กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในวัยชรา ประจำปี 2565
รหัสโครงการ L2502-65-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลกาลิซา
วันที่อนุมัติ 30 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 กันยายน 2565 - 15 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 195,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพาตีเม๊าะ ลาเซ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาลิซา อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.225,101.661place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 1200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

คุณภาพชีวิตเป็นเป้าหมายหลักของสังคมคือประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีทั้งร่างกายและจิตใจทุกเพศ ทุกวัย จากการศึกษาข้อมูลพบว่าประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณ และสัดส่วนต่อประชากร กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดนโยบายให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรงตามวัย ขยายโอกาสดำรงชีวิตอย่าง  มีคุณค่า ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมืออย่างจริงจัง และต่อเนื่องในการเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุทุกคนตลอดจนบุคคลในครอบครัว และชุมชนเนื่องจากจำนวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นเช่นนี้ เนื่องมาจากการพัฒนาด้านสาธารณสุข และทางการแพทย์ ทำให้อัตราการตายลดลง ผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น      แต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุ จึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพา ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อย หรืออาจมีอาการสมองเสื่อม ทำให้ต้องอาศัยพึ่งพาเป็นภาระแก่ผู้ดูแล เกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุด สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุข ผู้สูงอายุจึงควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง  มีคุณภาพชีวิตที่ดี ป้องกันการเกิดโรคต่างๆ รวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรคและควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิม จะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคมและมีความสุขในปั้นปลายของชีวิต ปัจจุบันประชากรวัยผู้สูงอายุไทยมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ผลจากความเสื่อมของร่างกายทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ฯลฯ การเตรียมความพร้อม ของทีมสุขภาพในเรื่องเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในการสร้างเสริมสุขภาพของ ผู้สูงอายุเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ จากการสังเคราะห์ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ มีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแต่ละด้าน ด้านอาหารหรือโภชนาการเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิต ร่างกายจะเจริญเติบโตมีสุขภาพที่สมบูรณ์ เมื่อได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน ถูกลักษณะ และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย  ไม่มีสารพิษหรือสิ่งเจือปนที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย อาหารและโภชนาการ การรู้จักเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายเหมาะสมกับวัย จะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ และมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงดังคำกล่าวที่ว่า “กินอย่างไรได้ อย่างนั้น” ด้านการออกกำลังกาย เป็นประจำส่งผลดีหลายประการ คือ ช่วยเพิ่มปริมาณนำเข้าออกซิเจนที่ ใช้ในร่างกาย ลดอัตราการเต้นของ ชีพจร  ลดความดันโลหิต ลดอัตราการเต้นของ หัวใจ ลดน้ำหนัก ลดปริมาณไขมันและระดับโคเลสเตอรอล ลดจำนวนไขมันเลว (LDL) และเพิ่มปริมาณไขมันดี (HDL) ด้านการจัดการกับความเครียด ความเครียดมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกายและจิตใจ เช่น ทำให้ บุคคลเกิดการเจ็บป่วยได้ง่าย รับประทานอาหารมากขึ้น ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ฯลฯ และอุบัติเหตุเป็นสิ่งหนึ่งที่มักเกิดกับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ“การหกล้ม” ส่วน ใหญ่เกิดขึ้นในบ้าน เนื่องจากการเดินสะดุด บริเวณที่เกิดเหตุบ่อยคือ ห้องน้ำ และทางเดินนอกตัวบ้าน สาเหตุมาจาก การทรงตัวไม่ดี ขาอ่อนแรง หน้ามืด มี ปัญหาด้านสายตาและการได้ยิน การได้รับยาที่มีผลต่อระบบการไหลเวียนโลหิต เช่น ยาลดความดันโลหิต ส่วนสาเหตุจากสิ่งแวดล้อม ได้แก่ พื้นลื่น เปียก พื้นผิวขรุขระ ของใช้วางเกะกะรก แสงสว่างไม่เพียงพอ เป็นต้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นนอกจากเกิดบาดแผลตามร่างกายแล้ว บางรายมีการบาดเจ็บจากอวัยวะภายใน บาดเจ็บที่ศีรษะหรือกระดูกหัก ต้องพักรักษาในโรงพยาบาลนาน บางราย เสียชีวิตในเวลาต่อมา ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาและเวลาในการดูแล การสร้างเสริมสุขภาพจึงควรตระหนักถึงปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุ เพื่อจะได้ดำเนินการการสร้างเสริมสุขภาพที่เหมาะสม กับวิถีชีวิต และบริบทของผู้สูงอายุ ดังนั้น ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลกาลิซา ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในวัยชรา ประจำปี 2565 เพื่อให้ความรู้ด้านสุขภาพและการป้องกันโรคแก่ผู้สูงอายุ ให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสม และเพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีการพบปะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ด้านสุขภาพและการป้องกันโรคแก่ผู้สูงอายุ

ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ด้านสุขภาพและการป้องกันโรคแก่ตนเองได้

2 เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพของตนเองอย่างเหมาะสม

ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถดูแลสุขภาพของตนเอง

3 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีการพบปะ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์

ผู้เข้าร่วมอบรมได้มีการพบปะ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินงาน
1 ประชุมชี้แจงโครงการการดำเนินงานให้แก่ตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  ตำบลกาลิซา เพื่อวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีดำเนินงานโครงการ 2 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลกาลิซา 3 ติดต่อประสานงานวิทยากรที่เกี่ยวข้องและขอความอนุเคราะห์เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เข้าร่วมโครงการ (ตรวจสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ) 4 จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ เรื่อง ด้านการรับโภชนาการ ด้านการออกกำลังกาย ด้านการจัดการความเครียด ด้านการจัดการสภาพแวดล้อมภายในบ้าน เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงตรวจสุขภาพ และสังเกตอาการผิดปกติของตนเองที่จะต้องพบแพทย์ 5 สนับสนุนให้ผู้สูงอายุจัดกิจกรรมร่วมกันทุกเดือนเช่น ทำบุญ ออกกำลังกาย ฟังการ      บรรยายธรรม การให้ความรู้ การสันทนาการต่างๆ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์
6 สรุปและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ผู้สูงอายุความรู้ด้านสุขภาพ และการป้องกันโรค 2 ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพของตนเองอย่างเหมาะสม 3 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีการพบปะ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2565 15:10 น.