กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมัสยิดส่งเสริมสุขภาวะ ชุมชนทุ่งออก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการมัสยิดทุ่งออก
วันที่อนุมัติ 1 สิงหาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 34,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอิมรอน นุ้ยโดด ตำแหน่ง อิหม่ามมัสยิดกลางทุ่งออก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ มัสยิดกลางทุ่งออก
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ชุมชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลปริกมีทั้งหมด ๗ ชุมชน ซึ่งทั้งหมดรวมอยู่ในเขตความรับผิดชอบสนับสนุนและส่งเสริมด้านการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขตที่ ๑๒ จังหวัดสงขลา โดยมีชุมชน ๕ ชุมชน จากทั้งหมด ๗ ชุมชน ในพื้นที่เทศบาลตำบลปริกใช้มัสยิดเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ทั้งการเผยแพร่คำสอนให้คนยึดมั่นหลักบัญญัติของอิสลาม อันครอบคลุมวิถีแห่งการดำเนินชีวิต ทุกกระบวนการและกิจกรรมแห่งชีวิต หมายรวมถึงความเชื่อทางจิตวิญญาณ ความเชื่อเกี่ยวกับร่างกาย ในรูปแบบของการปฏิบัติศาสนกิจ พิธีกรรม การอบรมสั่งสอน รูปแบบการดำเนินชีวิตในครอบครัว สังคม ประเทศชาติและการดำเนินชีวิตในโลก ชุมชนทุ่งออก ตั้งอยู่ที่หมู่ ๒ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา มีครัวเรือนจำนวน 221 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมดจำนวน 424 คน (ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ณ วันที่ 30 มกราคม 2564) มีคณะกรรมการมัสยิดจำนวน 15 คน มีแกนนำด้านสุขภาพจำนวน 8 คน และมีจำนวนประชาชนจิตอาสาอีกหลายสิบคน ประชาชนในชุมชนทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลาม โดยมีมัสยิดกลางทุ่งออกเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนในชุมชน ส่งผลให้กิจวัตรประจำวันของประชาชนในชุมชนมีความผูกพันกับมัสยิด กล่าวคือ ในการดำเนินชีวิตประจำวันประชาชนต้องปฏิบัติศาสนกิจละหมาด 5 เวลา และในทุกวันศุกร์ถือเป็นวันสำคัญที่มุสลิม (ผู้ชายทุกคน) ต้องมาปฏิบัติศาสนกิจที่มัสยิด รวมถึงวันสำคัญทางศาสนาอิสลาม เช่น ในช่วงเดือนถือศีลอด (รอมฎอน) และวันตรุษ (อีดิ้ลฟิตรีและอิดิ้ลอัฎฮา) ประชาชนทุกครัวเรือนจะมารวมตัวเพื่อปฏิบัติศาสนกิจ ณ มัสยิด นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ในการจัดการเรียนการสอนศาสนาของประชาชนทุกช่วงวัยในชุมชน มัสยิดกลางทุ่งออก เป็นมัสยิดที่ตั้งอยู่ติดกับถนนกาญจนวนิช ซึ่งเป็นถนนสายหลักที่ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย จึงเป็นมัสยิดที่มีผู้คนทั่วไปทั้งคนไทยและคนมาเลเซียที่เดินทางผ่านไป- มา แวะเวียนมาปฏิบัติศาสนกิจตามความเชื่อหรือพิธีกรรมทางศาสนาอิสลามอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังเป็นพื้นที่ที่คนในชุมชม และองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชนใช้เป็นพื้นที่ในการจัดกิจกรรมต่างๆ นอกจากนี้ในชุมชนเองยังมีการจัดการเรียนการสอนศาสนาทั้งในภาคค่ำสำหรับประชาชนทั่วไปในชุมชนและผู้ที่สนใจ วันเสาร์และวันอาทิตย์ สำหรับเด็กและเยาวชนในชุมชนทุ่งออกและชุมชนใกล้เคียง ซึ่งเรียกว่าโรงเรียนตาดีกา จากจำนวนกิจกรรม และจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่มีเป็นจำนวนมาก อาจส่งผลให้เกิดความสุ่มเสี่ยงทางด้านสุขภาวะที่สามารถเกิดปัญหาและแพร่กระจายไปในชุมชนทุ่งออกและชุมชนใกล้เคียงในพื้นที่เทศบาลตำบลปริกได้ โดยสาเหตุของปัญหาทางสุขภาวะที่เกิดขึ้นในเชิงประจักษ์ คือ การสูบบุหรี่ในพื้นที่บริเวณมัสยิด การจัดการขยะและสภาพแวดล้อมที่ยังไม่ถูกต้องและเหมาะสมสามารถเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคต่างๆ การรักษาความสะอาดของห้องส้วมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การรักษาความสะอาดของสถานที่เอาน้ำละหมาด การรักษาความสะอาดของจุดสัมผัสร่วมต่างๆ ภายในบริเวณมัสยิด เป็นต้น โดยสาเหตุของปัญหาเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชนได้โดยตรงและทางอ้อมในรูปแบบของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ และโรคระบาดต่างๆ ทั้งที่เป็นโรคระบาดประจำถิ่น เช่น ไข้เลือดออก ชิคุนกุนยา ไข้ฉี่หนู ท้องร่วง ตาแดง หรือโรคที่เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องของคนในชุมชน และโรคอุบัติใหม่ เช่น โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และโรคฝีดาษลิง เป็นต้น ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาคณะกรรมการมัสยิดกลางทุ่งออก ประชาชนในชุมชนทุ่งออกเอง มีแนวคิดเพื่อยกระดับการพัฒนามัสยิดให้เป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนการเรียนรู้ของคนในชุมชนและทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน อีกทั้งยังมีแนวคิดในการเสริมสร้างการเรียนรู้ให้ประชาชนทุกเพศวัยในชุมชนสามารถรู้เท่าทันและสามารถปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ปัญหาทางสุขภาวะที่จะเกิดขึ้นในชุมชน ทั้งในภาวะปกติ และภาวะฉุกเฉิน เพื่อเป็นแนวทางในการเสริมสร้างสุขภาวะในชุมชนอย่างยั่งยืน ดังนั้นคณะกรรมการมัสยิดกลางทุ่งออก และแกนนำด้านสุขภาพ จิตอาสาภายในชุมชนทุ่งออก จึงขอดำเนิน “โครงการมัสยิดส่งเสริมสุขภาวะ ชุมชนทุ่งออก” ขึ้น เพื่อสร้างกระบวนการให้คณะกรรมการมัสยิดกลางทุ่งออก แกนนำด้านสุขภาพ จิตอาสาภายในชุมชนทุ่งออก และประชาชนทุกเพศวัย มีความตระหนักถึงกระบวนการสร้างเสริมสุขภาวะ สามารถรู้เท่าทันและสามารถปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ปัญหาทางสุขภาวะที่จะเกิดขึ้นในชุมชนทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน เพื่อเป็นมัสยิดส่งเสริมสุขภาวะอย่างยั่งยืน และเป็นมัสยิดส่งเสริมสุขภาพ (นำร่อง) ตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 34,000.00 0 0.00
1 ส.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 มัสยิดส่งเสริมสุขภาวะ ชุมชนทุ่งออก 0 34,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. คณะกรรมการมัสยิด แกนนำมัสยิด คณะกรรมการชุมชน แกนนำด้านสุขภาพ เจ้าหน้าที่ชุมชน จิตอาสา ครู/ นักเรียนโรงเรียนตาดีกา และประชาชนที่สนใจ ในสังกัดมัสยิดกลางทุ่งออก เกิดความรู้ ความเข้าใจ มีความตระหนักสามารถรู้เท่าทันและสามารถปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ปัญหาทางสุขภาวะที่จะเกิดขึ้นในชุมชนทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน เพื่อเป็นมัสยิดส่งเสริมสุขภาวะอย่างยั่งยืน ๒. คณะกรรมการมัสยิด แกนนำมัสยิด คณะกรรมการชุมชน แกนนำด้านสุขภาพ เจ้าหน้าที่ชุมชน จิตอาสา ครู/ นักเรียนโรงเรียนตาดีกา และประชาชนที่สนใจ ในสังกัดมัสยิดกลางทุ่งออก เกิดความรู้ ความเข้าใจ มีความตระหนักในการดำเนินกิจกรรมตามเกณฑ์การประเมิน/ ตัวชี้วัด เรื่องศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ และการนำหลักคำสอนของศาสนานำมาใช้ให้เกิดสุขภาพแบบองค์รวม ๓. มัสยิดกลางทุ่งออกมีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น ตามการประเมิน/ ตัวชี้วัด เรื่องศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ มีภูมิทัศน์ที่ดีมีความสะอาด มีความสะดวก น่าอยู่ น่าใช้ดำเนินกิจกรรม ไม่เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค และปราศจากโรคติดต่อต่างๆ ๔. เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ผลักดันให้มัสยิดกลางทุ่งออก เป็นมัสยิดส่งเสริมสุขภาพ (นำร่อง) ตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2565 15:47 น.