กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบบริการสำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงตำบลนาทับ ปี 2565
รหัสโครงการ 2565-L5181-03-001
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและพิการตำบลนาทับ
วันที่อนุมัติ 11 สิงหาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 108,490.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาทิตย์ หมัดสะอิ
พี่เลี้ยงโครงการ นายธนพนธ์ จรสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 1253 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 253 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 87 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง (Caregiver) มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ
2.00
2 จำนวนผู้สูงอายุและผู้ที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)
46.00
3 ร้อยละของผู้มีภาวะพึ่งพิงได้รับการจัดการวางแผนการดูแล (Care plan)
81.00
4 ร้อยละของผู้มีภาวะพึ่งพิงได้เข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ
81.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปี 2565 ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ และอีก 9 ปีข้างหน้า ในปี 2574 จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Super-Aged Society)มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินกว่า 28% ของประชากรทั้งประเทศ จากสถานการณ์ดังกล่าวจะทำให้มีผู้สูงอายุ “กลุ่มผู้ป่วยติดเตียง” ประมาณ 3% หรือ 4 แสนคน จากผู้สูงอายุที่มีอยู่ประมาณ 13 ล้าน (ข้อมูลมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.)) ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมทั้งทางด้าน ร่างกาย จิตใจสังคม จิตวิญญาณ
ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงเทศบาลตำบลนาทัน ตระหนักและให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมรับมือและวางแนวทางเพื่อรองรับที่ประเทศไทยและประชากรในพื้นที่ตำบลนาทับเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ โดยมีนโยบายด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทุกกลุ่ม ซึ่งนโยบายสำคัญคือ การทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่แข็งแรง ชะลอการเกิดโรคและความเจ็บป่วยจนต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิง และวางระบบการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีดูแลตนเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดี การจัดการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวจึงเป็นเรื่องสำคัญ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงเทศบาลตำบลนาทับและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบบริการด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่จัดระบบการดูแลที่มีประสิทธิภาพ ยั่งยืนและจัดเตรียมระบบดูแลในบ้าน สถานพักฟื้น และโรงพยาบาลที่เป็นความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชนและครอบครัว ซึ่งการเตรียมระบบดูแลในบ้าน จำเป็นต้องมีสำรวจและค้นหาและประเมินสุขภาพของผู้สูงอายุเพื่อจำแนกประเภทผู้สูงอายุ พร้อมทั้งเตรียมองค์ความรู้ให้กับผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Caregiver) มีอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุขั้นกลางจำนวน2 คนทำให้บุคลากรในการออกให้การพยาบาลไม่ทั่วถึง และในปี งบประมาณ 2565ได้มีการเพิ่มกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงานโดยให้ครอบคลุมทุกกลุ่มอายุและทุกสิทธิทำให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Caregiver) มีจำนวนไม่เพียงพอในการดำเนินงานเทศบาลตำบลนาทับ จึงได้จัดให้มีการจัดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Caregiver)ตามหลักสูตรกรมอนามัย ๗๐ ชั่วโมงเพื่อเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพบรรลุตามวัตถุประสงค์ จึงต้องมีการจัดการระบบข้อมูลทางด้านสุขภาพของผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตตำบลนาทับจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบบริการสำหรับผู้สูงอายุเทศบาตำบลนาทับ ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มจำนวนอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง (Caregiver) มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ

จำนวนอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง (Caregiver) มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น

2.00 20.00
2 ลดจำนวนผู้สูงอายุและผู้ที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)

จำนวนผู้สูงอายุและผู้ที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)ลดลง

46.00 40.00
3 เพิ่มร้อยละของผู้มีภาวะพึ่งพิงได้รับการจัดการวางแผนการดูแล (Care plan)

ร้อยละของผู้มีภาวะพึ่งพิงได้รับการจัดการวางแผนการดูแล (Care plan)เพิ่มขึ้น

81.00 98.00
4 เพิ่มร้อยละของผู้มีภาวะพึ่งพิงได้เข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ

ร้อยละของผู้มีภาวะพึ่งพิงได้เข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น

81.00 98.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 108,490.00 3 106,990.00
1 - 30 ก.ย. 65 จัดประชุมสหวิชาชีพและหมอครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้มีภาวะพึ่งพิงระยะยาว 0 1,000.00 1,000.00
1 - 30 ก.ย. 65 จัดอบรมผู้ดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิง (Caregiver) หลักสูตร 70 ชั่วโมง ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 0 106,990.00 105,490.00
1 - 30 ก.ย. 65 ประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องสรุปผลการดำเนินงาน 0 500.00 500.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2565 00:00 น.