กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังพฤติกรรมการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัยในเกษตรกร
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว
วันที่อนุมัติ 14 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 เมษายน 2566 - 31 กรกฎาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2566
งบประมาณ 12,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเอนก กลิ่นรส
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.608829,99.986744place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 27 เม.ย. 2566 31 ก.ค. 2566 12,750.00
รวมงบประมาณ 12,750.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนของเกษตรกร(คน)ที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย
150.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมองผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆ ขึ้นมาเช่นโรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อโรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้น ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ ๘๐ของพื้นที่ทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ ทำไร่อ้อย ทำไร่ข้าวโพด ทำสวน ปลูกพืชผักผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงอยู่ จากข้อมูลดังกล่าว แสดงว่าเกษตรกร ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกร จึงได้จัดทำโครงการสำรวจความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศรัตรูพืชและแมลงมีทักษะในการประเมินและเฝ้าระวังสุขภาพตนเอง อันเนื่องมาจากการใช้สารเคมี ทุกคน

เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศรัตรูพืชและแมลงมีทักษะในการประเมินและเฝ้าระวังสุขภาพตนเอง อันเนื่องมาจากการใช้สารเคมี ทุกคน

150.00 150.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงของเกษตรกรที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตรายได้รับการคัดกรองและรักษาพยาบาลเบื้องต้น ทุกคน

กลุ่มเสี่ยงของเกษตรกรที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตรายได้รับการคัดกรองและรักษาพยาบาลเบื้องต้น ทุกคน

150.00 150.00
3 เพื่อลดความเสี่ยงจากสารเคมีตกค้างในเลือดลดลง ร้อยละ 80

ลดความเสี่ยงจากสารเคมีตกค้างในเลือดลดลง ร้อยละ 80

100.00 20.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 12,750.00 3 12,750.00
26 - 28 เม.ย. 66 1. อบรมเกษตรกรและกลุ่มเสี่ยงให้มีความรู้และมีทักษะในการเฝ้าระวังการใช้สารเคมีกำจัดศรัตรูพืช 0 9,150.00 9,150.00
26 - 28 เม.ย. 66 2. ตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกรและกลุ่มเสี่ยง 0 3,600.00 3,600.00
12 - 19 พ.ค. 66 3. จัดบริการลดสารเคมีตกค้างในเลือดกลุ่มเสี่ยงฯ โดยใช้สมุนไพรรางจืด 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเกษตรกรทุกคนมีทักษะในการประเมินและเฝ้าระวังสุขภาพตนเองอันเนื่องมาจากการใช้สารเคมีกำจัดศรัตรูพืช
  2. กลุ่มเสี่ยงฯ ที่ได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดในรายที่มีภาวะเสี่ยงสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทุกคน
  3. กลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีระดับสารเคมีตกค้างในเลือดลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 ส.ค. 2565 00:00 น.