กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์การเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2565
รหัสโครงการ 65-L8428-0211
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านระดับตำบล บ้านนาท่าม (ชมรม อสม.บ้านนาท่าม)
วันที่อนุมัติ 9 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 กันยายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสาโรช จิตรา
พี่เลี้ยงโครงการ กองทุน สปสช.อบต.นาท่ามใต้
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาท่ามใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2882 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่สามารถป้องกันและควบคุมได้ แต่พบว่าในปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นตลอด มีจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออกมากขึ้น ซึ่งการระบาดของโรคจะมีการระบาดปีเว้นปีหรือปีเว้นสองปี ทั้งนี้เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการแพร่กระจายตัวของยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำเชื้อไข้เลือดออก ซึ่งจากการวิเคราะห์สาเหตุที่สำคัญของการดำเนินการเฝ้าระวังและป้องกันโรคดังกล่าว คือ ประชาชนขาดการตระหนักและเห็นความสำคัญของโรคขาดการเอาใจใส่ในการควบคุมและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายบริเวณบ้านเรือนของตนเอง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านระดับตำบล บ้านนาท่าม (ชมรม อสม.บ้านนาท่าม) ได้เล็งเห็นว่าควรจัดทำโครงการรณรงค์การเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง โดยใช้กลวิธีการเชิญชวน โน้มน้าวใจในรูปแบบของการยกย่องและมอบรางวัล ตลอดจนการประชาสัมพันธ์สถานการณ์โรคของโรคอย่างทั่วถึงและชัดเจน เพื่อให้ประชาชนได้เห็นถึงอันตรายของโรค เข้าร่วมกิจกรรมการเฝ้าระวังโดยการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายบริเวณบ้านเรือนของตนเองอย่างจริงจัง คลอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อลดอัตราการเกิดโรค โดยหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนจะต้องร่วมมือกันในการดำเนินงานเพื่อให้การป้องกันและควบคุมโรคประสบผลสำเร็จ ซึ่งจะนำไปสู่การมีสุขภาพดีของประชาชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนที่อยู่ในหมู่ที่ 1 , 3 , 6 และ 7 ไม่เป็นโรคที่นำโดยยุงลาย 2. เพื่อให้ทุกหลังคาเรือนไม่พบลูกน้ำยุง 3. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคที่นำโดยยุงลาย
  1. ไม่พบลูกน้ำยุงลายภายในครัวเรือน ร้อยละ 10
80.00 80.00
2 4. เพื่อลดอัตราการป่วยของโรคไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุงลายให้เหลือน้อยที่สุด
  1. อัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกและโรคที่เกิดจากยุงลายลดลง
80.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,000.00 0 0.00
26 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมรณรงค์ 0 11,850.00 -
26 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมหมู่บ้านปลอดลูกน้ำยุงลายและปลอดไข้เลือดออกบ้านนาท่าม 0 8,150.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 1 , 3 , 6 และ 7 ไม่เป็นโรคที่นำโดยยุงลาย
  2. ทุกหลังคาเรือน ไม่พบลูกน้ำยุง
  3. อัตราการเกิดโรคที่นำโดยยุงลายลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2565 00:00 น.