 คนตามข้อมูลจาก E-Claim ของ สปสช. ซึ่งทางกรมฯ จะดำเนินงานต่อไปเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เพื่อแก้ปัญหาประชากรให้ครบทุกด้าน เรายังดำเนินนโยบายส่งเสริมการเกิดที่มีคุณภาพ จัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 – 2569) เพื่อให้ทุกการตั้งครรภ์เป็นการตั้งครรภ์ที่เกิดจากความตั้งใจ มีการวางแผน แม่และเด็กได้รับการดูแลที่เหมาะสมทั้งก่อนและหลังคลอด”         เพื่อให้เยาวชนในพื้นที่มีสุขภาพและสุขภาวะที่ดีทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย สังคม จิตใจหรืออารมณ์ และปัญญา ดังนั้น การเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเพื่อให้เยาวชนในพื้นที่ได้มีภูมิคุ้มกันในการดูแลตนเองและมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและป้องกันยาเสพติด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ สำนักปลัดเทศบาล เทศบาลตำบลเตราะบอน จึงได้จัดทำโครงการค่ายอบรมเยาวชนเทศบาลตำบลเตราะบอน โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเตราะบอน เพื่อพัฒนาให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการคิด มีการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มเพื่อน เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ฝึกให้เยาวชนได้คิดถึงปัญหาสุขภาพ ปัญหาทางเพศ การแก้ไขและการป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเด็กและเยาวชนในการป้องกันตนเองจากพิษภัยยาเสพติด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์

 

0.00
2 เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและป้องกันยาเสพติด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ในรูปแบบเครือข่ายเพื่อนเตือนเพื่อน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องพิษภัยยาเสพติด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ และสามารถป้องกันตนเองได้
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีการสร้างเครือข่ายเพื่อนเตือนเพื่อน และมีกระบวนการทางความคิด การมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและป้องกันยาเสพติด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2565 15:53 น.