กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ อสม.เขาย่า ชวนเลิกบุหรี่ ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L3367-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลศรีบรรพต
วันที่อนุมัติ 3 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 7,740.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีบรรพต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 6 หมู่ที่ 7 และ ม.9 ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเพื่อการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชน
0.00
2 ร้อยละของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ อายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรอง
30.00
3 จำนวนผู้สนใจเข้าร่วมการบำบัดเลิกบุหรี่
22.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พิษภัยของ “บุหรี่” ภัยเงียบใกล้ตัวที่แฝงความน่ากลัวมายังตัวคุณและคนรอบข้างอย่างไม่รู้ตัว องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยข้อมูลที่น่าตกใจว่า ในควันบุหรี่ เต็มไปด้วยนิโคติน (สารเสพติด) สารเคมี 7,000 ชนิด สารพิษมากกว่า 250 ชนิด และสารก่อมะเร็ง มากกว่า 70 ชนิด ยิ่งสูบบุหรี่นานเท่าไร ก็ยิ่งเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บที่บั่นทอนชีวิตให้สั้นลง อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อคนรอบข้าง (Second Hand Smoker) ถึงแม้จะไม่ได้สูบเองก็ตาม แต่พิษร้ายจากควันของบุหรี่สามารถสร้างความอันตรายไม่ต่างกับสูบด้วยตัวเอง ในควันบุหรี่มีสารนิโคติน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง เป็นหนึ่งในโรคร้ายคร่าชีวิตให้ถึงแก่ความตายได้ และกลายเป็นปัญหาหลักๆ ในการสูญเสียประชากรของสังคม นอกจากโรคมะเร็งก็ยังมีโรคร้ายอื่นๆ ที่เกิดจากควันบุหรี่ได้เช่นกัน ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง อีกทั้งยังเพิ่มความถี่ความรุนแรงให้กับอาการหอบหืด และภาวะการตายฉับพลันในทารกแรกเกิด เป็นต้น คลินิกฟ้าใส โรงพยาบาลศรีบรรพต ให้การบำบัดเพื่อเลิกบุหรี่ ในปี 2562 จำนวน 47 ราย และปี 2563 จำนวน 32รายและปี 2564 จำนวน 22 ราย เพื่อให้ผู้เข้ารับการบริการ ลด ละ เลิกบุหรี่ โรงพยาบาลศรีบรรพตจึงเล็งเห็นความสำคัญเพื่อให้บริการเชิงรุกโดยภาคีเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)ในการคัดกรองและให้มีความรู้แก่ผู้สูบบุหรี่ให้ลด ละ เลิกบุหรี่ เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชนในเขตความรับผิดชอบ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเพื่อการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเพื่อการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชน

0.00 1.00
2 ร้อยละของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ อายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรอง

ร้อยละของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ อายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรอง

30.00 60.00
3 จำนวนผู้สนใจเข้าร่วมการบำบัดเลิกบุหรี่

จำนวนผู้สมัครใจการบำบัดเลิกบุหรี่

22.00 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 พ.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 อบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 0 7,740.00 -
1 พ.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 คัดกรองผู้สูบบุหรี่ 0 0.00 -
1 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 66 สรุปและติดตามผลการดำเนินงาน 0 0.00 -
รวม 0 7,740.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. คัดกรองการสูบบุหรี่อายุ 15 ปี ขึ้นไป ได้มากกว่า 60 %
  2. สามารถนำให้คำแนะนำผู้สูบบุหรี่ให้เลิก จำนวน 10 คน
  3. มีเครือข่ายเพื่อการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชน อย่างน้อย 1 เครือข่าย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2565 14:18 น.