กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยปฐมวัย สวมหมวกนิรภัย สร้างวินัยกฎจราจร ประจำปี ๒๕๖๖
รหัสโครงการ 66-L5239-3-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลดีหลวง
วันที่อนุมัติ 29 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 16,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศิริวัลย์ ทองพงศ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.58,100.406place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานความปลอดภัยทางถนน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2565 30 ก.ย. 2566 16,500.00
รวมงบประมาณ 16,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 หมวด 2 การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ มาตรา ที่ 16 ให้เทศบาลเมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบการบริหารสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้
      การจัดการศึกษาตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ พ.ศ. 256๒ มาตรฐานที่ 1 การบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและครอบครัว ตัวบ่งชี้ที่ 1.5.2 การจัดกิจกรรมที่พ่อแม่/ผู้ปกครอง/ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมซึ่งหลายประเทศทั่วโลกกำลังประสบปัญหาการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตขณะขับขี่ยานพาหนะสองล้อ เช่น รถจักรยานและจักรยานยนต์ และการเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสส่วนใหญ่มาจากอาการบาดเจ็บที่ศีรษะซึ่งหมวกนิรภัยมีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงที่จะบาดเจ็บที่ศีรษะและ ลดอาการรุนแรงของอาการบาดเจ็บลงได้ การส่งเสริมให้ผู้ขับขี่สวมหมวกนิรภัยมากขึ้น จึงเป็นวิธีการสำคัญ ในการเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนนและเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการลดการเสียชีวิตและการบาดเจ็บที่ศีรษะอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ไม่สวมหมวกนิรภัยมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะหรือเสียชีวิตจากการบาดเจ็บประเภทนี้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลดีหลวง จึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยปฐมวัย สวมหมวกนิรภัย สร้างวินัยกฎจราจรเพื่อส่งเสริมและตระหนักถึงความปลอดภัยของเด็กในการสวมหมวกนิรภัยและส่งเสริมให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้ปกครอง ในการขับขี่ยานพาหนะให้มีความปลอดภัยบนท้องถนนโดยการสวมหมวกนิรภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้นักเรียนมีหมวกนิรภัยที่เพียงพอและปลอดภัยในการใช้รถบนท้องถนน

๑.นักเรียนมีหมวกนิรภัยที่เพียงพอและปลอดภัย ร้อยละ ๑๐๐

2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎจราจร และประโยชน์ของการสวมหมวกนิรภัยในการขับขี่ยานพาหนะให้มีความปลอดภัยบนท้องถนน

ผู้ปกครองนักเรียนมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎจราจรและการสวมหมวกนิรภัยที่ปลอดภัยให้แก่นักเรียน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ต.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมบรรยายให้ความรู้ครู/ผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองนักเรียนเกี่ยวกับกฎจราจรและการสวมหมวกนิรภัยที่ปลอดภัยในเด็กปฐมวัย 35 16,500.00 16,500.00
รวม 35 16,500.00 1 16,500.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. นักเรียนมีหมวกนิรภัยที่เพียงพอและปลอดภัยในการใช้รถบนท้องถนน ๒. ผู้ปกครองมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎจราจร และประโยชน์ของการสวมหมวกนิรภัยในการขับขี่ยานพาหนะให้มีความปลอดภัยบนท้องถนน
๓. ส่งเสริมสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพและตระหนักถึงความปลอดภัยในการสวมหมวกนิรภัย ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุในเด็ก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2565 09:54 น.