กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในเด็กปฐมวัย ศพด.อบต.ดีหลวง ประจำปี ๒๕๖๖
รหัสโครงการ 66-L5239-3-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลดีหลวง
วันที่อนุมัติ 29 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 28,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศิริวัลย์ ทองพงศ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.58,100.406place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2565 30 ก.ย. 2566 28,700.00
รวมงบประมาณ 28,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัย โรคฟันผุในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1-3 ปี สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีฟันผุ มาจากพฤติกรรมของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและส่งผลต่อพัฒนาการ  การเจริญเติบโตของเด็กได้   การเกิดฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว ยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย กล่าวคือ ฟันน้ำนมที่เสีย ถูกถอน หรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกันรวน เก ล้ม เอียง เข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้อย่างปกติ อาจจะขึ้นมาในลักษณะบิด ซ้อนกันหรือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป็นปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าในการแสดงออก การแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำได้โดยการใช้รูปแบบการให้บริการทันตกรรมครบวงจร การตรวจสุขภาพช่องปาก การให้บริการทันตกรรม การแปรงฟันที่ถูกวิธี การบำบัดรักษา และการติดตามประเมินผล โดยได้การสนับสนุนและร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลสทิงพระร่วมกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลดีหลวง ได้ให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังทันตสุขภาพและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในเด็กปฐมวัย ศพด.อบต.ดีหลวง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ครู/ผู้ดูแลเด็ก เด็กนักเรียน ผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากและโภชนาการอาหารสำหรับเด็กอย่างถูกวิธี

ครู/ผู้ดูแลเด็ก เด็กนักเรียน ผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่  ที่เกี่ยวข้องมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากและโภชนาการอาหารสำหรับเด็กอย่างถูกวิธีไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐

2 เพื่อให้เด็กนักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากครบทุกคน

เด็กนักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากครบทุกคนร้อยละ ๑๐๐

3 เพื่อให้เด็กนักเรียนมีอุปกรณ์ในการแปรงฟันที่เหมาะสมและเพียงพอ

เด็กนักเรียนมีอุปกรณ์ในการแปรงฟันที่เหมาะสมและเพียงพอร้อยละ ๑๐๐

4 เพื่อให้เด็กนักเรียนที่มีปัญหาสภาวะทางช่องปาก ได้รับการส่งต่อไปยังสถานบริการสาธารณสุข

เด็กนักเรียนที่มีปัญหาสภาวะทางช่องปาก ได้รับการส่งต่อไปยังสถานบริการสาธารณสุข ร้อยละ ๑๐๐

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ต.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 บรรยายให้ความรู้ครู/ผู้ดูแลเด็กเด็กนักเรียนผู้ปกครอง และเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง ศพด.อบต.ดีหลวง 0 0.00 28,700.00
รวม 0 0.00 1 28,700.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เด็กนักเรียนได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากและโภชนาการอาหารอย่างถูกวิธี ๒. ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากและโภชนาการอาหารสำหรับเด็กอย่างถูกวิธี ๓. ส่งเสริมสุขนิสัยในการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและโภชนาการอาหารที่ถูกหลักอนามัย ๔. เด็กนักเรียนมีอุปกรณ์ในการแปรงฟันที่เหมาะสมและเพียงพอ ๕. เด็กนักเรียนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขในระดับชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2565 10:24 น.