กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรู้รักสุขภาพ เตรียมกายใจผู้สูงอายุ หมู่ ๕ บ้านบาเลาะ ตำบลปะเสยะวอ
รหัสโครงการ 65-l3057-3-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุบ้านบาเลาะ
วันที่อนุมัติ 12 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะแอ มาฮะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.733,101.606place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 13,300.00
รวมงบประมาณ 13,300.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง ( ฉบับที่ 6 ) พ.ศ. 2552 มาตรา 66 องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาทั้งในด้านเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม มาตรา 67 องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ (6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ประกอบอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546 มาตรา ๑๖ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง (๑๐) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส(๑๙) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ปัจจุบันจำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุของประเทศไทยเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว สำหรับผู้สูงอายุนั้น ปัจจุบันมีจำนวนมากขึ้นเป็นผลจากความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยสิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าประชากรผู้สูงอายุจะเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ ในอนาคตอันใกล้นี้ประกอบกลุ่มผู้สูงอายุมักเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆสูง โดยเฉพาะโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคกระดูกพรุน ข้อเข่าเสื่อม โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคความจำเสื่อม ฯลฯ โดยส่วนใหญ่มักพบว่าผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวเรื้อรังมากกว่า ๑ โรคขึ้นไป ดังนั้นผู้สูงอายุจึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งเน้นการดำเนินการด้านสาธารณสุขเชิงรุกให้ทั่วถึงและครอบคลุมทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพ และการพัฒนาการบริการสาธารณสุข โดยเน้นการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลปะเสยะวอได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าวและ ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่กับครอบครัวและบุตรหลานอย่างปกติสุขในสังคมและมีสุขภาพสมบูรณ์ตามควรแก่วัย จึงได้จัดทำ “โครงการรู้รักสุขภาพ เตรียมกายใจผู้สูงอายุ” ขึ้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อนำองค์ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพผู้สูงวัย

1.ผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ ร้อยละ 80

2 ข้อที่ 2 เพื่อส่งเสริมภูมิปัญญาทางหลักธรรมคำสอน สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

2 .ผู้สูงอายุใช้ภูมิปัญญาทางหลักธรรมคำสอน สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ร้อยละ 80

3 ข้อที่ 3 เพื่อกระตุ้นให้ผู้สูงอายุเกิดความสนใจในเรื่องการดูแลสุขภาพ

3 .ผู้สูงอายุมีความสนใจในเรื่องการดูแลสุขภาพ ร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 80 13,300.00 0 0.00
16 ก.ย. 65 -ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฟังการบรรยายธรรมเกี่ยวกับการเตรียมตัวเตรียมใจในวัยผู้สูงอายุ ตามหลักคำสอนของศาสนา -กิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น (ครั้งที่ 1) เช่น วัดความดัน วัดค่าดัชนีมวลกาย (BMI) 80 13,300.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงวัยมีองค์ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพผู้สูงวัย
  2. ผู้สูงวัยได้รับความรู้และนำไปดำเนินชีวิตดูแลสุขภาพตามหลักธรรมคำสอนศาสนา
  3. ผู้สูงวัยเกิดความสนใจและตื่นรู้ในการดูแลสุขภาพด้วยวิถีทางศาสนาสามารถนำความรู้ไปปรับใช้กับตนเองและแนะนำผู้อื่น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2565 15:20 น.