กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนปลอดขยะ หมู่ 5 ตำบลอาซ่อง ปี 2565
รหัสโครงการ 65-L4166-2-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เยาวชน หมู่ 5 ตำบลอาซ่อง
วันที่อนุมัติ 3 สิงหาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 สิงหาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 42,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมาหามะตาลมีซี วาอีบาซู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอาซ่อง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.52,101.451place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การขยายตัวของชุมชนเมืองและการเพิ่มจำนวนประชากรมีมากขึ้น ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม อย่างรวดเร็วมาก เทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด สวนทางกับธรรมชาติที่ทรุดโทรมลงแต่นั่นก็ไม่ได้แปลว่า มนุษย์เราไม่ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม เพราะในแต่ละปีก็มีหลากหลายหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ช่วยกัน ผลักดันเพื่อความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นอยู่มาก โดยปัจจุบันมีนวัตกรรมที่น่าสนใจมากมายที่ทำเพื่อโลก ทำเพื่อสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ทำให้ส่งผลต่อการดำรงชีวิตความเป็นอยู่ทั้งทางตรงและ ทางอ้อม ซึ่งปัญหาขยะมูลฝอยนับว่าเป็นอีกปัญหาหนึ่ง ที่สำคัญที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ตามลำดับ อันเนื่องมาจากสาเหตุความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบกับการขยายตัวทาง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และจำนวนของประชากรที่เพิ่มขึ้นทำให้พฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ประกอบกับมีการใช้บรรจุภัณฑ์ฟุ่มเฟือยมากขึ้น และประชาชนมีพฤติกรรมการทิ้งมูลฝอยโดยขาดจิตใต้สำนึกและ ไม่คัดแยกขยะมูลฝอยต่าง ๆ ก่อนทิ้ง จากปัจจัยดังกล่าวทำให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ขาดความสะอาด ความ สวยงาม ความเป็นระเบียบ และไม่น่าอยู่ อีกทั้งยังขาดความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ที่จะต้องแก้ไขปัญหาร่วมกัน และการมีระบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ รวมถึงประชาชนยังขาดองค์ความรู้และ จิตสำนึกเกี่ยวกับการตระหนักถึงปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย ทำให้ไม่เห็นถึงความสำคัญที่จะลดปริมาณและคัด แยกขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางหรือแหล่งกำเนิด จึงส่งผลให้ปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ ปี
ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว งานสาธารณสุข สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลอาซ่อง เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการชุมชน ปลอดขยะ หมู่ 5 โดยประชุมทีมคณะทำงาน เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการลดใช้ การนำกลับ และการแปรรูปขยะให้มีมูลค่า การประชุมซักซ้อมความเข้าใจ เพื่อเป็นต้นแบบในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืน และเพิ่มเติมในกิจกรรม เป็นกิจกรรมหนึ่งที่มุ่งเน้นการ ปลูกฝังจิตสำนึกให้ประชาชนตำบลอาซ่อง มีนิสัยไม่ทิ้งขยะ ให้รู้จักคุณค่าของวัสดุเหลือใช้ (ขยะ) และ รู้จักแยกขยะแต่ละประเภทได้ถูกต้อง ในชีวิตประจำวัน โดยการปฏิบัติจริง และสร้างแรงจูงใจ ทำให้ขยะลดปริมาณลงได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างความตระหนักและสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลอาซ่อง ให้เห็นความสำคัญของการจัดการขยะ จนเป็นวัฒนธรรมขององค์กรและเป็นแบบอย่างให้แก่ชุมชน สังคม

 

2 2. สร้างวินัย และสร้างจิตสำนึกให้ชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการจัดการ ขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง

 

3 3. เพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน บ้านเมืองสะอาดเรียบร้อย เป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
26 ก.ย. 65 กิจกรรมอบรมให้ความรู้คัดแยกขยะในครัวเรือน ในกลุ่มเด็กและเยาวชน 100 22,100.00 22,100.00
27 ก.ย. 65 กิจกรรมเดินรณรงค์ ลด ละ เลิกใช้โฟมบรรจุอาหาร 100 20,500.00 20,500.00
รวม 200 42,600.00 2 42,600.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะ และมีจิตสำนึกและตระหนักถึง ความสำคัญในการลดปริมาณและคัดแยกขยะ
  2. บ้านเรือนในชุมชน เป็นบ้านเรือนที่ถูกหลักสุขาภิบาลและมีสิ่งแวดล้อมที่ดีและเป็น หมู่บ้านต้นแบบในการจัดการขยะมูลฝอย
  3. ประชาชนสามารถบริหารจัดการตนเองในการคัดแยกขยะ ขยะในชุมชนมีปริมาณลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2565 14:34 น.