กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมฟื้นฟูอสม.หมอประจำบ้าน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มรักษ์สุขภาพบ้านทุ่งยามู
วันที่อนุมัติ 29 สิงหาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,920.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางประไพ ขวัญนงรักษ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยุโป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.597,101.283place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (10,920.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนดูแลสุขภาพตนเอง และชุมชนมีศักยภาพในการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนตามหลักการการสาธารณสุขมูลฐาน โดยมีเครือข่ายในการดำเนินงานที่สำคัญคือ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ซึ่งเป็นตัวแทนประชาชน ผู้มีจิตอาสา เสียสละ และเป็นจุดเชื่อมสำคัญที่จะนำนโยบายต่างๆสู่การปฏิบัติในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม ในปีที่ผ่านมารัฐบาลได้ให้ความสำคัญด้านสาธารณสุขในการพัฒนายกระดับความรู้ อสม. ให้เป็น อสม.หมอประจำบ้านควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริการสาธารณสุขในชุมชนผ่านการพัฒนาระบบการแพทย์ทางไกลควบคู่ไปกับการเพิ่มบทบาทของ อสม. เพื่อลดโรคและปัญหาสุขภาพ ส่งเสริมให้ประชาชนพึ่งตนเองได้ ลดความแออัด ลดความเลื่อมล้ำ ไร้รอยต่อ ลดการรอคอย ลดภาระค่าใช้จ่าย และลดการพึ่งพาโรงพยาบาล     อสม.ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยามู ร้อยละ ๘๐ อสม. ยังขาดองค์ความรู้ ทักษะในการดูแลสุขภาพ และขาดความเชื่อมั่นในการปฏิบัติงานสุขภาพในชุมชน ดังนั้นเพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานแก่ อสม. ให้แสดงบทบาทอย่างเข้มแข็งเพื่อเพิ่มศักยภาพ เพิ่มขีดความสามารถของ อสม.ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น จำเป็นจะต้องพัฒนาศักยภาพ อสม. ให้มีความรู้ และสามารถดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชน     โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยามู จึงจัดทำโครงการอบรมฟื้นฟู อสม.หมอประจำบ้าน เพื่อยกระดับอสม. เป็นอสม. หมอประจำบ้าน ขึ้นเพื่อให้ อสม.ที่ผ่านการอบรมแล้วมีความรู้ เกิดทักษะในการดูแลสุขภาพ เป็นพี่เลี้ยงและสนับสนุนให้มีอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) ทุกครอบครัว ทั้งในกลุ่มผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง กลุ่มภาวะพึ่งพิง และกลุ่มครอบครัวทั่วไปในละแวกบ้าน เพิ่มประสิทธิภาพการดูแลสุขภาพ เฝ้าระวังไม่ให้เกิดโรคในพื้นที่ ลดโรคเรื้อรัง และเป็นแกนนำในการดูแลสุขภาพ เพื่อมุ่งหวังให้ประชาชนมีสุขภาพดี พึ่งพาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ (หมายเหตุ: อสม.หมอประจำบ้าน คือ ประชาชนที่มีจิตอาสาเข้ามาทำงานเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข ได้เข้ารับการอบรมในหลักสูตร อสม.หมอประจำบ้านและทำหน้าที่เป็นผู้นำจัดการปัญหาสุขภาพของประชาชนร่วมกับ อสม.อสค.ทีมหมอครอบครัว เครือข่ายสุขภาพและประชาชนในพื้นที่เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ย. 65
1 กิจกรรมที่ 1(1 ก.ย. 2565-7 ก.ย. 2565) 3,840.00  
2 กิจกรรม 2(1 ก.ย. 2565-30 ก.ย. 2565) 1,080.00  
3 กิจกรรมที่ 3(1 ก.ย. 2565-30 ก.ย. 2565) 6,000.00  
รวม 10,920.00
1 กิจกรรมที่ 1 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 12 3,840.00 0 0.00
1 - 30 ก.ย. 65 อบรมเชิงปฏิบัติการ 12 3,840.00 -
2 กิจกรรม 2 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 12 1,080.00 0 0.00
7 ก.ย. 65 ฝึกปฏิบัติงานในพื้นที่จำนวน 2 ครั้ง 12 1,080.00 -
3 กิจกรรมที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 12 6,000.00 0 0.00
7 ก.ย. 65 อสม.นำความรู้ที่ได้รับจากการอบรม ปฏิบัติงานในพื้นที่ 12 6,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ยกระดับ อสม.เป็น อสม.หมอประจำบ้าน 2.อสม.หมอประจำบ้านมีความรู้ ทักษะ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง สามารถนำเทคโนโลยีสื่อสารทางการแพทย์ในชุมชนผ่านระบบออนไลน์ และเป็นแกนนำด้านการดูแลสุขภาพในชุมช 3.ประชาชนในชุมชนมีสุขภาพดี พึ่งพาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ก.ย. 2565 11:10 น.