กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหญิงไทยรู้เท่าทันเฝ้าระวังมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก
รหัสโครงการ 65-L4127-01-6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ
วันที่อนุมัติ 15 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2565 - 31 ธันวาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2565
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายฟากรี ดาหะซี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.212,101.291place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก

ร้อยละของประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก ลดลง

50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)         ปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทยและมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น โรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย คือ โรคมะเร็งตับ รองลงมาคือมะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมตามลำดับ ในประเทศไทย โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 6,300 ราย พบมากที่สุดอายุระหว่างอายุ 45-50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช่จ่ายในการรักษาสูง การป้องกัน และควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก ต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก และในระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม ปัจจุบัน มีวิธีการตรวจแบบเจาะลึกระดับ DNA ด้วยเทคนิค ‘HPV DNA Testing’ ที่สามารถค้นหาเชื้อเอชพีวีอย่างแม่นยำตั้งแต่ระยะแรก ทำให้สามารถรักษาได้ทันท่วงที ก่อนที่เชื้อจะพัฒนาเป็นมะเร็งปากมดลูกและการคัดกรองด้วยการทำ HPV DNA Testing ในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ เนื่องจากโรคมะเร็งเป็นโรคที่เป็นแล้วจะทำให้เกิดอาการป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร แต่ในขณะเดียวกันโรคมะเร็งเป็นโรคหนึ่งที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ถ้าหากว่าได้รับการตรวจวินิจฉัยและมาพบแพทย์ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก ปัจจุบันสตรีจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดความรู้ในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมจากการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30-60 ปี ปีงบประมาณ 2563 มีจำนวนทั้งหมด 1,387 คน ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธีการ pap smear จำนวน 105 คน คิดเป็นร้อยละ 7.57 ผลการตรวจปกติทุกคน และสตรีอายุ 30- 70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองเต้านมด้วยเจ้าหน้าที่ และด้วยตนเอง จำนวน 1,448 คน ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมจำนวน 1,254 คน คิดเป็นร้อยละ 86.60 ได้รับการส่งต่อจำนวน 1 คน ผลการตรวจซ้ำโดยแพทย์ยืนยันผลปกติ จำนวน 1 คน
      จากเหตุผลเบื้องต้น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้กำหนดการดำเนินงานควบคุมแล้ป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก เป็นงานหลักให้กับทุกสถานบริการเร่งรัดการดำเนินการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุ 30 – 60 ปี ในปี 2563 ซึ่งในปีที่ผ่านมา องค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ ได้ดำเนินการตามนโยบาย และจากการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะพบปัญหาในการดำเนินงาน เป็นการดำเนินงานที่บรรลุเป้าหมายยากมาก เพราะประชาชน ยังไม่ตระหนักถึงความอันตรายของโรค มีความอายในการมาตรวจดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ ตระหนักถึงปัญหาและเล็งเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเนื่องจากสามารถรักษาได้ หากตรวจพบในระยะเริ่มแรก จึงได้จัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก โดยดึงพลังแกนนำของประชาชนทุกภาคส่วน เช่น อสม. กลุ่มสตรี กลุ่มสามีครูนักเรียนมาร่วมดำเนินงานโดยมุ่งหวังความสำเร็จให้สุขภาพของประชาชน พ้นจากมะเร็งปากมดลูก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก

ร้อยละของประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก ลดลง

50.00
2 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจมะเร็งเต้านม ร้อยละ 90

90.00
3 เพื่อให้สตรีอายุ 30 – 60 ปีได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก

สตรีอายุ 30 – 60 ปีได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 20

20.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65
1 ค้นหาและรวบรวม(1 ก.ค. 2565-31 ส.ค. 2565) 0.00            
2 กิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์โครงการ(1 ก.ย. 2565-31 ต.ค. 2565) 8,000.00            
3 กิจกรรมอบรมตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก(1 ก.ย. 2565-31 ต.ค. 2565) 22,000.00            
รวม 30,000.00
1 ค้นหาและรวบรวม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 8105 0.00 0 0.00
1 ก.ค. 65 - 31 ส.ค. 65 ค้นหาและรวบรวม รายชื่อสตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ 8,105 0.00 -
2 กิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์โครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 1387 8,000.00 0 0.00
1 ก.ย. 65 - 31 ต.ค. 65 กิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์โครงการ 1,387 8,000.00 -
3 กิจกรรมอบรมตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 80 22,000.00 0 0.00
1 ก.ย. 65 - 31 ต.ค. 65 กิจกรรมอบรมตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก 80 22,000.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. จัดทำโครงการ เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 2. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. กำหนดการจัดโครงการ 4. ประเมินผลโครงการ สรุปการประเมินผล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และตระหนักในการดูแลสุขภาพตัวเอง
    1. สตรีกลุ่มเป้าหมายเห็นความสำคัญในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
    2. สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องการตรวจเต้านมด้วยตัวเอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ