กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างแรงจูงใจใหม่เพื่อสตรีไทยร่วมใจป้องกันมะเร็งปากมดลูก ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L2480-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบออก
วันที่อนุมัติ 18 ตุลาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 มิถุนายน 2566 - 23 มิถุนายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 24 กรกฎาคม 2566
งบประมาณ 15,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางตัซนีม ต่วนมหญีย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบออก
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 55 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชน และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมากโรคมะเร็ง เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทยจากข้อมูลสถิติสาธารณสุขปี พ.ศ.2557 พบว่าอัตราตายจากโรคมะเร็งของประชากรไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น และโรคมะเร็ง ที่พบมากที่สุดในประเทศไทยได้แก่มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมตามลำดับสำหรับสตรีไทย โรคมะเร็งปากมดลูกมีอุบัติการณ์สูงเป็นอันดับหนึ่งของโรคมะเร็งทุกชนิดนอกจากนี้ยังพบว่าการตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาผู้ที่มีความผิดปกติของปากมดลูก ตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งตามขั้นตอนที่ถูกต้องเหมาะสมสามารถลดอุบัติการณ์ และอัตราการตายของโรคมะเร็งปากมดลูกได้เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่เซลล์เริ่มผิดปกติโดยวิธี HPV DNA Test (Human papillomavirus) ซึ่งการติดเชื้อ HPV เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ เกิดมะเร็งปากมดลูก เชื้อไวรัส HPV มีอยู่มากกว่า 200 สายพันธุ์ ซึ่งมีประมาณ 14 สายพันธุ์ เสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรค และเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 เป็น สาเหตุประมาณร้อยละ 70 ของการเกิด มะเร็งปากมดลูกในผู้หญิงทั่วโลก ประกอบกับการดำเนินโรคเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปและสามารถรักษาให้หายขาด ดังนั้น การค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด การให้ความรู้การสร้างความตระหนักและการกระตุ้นให้เกิดการดูแลและป้องกันตัวเองในระยะแรกเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพตลอดจนลดอัตราป่วยและตายของสตรีจากโรคมะเร็งปากมดลูก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบออก ได้เล็งเห็นถึง ความสำคัญของการค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด โดยดำเนินการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30 – 60 ปี จึงได้จัดทำโครงการ“โครงการสร้างแรงจูงใจใหม่เพื่อสตรีไทยร่วมใจป้องกันมะเร็งปากมดลูก เพื่อให้ครอบคลุมประชากรระดับหนึ่งซึ่งจะช่วยลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 กลุ่มสตรีอายุ 30-60ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV DNA Test

ร้อยละ 80 กลุ่มสตรีอายุ30-60ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV DNA Test

55.00 55.00
2 กลุ่มสตรีมีความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน

ร้อยละ๘๐ กลุ่มสตรีที่เข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเองครอบครัว และชุมชน

55.00 55.00
3 กลุ่มสตรีที่พบความผิดปกติได้รับการส่งต่อทุกราย

ร้อยละ100  สตรีที่พบความผิดปกติได้รับการส่งต่อทุกราย

55.00 55.00
4 เพื่อค้นหาติดตามคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูกและป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูก ระยะแรก สามรถรู้และรักษาได้ทันถ่วงที

ร้อยละ 80 มีการค้นหา ติดตามคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูกและป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูก ระยะแรก สามรถรู้และรักษาได้ทันถ่วงที

55.00 55.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 55 15,050.00 3 15,050.00
23 มิ.ย. 66 เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขดำเนินการสำรวจและจัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงโรคโรคมะเร็งปาก 0 0.00 0.00
23 มิ.ย. 66 จัดอบรมให้ความรู้การคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบใหม่ให้กับกลุ่มสตรีอายุ 55 15,050.00 15,050.00
23 มิ.ย. 66 ค้นหาติดตามคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูกและป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูก ระยะแรก สามรถรู้และรักษาได้ทันถ่วงที 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มสตรีอายุ30-60ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 80
  2. กลุ่มสตรีกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเองและครอบครัว ชุมชน ร้อยละ 100
  3. สตรีที่พบความผิดปกติได้รับการส่งต่อทุกราย ร้อยละ 100
  4. เพื่อค้นหาคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูกและป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูก ระยะแรก สามรถรู้และรักษาได้ทันถ่วงที
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ต.ค. 2565 09:47 น.