กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการใส่ใจสักนิดพาบุตรฉีดวัคซีน
รหัสโครงการ 65-L4127-02-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ
วันที่อนุมัติ 15 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2565 - 31 ธันวาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2565
งบประมาณ 40,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายฟากรี ดาหะซี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.212,101.291place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์
90.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)       กระทรวงสาธารณสุข เล็งเห็นถึงความสำคัญว่าวัคซีนเป็นเครื่องมือป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพสูง จึงได้นำวัคซีนที่มีคุณภาพและเหมาะสมสำหรับประเทศ มาบรรจุในโครงการสร้างเสริมภูมิคุมกันโรค เพื่อให้บริการแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมายาวนานมากกว่า 30 ปี แล้ว โดยมีนโยบายด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่สำคัญ คือ การให้บริการวัคซีนป้องกันโรคที่มีความจำเป็นครอบคลุมจำนวนโรคได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน จัดให้มีการให้ บริการวัคซีนในทุกระดับของสถานบริการ วัคซีนที่ใช้ต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคสูงและต้องมีความปลอดภัย และให้บริการโดยไม่คิดมูลค่าแม้ว่าวัคซีนจะไม่ใช่ยารักษาโรค แต่วัคซีนก็เป็นเครื่องป้องกันที่ช่วยให้เด็กๆปลอดภัยจากโรคร้ายที่มากล้ำกรายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กวัยขวบปีแรกที่มีอัตราเสี่ยงสูงในการต่อต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย การรับวัคซีนเพื่อสร้างภูมิต้านทานเป็นวิธีที่ง่ายดายปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการป้องกันเด็กจากโรคบางอย่าง ความเสี่ยงจากโรคเหล่านั้นมากมายหลายเท่าเพื่อให้ได้รับภูมิต้านทานที่ครบถ้วนเด็กจะต้องได้รับวัคซีนตามเกณฑ์อายุทั้งหมด และควรได้รับตรงเวลา
      ปัจจุบันประชาชนในเขตพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ ให้ความสำคัญของการป้องกันโรคด้วยวัคซีนน้อยมากดังเห็นได้จาก ปีงบประมาณ 2564 มีความครอบคลุมของการรับวัคซีนในเด็กอายุ 0-1 ปี เพียง ร้อยละ 5.79 ซึ่งเป้าหมายความครอบคลุมของวัคซีนต้องมากกว่าร้อยละ 90 จึงจะสามารถป้องกันและควบคุมโรคได้ ทำให้ประชาชนป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนเพิ่มขึ้น ซึ่งสาเหตุเกิดจากผู้ปกครองไม่ตระหนักถึงความสำคัญของวัคซีนหรือกลัวลูกเจ็บไข้ได้ป่วยหลังการรับวัคซีนจึงไม่นำเด็กมารับบริการฉีดวัคซีน ฉะนั้นการเร่งรัดติดตามให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายทุกคนได้รับการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมตามแผนที่วางไว้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องดำเนินการตั้งแต่ครอบครัว ซึ่งการบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคจะต้องจัดให้แก่ประชาชนด้วยความสะดวก และปลอดภัย
    ฉะนั้นเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามแผนฯ ทางรพ.สต.บาเจาะ จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค จึงจัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้ผู้ปกครองตระหนักและเห็นความสำคัญของการฉีดวัคซีน เพื่อค้นหาและนำเด็กอายุ 0 – 1 ปีที่รับบริการวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์มารับบริการให้ครบตามเกณฑ์ เพื่อการป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชากรกลุ่มอายุดังกล่าวในอนาคตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์เด็กเล็ก(0-3 ปี) ขึ้น

ร้อยละของเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์

90.00 100.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเรื่องวัคซีนป้องกันโรค

ร้อยละของผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเรื่องวัคซีนป้องกันโรค

85.00
3 เพื่อให้เด็กอายุ 0 – 5 ปี ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์

ร้อยละของการครอบคลุมวัคซีนตามเกณฑ์ร้อยละ 90

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65
1 ค้นหาและรวบรวม รายชื่อเด็ก 0-1 ปี(1 ก.ค. 2565-31 ก.ค. 2565) 0.00            
2 กิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก อายุ 0 – 1 ปี(1 ก.ค. 2565-31 ก.ค. 2565) 9,500.00            
3 รณรงค์ฉีดวัคซีนเชิงรุกตามหมู่บ้าน(1 ส.ค. 2565-31 ธ.ค. 2565) 30,500.00            
รวม 40,000.00
1 ค้นหาและรวบรวม รายชื่อเด็ก 0-1 ปี กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 กิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก อายุ 0 – 1 ปี กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 9,500.00 0 0.00
1 - 31 ก.ค. 65 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก อายุ 0 – 1 ปี จำนวน 50 คน 50 9,500.00 -
3 รณรงค์ฉีดวัคซีนเชิงรุกตามหมู่บ้าน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 30,500.00 0 0.00
1 ส.ค. 65 - 31 ธ.ค. 65 รณรงค์ฉีดวัคซีนเชิงรุกตามหมู่บ้าน 30 30,500.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. 1. ขั้นก่อนดำเนินการ
2.  1.1 ประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง องค์กรชุมชน เพื่อสำรวจข้อมูล/วิเคราะห์และวางแผนการดำเนินงาน
3.  1.2 จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย
4.  1.3 เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ 5.  1.4 ชี้แจง/ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง 6.  1.5 ประชาสัมพันธ์โครงการ 7. 2. ขั้นการดำเนินการ
8.  2.1 นัดหมายการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก 0 – 1 ปี 9.  2.2 ให้ความรู้ แจกเอกสาร แผ่นพับแก่ผู้ปกครองเด็ก 0 – 1 ปี
10.  2.3 ให้บริการฉีดวัคซีนในสถานบริการ/ชุมชน/โรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 11.  2.4 ลงบันทึกในทะเบียนความครอบคลุมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
12.  2.5 นัดหมายการรับบริการครั้งต่อไป
13.  2.6 ติดตามอาการข้างเคียงหลังได้รับวัคซีนโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข / อาสาสมัครสาธารณสุข 14. 3. ขั้นหลังดำเนินการ
15.  3.1 รวบรวมข้อมูลการรับบริการ
16.  3.2 วิเคราะห์/รายงานผลการดำเนินงาน
17.  3.3 ประเมินผลโครงการ
18.  3.4 สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
19.  3.5 รายงานผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง20.

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดี และสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องในการนำบุตรหลานมารับวัคซีนตามกำหนดนัดหมายได้เพิ่มขึ้น
  2. ความครอบคลุมวัคซีนครบตามเกณฑ์และไม่มีผู้ป่วย/ตายด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ