กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนพ่อแม่เพื่อการส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กโดยครอบครัวมีส่วนร่วม ปี 2565
รหัสโครงการ 65-L8423-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ๊ะเก
วันที่อนุมัติ 3 สิงหาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 24,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมาซีเตาะ สูแน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงสะโต อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.277,101.691place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 110 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การตั้งครรภ์เป็นระยะพัฒนาการที่สำคัญของครอบครัว โดยเฉพาะการตั้งครรภ์ครั้งแรกการตั้งครรภ์ทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งในด้านกายวิภาค ชีวเคมี และสรีรวิทยา การเปลี่ยนแปลงนี้ดำเนินไปตลอดการตั้งครรภ์และร่างกายจะมีการปรับตัวอย่างมากมายกับ การเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆของร่างกายที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสลับซับซ้อนสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อม เพื่อเตรียมสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอด นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์  ยังต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคม เช่น บทบาทหน้าที่ ภาพลักษณ์ สัมพันธภาพกับครอบครัว เป็นต้น         เป้าหมายสูงสุดของงานอนามัยแม่และเด็กที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย โดยมีกลวิธีที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ได้แก่ การให้บริการตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์และขณะตั้งครรภ์ การดูแลขณะเจ็บครรภ์คลอด การประเมินภาวะเสี่ยงของมารดาขณะตั้งครรภ์จะสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาทั้งที่จะเกิดแก่มารดาและทารกได้ ปัจจัยด้านอายุมารดาที่อายุน้อยและมารดาที่อายุมากมีผลต่อการตั้งครรภ์และการคลอดทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม  เช่น การคลอด

ก่อนกำหนด วิธีการคลอด น้ำหนักทารกแรกเกิด และการตายของมารดาและทารกปริกำเนิด ปัญหาการตั้งครรภ์เหล่านี้เป็นผลมาจากการตั้งครรภ์ในช่วงอายุที่ไม่เหมาะสม ภาวะเสี่ยงต่างๆขณะตั้งครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ การดูแลสุขภาพตนเองขณะตั้งครรภ์ ทั้งในเรื่องการรับบริการฝากครรภ์ที่ครบตามเกณฑ์ ด้านโภชนาการ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การออกกำลังกาย และ การพักผ่อนเพื่อผ่อนคลาย รวมไปถึงการดูแลสุขภาพจิตใจและการปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสังคมเพื่อรองรับบทบาทหน้าที่ และภาพลักษณ์ใหม่ที่จะเกิดขึ้น
ที่ผ่านมามีผลงานที่สำคัญและเร่งด่วนในการแก้ปัญหา ดังนี้คือ 1.ภาวะซีดของหญิงตั้งครรภ์ซึ่งยังอยู่ในอัตราที่สูงห้ามเกินร้อยละ 10 ผลงานอยู่ที่ร้อยละ 12.56 อัตราของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ห้ามเกินร้อยละ 7 ผลงานอยู่ที่ร้อยละ 13.73 และผลงานอีกหลายประการที่ถึงแม้จะถึงเกณฑ์แต่ก็ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น การฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ การฝากครรภ์ครบ 4 ครั้งตามเกณฑ์และการคลอดในสถานบริการ จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้หาวิธีการเพื่อปรับปรุงการให้บริการในงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ๊ะเกขึ้น เพื่อพัฒนาการให้บริการในงานอนามัยแม่และเด็กต้องมีการปรับรูปแบบและกลวิธีการให้บริการที่สอดคล้องกับความต้องการตามความเหมาะสมของมาตรฐานการบริการสาธารณสุขและด้านวัฒนธรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดคุณภาพการบริการที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน สามารถช่วยให้หญิงตั้งครรภ์ดำเนินชีวิตได้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ ปรับวิถีชีวิตและดูแลตนเองให้ดำเนินไปได้ภายใต้ความผันแปรของช่วงพัฒนาการ เพื่อคุณภาพชีวิตของมารดาและทารก โดยมุ่งมั่นที่จะน้อมนำหลักการและรูปแบบของอิสลามมาประยุกต์ใช้ในงานบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กอย่างเต็มที่ ทั้งรูปแบบของการให้บริการ วิธีการให้การดูแลมารดาและทารกในครรภ์ที่จะต้องใช้หลักการอิสลาม การตั้งครรภ์แบบอิสลาม การส่งเสริมสุขภาพในขณะตั้งครรภ์แบบอิสลาม ซึ่งเป็นวิธีที่สมบูรณ์แบบที่สุดแล้วในการดำเนินชีวิตของผู้คน       ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ๊ะเก ตำบลบาโงสะโต อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
เล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะจัดให้มีโครงการโรงเรียนพ่อแม่เพื่อการส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กโดยครอบครัวมีส่วนร่วม ปี 2565 เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตหญิงตั้งครรภ์ให้ได้รับบริการและให้การดูแลครบมาตรฐาน มีสุขภาพที่ดีและคลอดบุตรแล้วยังเป็นการส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายสามารถดูแลสุขภาพได้อย่างสอดคล้องกับบริบทวิถีมุสลิม เป็นไปตามครรลองของศาสนาได้ทั้งสุขภาพดีและได้ทั้งบุญ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์เข้ารับการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์

อัตราการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์  12  สัปดาห์ของหญิงตั้งครรภ์ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75

2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 4 ครั้งตามเกณฑ์

อัตราการฝากครรภ์ครบ 4 ครั้งตามเกณฑ์ของหญิงตั้งครรภ์ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95

3 เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์

อัตราการเกิดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ ไม่เกินร้อยละ 10

4 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์คลอดในสถานบริการสาธารณสุข

อัตราการคลอดคลอดในสถานบริการสาธารณสุขของ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์มีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่สมบูรณ์แข็งแรง มีความพร้อมในการตั้งครรภ์ตลอดจนมีความพร้อมในการต้อนรับการมีลูกน้อยทั้งในเรื่องของทักษะการเลี้ยงดูและการมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงทุกประการทั้งมารดาและบุตร
  2. เกิดสายใยรักแห่งครอบครัว ที่จะนำไปสู่การเป็นครอบครัวที่สมบูรณ์แบบในเรื่องความรัก ความเข้าใจ และความอบอุ่นในสายสัมพันธ์อย่างมั่นคงและยั่งยืน นำมาซึ่งความสุขของทุกๆคนในครอบครัว
  3. สานต่อหลักธรรมนำสุขภาพให้ประจักษ์แก่มวลมนุษย์ ว่าหลักการอิสลามเป็นความสมบูรณ์แบบในทุกวิถีแห่งชีวิต ไม่เว้นแม่กระทั่งวิถีแห่งสุขภาพ อิสลามยังมีการกล่าวถึง ใช้ประโยชน์ได้จริง ได้ผล แก้ปัญหาประชาชาติได้ทั้งปวง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ส.ค. 2565 11:26 น.