กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต สู่ 1,500 วัน หนูน้อยอัจฉริยะแสนดี ปี 2565
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.สอ.เฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลนิคมพัฒนา
วันที่อนุมัติ 9 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2565 - 31 ธันวาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 16 มกราคม 2566
งบประมาณ 57,840.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรม อสม.สอ.เฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลนิคมพัฒนา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 57,840.00
รวมงบประมาณ 57,840.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยประสบปัญหาเด็กเกิดน้อย จำนวนการเกิดลดลงต่อเนื่องจากที่เคยมีเด็กเกิดมากกว่า 1 ล้านคนต่อปี ลดลงเหลือเพียง 587,368 คน ในปี 2563 (กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย, 2563) อัตราเจริญพันธุ์รวมลดลงจากเดิมผู้หญิงหนึ่งคนมีบุตรเฉลี่ยตลอดวัยเจริญพันธุ์มากถึง 6 คน แต่ปัจจุบันมีบุตรเฉลี่ยเพียง 1.53 คน ซึ่งต่ำกว่าระดับทดแทน (นงนุช จินดารัตนาภรณ์, 2563) นอกจากปัญหาจำนวนการเกิดที่ลดลงแล้ว ประเทศไทยยังประสบกับปัญหาคุณภาพการเกิดและการเจริญเติบโตของเด็ก มีเด็กพิการแต่กำเนิดปีละประมาณ 30,000 คน อัตราเด็กแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ การคลอดก่อนกำหนด ส่งผลต่อพัฒนาการเจริญเติบโต สติปัญญา และการเรียนรู้ของเด็ก นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องภาวะโลหิตจางขณะตั้งครรภ์ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยและเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการคลอดก่อนกำหนดและทารกน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ (สุรพันธ์ แสงสว่าง และคณะ, 2558)อย่างที่ทราบกันว่าเด็กเป็นวัยที่มีความสำคัญต่อครอบครัวและประเทศชาติ สิ่งสำคัญในการเสริมสร้างให้เด็กมีคุณภาพ คือ การเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาในด้านต่าง ๆ ทั้งร่างกาย จิตใจ และสมองอย่างเหมาะสม การดูแลจัดการอาหารและโภชนาการรวมถึงภาวะการเจริญเติบโต เป็นพื้นฐานสำคัญของการมีสุขภาพและสติปัญญาที่ดีในระยะยาว และยังมีความสำคัญมากต่อการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน ผอม/เตี้ย เป็นต้น การส่งเสริมสุขภาพหญิงวัยเจริญพันธุ์ให้มีความพร้อมในการตั้งครรภ์ ดูแลขณะกำลังตั้งครรภ์รวมถึงเด็กแรกเกิดถึง 2 ปี จึงมีความจำเป็นมากในปัจจุบัน เพราะเป็น “โอกาสทอง” ที่เด็กมีการเจริญเติบโตด้านร่างกายและพัฒนาการด้านต่าง ๆ สูงที่สุด ถ้าเด็กได้รับการเลี้ยงดูที่ดี โดยเริ่มต้นจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญในการกระตุ้นส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการสมวัยและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ
สถานการณ์อนามัยแม่และเด็ก พื้นที่หมู่ที่ 1 ,2 ,3 ,7 ,8 และ 9 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล ซึ่งเป็นพื้นที่รับผิดชอบของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี นิคมพัฒนา ในปี 2564พบว่า การฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ร้อยละ 78.95 ,หญิงตั้งครรภ์พบภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 20.93 ,หญิงตั้งครรภ์มีภาวะทุพโภชนาการ (น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์) ร้อยละ 23.25 , หญิงตั้งครรภ์คลอดก่อนกำหนด ร้อยละ 9.30 , เด็กแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม พบร้อยละ 18.54 ,เด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 6 เดือนตรวจคัดกรองและพบโลหิตจาง ร้อยละ 21.50 , เด็กแรกเกิด – 5 ปี ได้รับการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง ร้อยละ 91.82 มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน ร้อยละ 54.04 (ข้อมูลจากคลังข้อมูลสุขภาพ : HDC สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2564)
ซึ่งปัญหาสุขภาพที่พบเหล่านี้มีผลกระทบต่อการจะทำให้ทารกเจริญเติบโตและพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพในอนาคตข้างหน้าทั้งสิ้น
จากการเรียนรู้กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิตฯ ได้แก่ การค้นหาหญิงวัยเจริญพันธ์วางแผนจะตั้งครรภ์ , การฝากครรภ์คุณภาพ , โภชนาการหญิงตั้งครรภ์ ,การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ,การส่งเสริมและเฝ้าระวังพัฒนาการเด็ก,การส่งเสริม กิน กอด เล่น เล่า ,การส่งเสริมการเจริญเติบโตและอาหารตามวัยในเด็ก พบว่าในทุกประเด็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนกระบวนการดังกล่าวอย่างต่อเนื่องและสามารถบรรลุผลได้ และในบางประเด็นต้องอาศัยวัสดุที่จำเป็นในการแก้ไขปัญหาร่วมด้วย เช่นเรื่องโภชนาการหญิงตั้งครรภ์ จำเป็นต้องส่งเสริมและจัดหาสารอาหารประเภทโปรตีน จำพวก นม และไข่ เพิ่มเติมให้กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายขณะตั้งครรภ์ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในครรภ์ จากสถานการณ์และปัญหาข้างต้น ชมรมอาสามัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินีนิคมพัฒนา ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในช่วง 1,000 วันแรกของชีวิต และอีก 1,500 วัน (อายุ 2 – 6 ปี) ของเด็กปฐมวัย จึงจัดทำโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน แรกแห่งชีวิต สู่ 1,500 วัน หนูน้อยอัจฉริยะ แสนดี ปี 2565 เพื่อผลักดันให้เกิดการทำงานร่วมกันแบบการบูรณาการ และการลงทุนของภาคีเครือข่ายในพื้นที่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเด็กไทยแข็งแรง เก่งดี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และสามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่องอันจะนำไปสู่คนไทยที่มีปัญญาเฉียบแหลม มีทักษะที่เห็นผล มีสุขภาพแข็งแรงและมีจิตใจที่งดงามในอนาคตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 57,840.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมสำหรับหญิงตั้งครรภ์ 0 16,590.00 -
??/??/???? กิจกรรมประชุมและพัฒนาศักยภาพทีมพัฒนาเด็กและครอยครัว(CFT) เป็นเวลา 3 ครั้ง 0 26,400.00 -
??/??/???? กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพกลุ่มแกนนำสุขภาพแม่แหละเด็ก มิสพันวัน 0 14,850.00 -

7.1 กิจกรรมสำหรับหญิงตั้งครรภ์ 7.1.1 ค่านมจืดไทยเดนมาร์ก ขนาด 200 มล/กล่อง
จำนวน 14 คน x 90 กล่อง x 9 บาท เป็นเงิน 11,340 บาท 7.1.2 ค่าไข่ไก่ 30 ฟอง/แผง จำนวน 14 คน X  3 แผง x 125 บาท เป็นเงิน 5,250 บาท รวมเป็นเงิน 16,590 7.2 กิจกรรมประชุมและพัฒนาศักยภาพทีมพัฒนาเด็กและครอบครัว ( CFT) เป็นเวลา 3 ครั้ง
7.2.1 ค่าคู่มือแนวทางการขับเคลื่อนมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต จำนวน 60 เล่ม x 30 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

7.2.2 ค่าอาหารกลางวันสำหรับทีมพัฒนาเด็กและครอบครัว (CFT)
จำนวน 60 คน x 3 มื้อ x 75 บาท เป็นเงิน 13,500 บาท 7.2.3 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับทีมพัฒนาเด็กและครอบครัว (CFT)
จำนวน 60 คน x 3 มื้อ x 35 บาท เป็นเงิน 6,300 บาท 7.2.4 ค่าตอบแทนวิทยากรประชุมและพัฒนาศักยภาพทีมพัฒนาเด็กและครอบครัว ( CFT) จำนวน 1 คน x 4 ชม. x 1,200 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท รวมเป็นเงิน 26,400 7.3 กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพกลุ่มแกนนำสุขภาพแม่และเด็ก “มิสพันวัน” 7.3.1 ค่าคู่มือโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต
จำนวน 30 เล่ม x 125 บาท เป็นเงิน 3,750 บาท 7.3.2 ค่าอาหารกลางวันสำหรับแกนนำสุขภาพแม่และเด็ก “มิสพันวัน”ที่เข้าร่วมอบรม
จำนวน 30 คน x 1 มื้อ x 75 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท 7.3.3 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับแกนนำสุขภาพแม่และเด็ก “มิสพันวัน”ที่เข้าร่วมอบรม จำนวน 30 คน x 2 มื้อ x 35 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท 7.3.4 ค่าที่วัดส่วนสูงสำหรับเด็กแรกเกิด – 2 ปี จำนวน 1 เครื่อง                        X 2,500 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท 7.3.5 ค่าที่วัดส่วนสูง แบบยืน สำหรับเด็ก 2 – 5 ปี จำนวน 1 เครื่อง                        X 1,600 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท 7.3.6 เครื่องชั่งน้ำหนักสำหรับเด็กแรกเกิด – 2 ปี จำนวน 1 เครื่อง                        X 2,650 บาท เป็นเงิน 2,650 บาท รวมเป็นเงิน 14,850 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 57,840 บาท (ห้าหมื่นเจ็ดพันแปดร้อยสี่สิบบาทถ้วน)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

8.1 มีทีมพัฒนาเด็กและครอบครัวระดับชุมชนและตำบล ที่สามารถขับเคลื่อนการดำเนินการโครงการได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ 8.2 ลดปัญหาด้านสุขภาพกายและใจแก่กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และครอบครัว เพิ่มคุณภาพลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย 8.3 เป็นจุดเริ่มต้นในการผลักดันให้ครอบครัวและชุมชนร่วมมือกันแก้ไขปัญหาสังคมของชุมชนอย่างแท้จริง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2565 00:00 น.