กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ “การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ ด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และอารมณ์”
รหัสโครงการ 2565-L3328-3-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุและพิการเทศบาลตำบลเขาหัวช้าง
วันที่อนุมัติ 13 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 25,476.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายดลเลาะ สาเหล็ม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุและเทศบาลตำบลเขาหัวช้าง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 13 ก.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 25,476.00
รวมงบประมาณ 25,476.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สังคมไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ หมายความว่าประชากรที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีจำนวน และ สัดส่วนมากขึ้นซึ่งองค์การสหประชาชาติ ให้คำนิยามว่า ประเทศใดที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นสัดส่วนร้อยละ 10 หรืออายุ 65 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 7 ของจำนวนประชากรทั้งหมดถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์เมื่อมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 หรืออายุ 65 ปี ขึ้นไปเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 14 ประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เมื่อปี พ.ศ.2548 (สำนักงาน สถิติแห่งชาติ, มปป) ด้วยประชากรผู้สูงอายุร้อยละ 10.5 ในปี 2554 เป็นร้อยละ 12.2 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น ร้อยละ 20.5 ในปี 2565 หรือ 1 ใน 5 ของประชากรจะเป็นประชากรผู้สูงอายุ(สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,2556) ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุและพิการเทศบาลตำบลเขาหัวช้างตำบลตะโหมดอำเภอตะโหมดจังหวัดพัทลุง มีพื้นที่รับผิดชอบพื้นที่หมู่ที่ ๑ – ๑2ตำบลตะโหมดอำเภอตะโหมดจังหวัดพัทลุง (ยกเว้น หมู่ที่ 3 , 4, 9 ,11 และ 12 บางส่วน) รวมพื้นที่ 170 ตารางกิโลเมตร มีประชากรทั้งหมด๗,178 คน มีผู้สูงอายุ 908 คนคิดเป็นร้อยละ 9.04ของจำนวนประชากรทั้งหมด
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุและพิการเทศบาลตำบลเขาหัวช้างตำบลตะโหมดอำเภอตะโหมดจังหวัดพัทลุงได้ตระหนักถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในพื้นที่ ในมิติด้านสาธารณสุข และปัญหาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ทั้ง ๔ ด้าน ประกอบด้วย ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา และด้านสาธารณสุข จึงขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุและพิการเทศบาลตำบลเขาหัวช้าง เพื่อจัดทำโครงการอบรมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ “การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ ด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และอารมณ์”

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของร่างกาย

1.ผู้สูงอายุมีความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของร่างกาย

0.00
2 ๒. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีประสบการณ์จากการเรียนรู้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

2.ผู้สูงอายุมีประสบการณ์จากการเรียนรู้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

0.00
3 ๓. เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

๓. ผู้สูงอายุสามารถอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 25,476.00 0 0.00
1 - 30 ก.ย. 65 อบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 0 25,476.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของร่างกาย
  2. ผู้สูงอายุมีประสบการณ์จากการเรียนรู้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
    ๓. ผู้สูงอายุสามารถอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2565 15:00 น.