กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ คัดกรองมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูกศูนย์แพทย์ชุมชนคูหาสวรรค์โรงพยาบาลพัทลุงปี 2561
รหัสโครงการ 2561-L7572-01-006
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์แพทย์ชุมชนคูหาสวรรค์ โรงพยาบาลพัทลุง
วันที่อนุมัติ 19 ตุลาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 36,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรัชนีกร ฉิมรักษ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 400 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดของมะเร็งในสตรีไทย และพบมากในช่วงอายุ ๓๕-๖๐ ปี แต่เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าตรวจค้นหาเจอในระยะเริ่มต้น ส่วนมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับ ๒ ในสตรีไทยรองจากมะเร็งปากมดลูก อุบัติการณ์ที่พบเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงอายุ ๔๐ ปีขึ้นไป แต่เป็นโรคที่ผลการรักษาดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อวินิจฉัยได้ในระยะเริ่มแรกเช่นกัน การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยการตรวจเต้านมด้วยตนเอง มีความหมายในการค้นหาโรคในระยะแรกก่อนที่จะมีการแพร่กระจายลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะอื่นๆ (ศูนย์มะเร็งโรงพยาบาลสงขลานครินทร์, ๒๕๕๔) กระทรวงสาธารณสุ โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้มีนโยบายการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในสตรี อายุระหว่าง ๓๐-๗๐ ปี เพื่อค้นหาเซลล์มะเร็งในระยะเริ่มแรก เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี และหายขาด สามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพ และมีความสุข จึงเน้นการจัดบริการให้สตรีทุกกลุ่มพื้นที่ ได้เข้ารับบริการครอบคลุมมากที่สุด เพื่อสนองนโยบายดังกล่าว งานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลพัทลุง โดยศูนย์แพทย์ชุมชนคูหาสวรรค์ จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap smear) ในสตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี และคัดกรองมะเร็งเต้านมในสตรีอายุ ๓๐-๗๐ ปี ในเขตศูนย์แพทย์ชุมชนคูหาสวรรค์ ขึ้น เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เพื่อลดสภาวการณ์ความรุนแรงของโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมลง รวมทั้งส่งเสริมให้สตรีทุกคนได้มีความรู้ มีความตระหนัก สามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง และแนะนำผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม และทันเวลา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.๑ เพื่อให้สตรีกลุ่มเสี่ยงอายุ ๓๐ - ๖๐ ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก

สตรีกลุ่มเสี่ยงอายุ ๓๐ - ๖๐ ปี ได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก อย่างน้อยร้อยละ ๒๐

2 เพื่อให้สตรีกลุ่มเสี่ยงอายุ ๓๐ - ๗๐ ปี ได้รับการตรวจเต้านม

สตรีกลุ่มเสี่ยงอายุ ๓๐ - ๗๐ ปี ได้รับการตรวจเต้านม อย่างน้อยร้อยละ ๘๐

3 เพื่อให้สตรีกลุ่มเสี่ยงอายุ ๓๐ - ๗๐ ปี มีความรู้/ทักษะสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้อง

สตรีกลุ่มเสี่ยงอายุ ๓๐ - ๗๐ ปี มีความรู้และทักษะสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้องอย่างน้อยร้อยละ ๘๐

4 เพื่อให้กลุ่มที่พบเซลล์ผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา

กลุ่มที่พบเซลล์ผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาร้อยละ ๑๐๐

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ต.ค. 60 - 30 ก.ย. 61 ให้ความรู้และคัดกรอง 100 36,700.00 -
รวม 100 36,700.00 0 0.00

๒.๑ จัดทำโครงการและนำเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองพัทลุง ๒.๒. ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแก่เจ้าหน้าที่ และ อสม. ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ๒.๓. สำรวจสตรีกลุ่มเป้าหมายมะเร็งปากมดลูก อายุ ๓๐-๖๐ ปี มะเร็งเต้านม อายุ ๓๐-๗๐ ปีที่ยังไม่ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเลยภายใน๕ปี ๒.๔. จัดกิจกรรมตามโครงการ
๒.๔.๑ จัดทำแผ่นพับความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก และเรื่องการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ๒.๔.๒ ประสานงานผู้นำชุมชนเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการแก่กลุ่มเป้าหมาย ๒.๔.๓ ส่งหนังสือเชิญชวนตรวจมะเร็งปากมดลูกถึงสตรีกลุ่มเป้าหมายเป็นรายบุคคล ๒.๔.๔ ส่งหนังสือเชิญกลุ่มสตรีที่สมัครใจรับการอบรมเรื่องมะเร็งปากมดลูกละมะเร็งเต้านม ๒.๔.๕. ให้ความรู้ ประเมินความรู้ การตรวจเต้านมด้วยตนเอง แจกเอกสารแผ่นพับ ๒.๔.๖. ดำเนินการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ๒.๔.๗ บันทึกผลการปฏิบัติงานลงในโปรแกรม JHCIS ๒.๕. ติดตามผลและแจ้งผลการตรวจให้กลุ่มเป้าหมายทราบ ๒.๖. ส่งต่อไปโรงพยาบาลในรายที่พบผิดปกติ ๒.๗. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๗.๑. กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก และรายที่มีความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรับการรักษาอย่างทันท่วงที ๗.๒. กลุ่มเป้าหมายสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกวิธี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2560 12:16 น.