กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ “ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อโดยยุงลายประจำปีงบประมาณ 2565 ภายในตำบลถนน ”
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 3 ตำบลถนน
วันที่อนุมัติ 31 มีนาคม 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2022 - 30 กันยายน 2022
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2022
งบประมาณ 41,630.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสาแลห๊ะ การี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลถนน อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.75,101.419place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข และเป็นปัญหาซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มการเกิดโรคสูงขึ้น เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้รณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา จังหวัดปัตตานีเป็นจังหวัดหนึ่งที่ประสบปัญหาโรคไข้เลือดออก และบวกกับภาวะโลกร้อนนี้ทำให้ฝนไม่ตกตามฤดูกาลส่งผลให้เกิดโรคไข้เลือดออกซึ่งเกิดการระบาดในหน้าฝนของทุก ๆ ปี เมื่อสังเกตอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของจังหวัดปัตตานี 5 ปีย้อนหลัง พบว่า เดิมลักษณะการระบาด จะเป็นแบบ ปี เว้นปี แต่ปัจจุบันระบาดในทุกปี จากข้อมูลรายงานทางระบาดวิทยาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถนน อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี พบว่า มีลักษณะการระบาด จะเป็นแบบปีเว้นปี จากสถานการณ์ดังกล่าวมาตรการการควบคุมโรคที่ได้ผลในขณะนี้ยังคงเป็นมาตรการการควบคุมยุงลายพาหะนำโรค ซึ่งลักษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัย ในสวน ขยายพันธุ์โดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิดจึงต้องการอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชน ทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้นำชุมชน และอสม.ในการช่วยกันป้องกันโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะ เช่น การรณรงค์การร่วมมือกับโรงเรียน ชุมชน สถานที่ราชการต่างๆ การจัดหาสารฆ่าลูกน้ำ การพ่นหมอกควันและสารเคมีการใช้วิธีทางธรรมชาติในการกำจัดลูกน้ำ การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายซึ่งทุกคนทำได้ นอกจากจะทำให้ปลอดภัยจากโรคที่มียุงลายเป็นพาหะแล้ว ยังเป็นการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในชุมชนอีกด้วย ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 3 ตำบลถนน เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา จึงได้จัดทำโครงการนี้เพื่อควบคุมและป้องกันไม่ให้มีการระบาดของโรคที่เกิดจากยุงลายเป็นพาหะ จึงต้องมีการป้องกันโดยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย โดยการสร้างความเข้าใจ ตระหนักให้ความสำคัญ จึงเกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันโรคได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ในโรงเรียนลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในทุกโรงเรียนโดยแต่ละโรงเรียนไม่พบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลาย  (CI=O)
  • ในชุมชนลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในทุกครัวเรือนให้มีจำนวนบ้านที่พบลูกน้ำยุงลายไม่เกินร้อยละ ๑๐ (ค่า HI ไม่เกิน๑๐)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2022 15:48 น.