กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแม่ปลอดภัย ไม่มีภาวะซีด
รหัสโครงการ 65-L4127-01-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ
วันที่อนุมัติ 15 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2565 - 31 ธันวาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2565
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายฟากรี ดาหะซี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.212,101.291place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
60.00
2 จำนวนหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง(คน)
60.00
3 จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะซีด(คน)
10.00
4 จำนวนแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระยะเวลา 6 เดือน(คน)
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโลหิตจาง ถือเป็นความผิดปกติทางระบบเลือดที่พบได้บ่อยที่สุดในสตรีตั้งครรภ์ โดยมีอุบัติการณ์เฉลี่ย ร้อยละ 42 ของการตั้งครรภ์ แต่ในประเทศที่กำลังพัฒนาพบความชุกมากถึงร้อยละ 35-75 และจะมีความรุนแรงที่มากขึ้นดังมีรายงานการเสียชีวิตของมารดาสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางถึงร้อยละ 20 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบแอฟริกา และเอเชียตอนใต้ โดยสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดเกิดจาก ภาวะขาดธาตุเหล็ก สถานการณ์ภาวะโลหิตจางของสตรีตั้งครรภ์ไทยจากรายงานของกรมอนามัย พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี ร้อยละ 20-30 ในช่วงตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงสรีรวิทยาของระบบโลหิต โดยในครรภ์เดี่ยวจะมีการเพิ่มปริมาณเลือดทั้งหมดประมาณ ร้อยละ 50 (1000 ml) โดยปริมาณเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นประมาณ ร้อยละ 25 (300 ml) ซึ่งการที่มีปริมาณพลาสมาเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนที่มากกว่า ทำให้เกิดภาวะ hemodilution ซึ่งไม่ใช่ภาวะโลหิตจางที่แท้จริง และ Hb มักไม่ต่ำกว่า 10g/dl จากผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กพบว่าภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ 3 ปีย้อนหลังยังคงเป็นปัญหาอยู่ไม่สามารถดำเนินงานให้ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 10 ได้ ปี 2562 ร้อยละ 42.0 ปี 2563 ร้อยละ 33.63 ปี 2564 26.30 ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของมารดาและทารกในพื้นที่ตำบลบาเจาะ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดและเพื่อให้การแก้ไขปัญหางานอนามัยแม่และเด็กได้อย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ จึงได้จัดทำโครงการแม่ปลอดภัย ไม่มีภาวะซีด ในหญิงตั้งครรภ์ขึ้นมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์มากกว่าร้อยละ 60

60.00 75.00
2 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

หญิงมีครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 60

60.00 80.00
3 เพื่อลดภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์

อัตราภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ไม่เกินร้อยละ10

10.00 40.00
4 เพื่อส่งเสริมแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระยะเวลา 6 เดือน

อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จนถึง 6 เดือน ร้อยละ 50

50.00 75.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65
1 ค้นหาและรวบรวมหญิงวัยเจริญพันธุ์ (อายุ 15-45 ปี)(1 ก.ค. 2565-31 ส.ค. 2565) 0.00            
2 กิจกรรมให้ความรู้และประชาสัมพันธ์โครงการ(1 ก.ย. 2565-31 ธ.ค. 2565) 30,000.00            
รวม 30,000.00
1 ค้นหาและรวบรวมหญิงวัยเจริญพันธุ์ (อายุ 15-45 ปี) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 กิจกรรมให้ความรู้และประชาสัมพันธ์โครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 500 30,000.00 0 0.00
1 ก.ค. 65 - 31 ส.ค. 65 รณรงค์ให้ความรู้และคัดกรอง 250 11,000.00 -
1 ส.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 ฟังผลตรวจความเข้มข้นของเลือดพร้อมอธิบายการรับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก 250 19,000.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)   1. จัดทำโครงการ เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ   2. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง   3. กำหนดการจัดโครงการ   4. ประเมินผลโครงการ/สรุปการประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์   2. ลดอัตราภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์   3. หญิงตั้งครรภ์ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ