กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพดีเพราะมีภูมิฯ ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L7252-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองสะเดา
วันที่อนุมัติ 15 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 35,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุภาวดี จารุเศรษฐ๊
พี่เลี้ยงโครงการ นางสุภาวดี จารุเศรษฐี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.636,100.416place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยปรัชญางานสร้างเสริมภูมิคุ้นกันโรคของประเทศ "บคุคลที่อาศัยในประเทศไทยทุกคนต้องสามารถเข้าถึง การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่จำเป็น มีคุณภาพ และปลอดภัย โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา หรือเศรษฐานะ" การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคถือเป็นการป้องกันในระดับปฐมภูมิและเป็นการบริการด้านการสาธารณสุขพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคน แผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในประเทศไทย หรือ Expanded Program on Immunization (EPI) ได้พัมนาและมีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด เพื่อให้ทันกับการจัดการกับโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน และกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดบริการวัคซีนพื้นฐานที่เด็กไทยทุกคนควรได้รับ โดยเน้นวัคซีนป้องกันโรค ที่เป็นปัญหาสำคัญ ซึ่งในปัจจุบันประกอบด้วย วัคซีน 8 ชนิด ได้แก่ ;วัคซีนวัณโรค (BCG) วัคซีนตับอักเสบบี (HB) วัคซีนรวมคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี (DTP-HB) วัคซีนโปลิโอ (OPV) วัคซีนรวมหัด คางทูม หัดเยอรมัน (MMR) วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (JE) วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน (DTP) และวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก (DT) โดยกระทรวงสาธารณสุขจัดระบบบริการเพื่อให้เด็กทุกคนในประเทศได้รับวัคซีนตามกำหนดโดยให้สถานบริการสาธารณสุขของรัฐเป็นหน่วยบริการหลัก งานศูนย์บริการสาธารณสุข จึงได้จัดทำโครงการสุขภาพดี เพราะมีภูมิฯ เทศบาลเมืองสะเดา ประจำปี 2566 ขึ้น เพื่อให้ความรู้แก่ อสม.และบุคคลากรที่เกี่ยวข้องในการส่งต่อความรู้สู่ชุมชน และนำไปใช้ได้ถูกต้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลเด็ก 0-5 ปี และคุณครูอนามัยโรงเรียนซึ่งทำหน้าที่ดูแลนักเรียนในโรงเรียนและเด็กนักเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ใเนรื่องวัคซีนพื้นฐาน

 

2 2. เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี เด็กนักเรียน ป.1,ป.5 (นักเรียนหญิง) ,ป.6 และต่างด้าวอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย ได้รับวัคซีนตามแผนการให้วัคซีนพื้นฐานของกระทรวงสาธารณสุข

 

3 3. เพื่อให้ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองสะเดาได้รับวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 และป้องกันความรุนแรงของโรคที่อาจเกิดขึ้น หากมีการติดเชื้ออย่างครอบคลุมในทุกช่วงอายุ และทุกกลุ่มโรค

 

4 4. เพื่อให้อสม. มีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับวัคซีนและอาการของโรคต่างๆ ในเบื้องต้น สามรถประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองของเด็กวัย 0-5 ปี และนักเรียน ทราบและให้ความร่วมมือนำเด็กที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์ ได้รับวัคซีนตามแผนการให้วัคซีนพื้นฐานในสถานบริการต่างๆ

 

5 5. เพื่อป้องกันการระบาดของโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน และสามารถรับมือแก้ไขสถานการณ์ได้ทันทีหากเกิดการระบาดของโรคขึ้น

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑ ขั้นเตรียมการ         ๑.๑  เขียนโครงการเพื่อของบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ         ๑.๒  อบรมให้ความรู้แก่อสม.และคุณครูงานอนามัยโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองสะเดา ในเรื่องการตรวจสอบ ซักประวัติการรับวัคซีนทั้งจากในสมุดบันทึกสุขภาพเด็กและจากคำบอกเล่าของผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก         ๑.๓ จัดทำเอกสารการตรวจสอบประวัติการรับวัคซีนนักเรียน และแบบตอบรับ/ขออนุญาตผู้ปกครองเพื่อให้วัคซีนแก่นักเรียน         1.4 ประสานโรงพยาบาลสะเดา ในการลงพื้นที่ให้บริการวัคซีนป้องกันโควิด-19 แก่ประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสะเดา และในชุมชนต่างๆที่มีการระบาด         1.5 แจ้งผู้บังคับบัญชา เพื่อประสานขอความร่วมมือจากทางเทศบาลในการขอใช้ จัดสถานที่และขอความช่วยเหลือจากพนักงานเทศบาลในการรับลงทะเบียน และให้บริการในขั้นตอนต่างๆก่อนการรับวัคซีน         1.6 ประสานรถกู้ชีพเพื่อเตรียมพร้อมกรณี ประชาชนเกิดอาการแทรกซ้อนหรือเกิดเหตุฉุกเฉินหลังรับวัคซีน         ๒. ขั้นดำเนินการ         ๒.๑  จัดทำเป้าหมาย เพื่อขอเบิกวัคซีนจากโรงพยาบาลสะเดา และส่งเป้าหมายให้สสอ.สะเดา         ๒.๒  ขอเบิกวัสดุอุปกรณ์จากโรงพยาบาลสะเดา เช่น เข็มฉีดยา,syringe,สำลี,แอลกอฮอล์
และวัคซีน จัดเก็บตามมาตรฐานการดูแลรักษาวัคซีน         ๒.๓  ทำแผนปฏิบัติงานและประสานครูอนามัยโรงเรียนทราบกำหนดการลงพื้นที่(กรณีวัคซีนโรงเรียน)         ๒.๔  ลงพื้นที่ปฏิบัติงานตามแผนการปฏิบัติงานที่วางไว้ แจ้งผู้บังคับบัญชา เพื่อประสานขอความร่วมมือจากทางเทศบาลในการขอใช้ จัดสถานที่และขอความช่วยเหลือจากพนักงานเทศบาลในการรับลงทะเบียน และให้บริการในขั้นตอนต่างๆก่อนการรับวัคซีน         ๒.๕  ประสานครูงานอนามัยโรงเรียนติดตาม ประเมินภาวะแทรกซ้อนของนักเรียนภายหลัง การได้รับวัคซีน(กรณีวัคซีนโรงเรียน) ประสานรถกู้ชีพเพื่อเตรียมพร้อมกรณี ประชาชนเกิดอาการแทรกซ้อนหรือเกิดเหตุฉุกเฉินหลังรับวัคซีน         ๒.๖  รายงานผลการติดตาม ประเมินภาวะแทรกซ้อนให้สสอ.สะเดาและโรงพยาบาลสะเดา         ๒.๗  สรุปผลการดำเนินงาน รายงานผลส่งสสอ.สะเดา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.เด็กที่มีอายุต่ำกว่า ๕ ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัด ๒ ครั้ง มีความครอบคลุมไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๙๐
    ๒.ประชาชนให้ความสำคัญในการนำบุตรหลาน มารับวัคซีนป้องกันโรคหัด     ๓.เด็กนักเรียนหญิงที่กำลังศึกษาในระดับชั้นป.๕ ได้รับวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ครอบคลุม ร้อยละ ๘๕     ๔.ครูงานอนามัยโรงเรียน ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และอสม.ที่เข้าร่วมอบรม มีความรู้ในเรื่องวัคซีนพื้นฐาน การประเมิน ติดตามอาการจากภาวะแทรกซ้อนภายหลังจากการได้รับวัคซีน สามารถให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองในชุมชนและติดตามค้นหากลุ่มเป้าหมายในชุมชนได้     5.ประชาชนในกลุ่มอายุ12 ปีขึ้นไปที่มีภูมิลำเนา,รายชื่ออยู่ในเขตเทศบาลเมืองสะเดาได้รับวัคซีนเกิน80%     6.ผู้ที่รับวัคซีนแล้วไม่เกิดการเสียชีวิตด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนในเขตเทศบาลเมืองสะเดา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ต.ค. 2565 08:57 น.