กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหมอประจำครอบครัว ใกล้ตัว ใกล้บ้าน ใกล้ใจ พื้นที่หมู่ที่ ๒,3 และ 4 ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ปี 2565
รหัสโครงการ 65-L5290-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.สาคร
วันที่อนุมัติ 24 สิงหาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 3 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอารีฟ๊ะ ลาหมีด
พี่เลี้ยงโครงการ ส.อ.สุทิน หมูดเอียด
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.787,99.865place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 50,000.00
รวมงบประมาณ 50,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 79 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

คนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว 3 คน การประสานการทำงานดูแลประชาชนที่บ้านและชุมชนแบบ “ใกล้ตัว ใกล้บ้าน ใกล้ใจ” เพิ่มความครอบคลุมให้ได้รับบริการต่อเนื่อง ลดการเดินทาง ลดความแออัดของโรงพยาบาลขนาดใหญ่ เน้นการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และส่งต่อรักษาในโรคซับซ้อนยุ่งยาก โดยหมอคนที่ 1 หมอประจำบ้าน คือ อสม.เป็นหมอใกล้ตัว แนะนำดูแลผู้ป่วยถึงบ้านและสุขภาพของคนในชุมชน 1 คนดูแลประชาชน 10-20 หลังคาเรือน หมอคนที่ 2 หมอสาธารณสุข คือ บุคลากรในสถานบริการปฐมภูมิ ให้การรักษาและส่งต่อ รวมถึงดูแลสุขภาพให้คำแนะนำประชาชนในทุกมิติ และหมอคนที่ 3 หมอครอบครัว คือ แพทย์ในโรงพยาบาล รับการส่งต่อ โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนรู้รายชื่อหมอประจำตัว 3 คนของตนเอง คนไทยทุกครอบครัว มีหมอประจำตัว 3 คน ขณะนี้มีครอบครัวที่มีหมอ 3 คนเป็นที่ปรึกษา ดูแลสุขภาพประจำครอบครัว สร้างความรอบรู้ในการดูแลส่งเสริมสุขภาพตนเองและครอบครัวแล้ว 9,288,783 ครอบครัว กระทรวงสาธารณสุขจึงได้เพิ่มบทบาท 3 หมอ บูรณาการการทำงานในสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเดิมมีฐานข้อมูลกลุ่มเป้าหมายอยู่แล้ว โดยจะเน้นในกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงที่ต้องดูแลต่อเนื่อง กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้น ผู้ที่มีโรคประจำตัว คือ โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน ดังนั้นจึงให้ อสม.ซึ่งเป็นหมอคนที่ 1 หมอประจำบ้าน ส่วนหมอที่ 2 หมอสาธารณสุขช่วยดำเนินการร่วมกับ อสม. และประสานกับหมอคนที่ 3 คือหมอครอบครัวที่โรงพยาบาล
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสาครมีจำนวนหมู่บ้านรับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน จำนวนประชากร 3,161 คน มีบุคลากร 7 คน ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข 1 คน พยาบาลวิชาชีพ 3 คน นักวิชาการทันตสาธารณสุข 1 คน ผู้ช่วยเหลือคนไข้ จำนวน 1 คน อสม. 73 คน โรงเรียน 3 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๒ แห่ง ข้อมูลผู้ป่วยเรื้อรังและผู้พิการมีดังนี้ ผู้พิการ จำนวน 161 คน  ผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 129 คน  ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 432 คน ผู้สูงอายุ จำนวน 530 คน เป็นกลุ่มติดบ้านและติดเตียง จำนวน 5 คน (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสาคร, 2564) นโยบายหมอประจำครอบครัวคือการต้องการออกแบบระบบบริการให้คนไทยทุกคน ทุกครอบครัวมีหมอดูแล ให้บริการในทุกระดับของการเจ็บป่วย ตั้งแต่การเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ดูแลได้ภายในครอบครัว และชุมชน การเจ็บป่วยที่เพิ่มระดับความต้องการบริการสุขภาพและการแพทย์ขึ้นมาเล็กน้อย ต้องการการดูแลในสถานบริการปฐมภูมิใกล้บ้านในระดับตำบล และการเจ็บป่วยที่ต้องการการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล หรือการดูแลในระดับอำเภอ ต่อไปถึงระดับจังหวัด นอกจากดูแลผู้ป่วยแล้วต้องดูแลและทำให้หมอคนที่ 1 และ 2 มีความรู้และทักษะในการทำงานดีขึ้น ดังนั้นทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสาครจึงได้จัดทำโครงการหมอประจำครอบครัว ใกล้ตัว ใกล้บ้าน ใกล้ใจ พื้นที่หมู่ที่ 2,3 และ 4 ตำบลสาคร อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ปี 2565 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนรู้จักหมอประจำครอบครัว
  1. พัฒนาศักยภาพ อสม.เป็นหมอประจำบ้าน ร้อยละ 100
2 2. เพื่อพัฒนาหมอประจำครอบครัวให้มีทักษะความรู้ในการดูแลกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่มวัยในเขตรับผิดชอบ
  1. หมอประจำครอบครัวให้มีทักษะความรู้ในการดูแลกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่ม ร้อยละ 90
3 3. เพื่อการดูแลติดตามด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ในกลุ่มผู้สูงอายุติดสังคม 60 ปีขึ้นไป กลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน กลุ่มสูงอายุติดเตียงที่ต้องดูแลต่อเนื่อง และผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน
  1. หมอประจำครอบครัวมีพัฒนาทักษะที่ถูกต้องในการติดตามและเทนิคการดูแลสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคประจำตัว และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพ ร้อยละ 90
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มี อสม.ที่เป็นหมอประจำบ้านเต็มพื้นที่
  2. หมอประจำบ้านสามารถดูแลสุขภาพของคนในชุมชนได้
  3. ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของประชาชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2565 09:27 น.