กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L6961-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
วันที่อนุมัติ 4 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 มกราคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 71,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุชาดา เดชนำบัญชา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของสถานประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพได้รับการตรวจสอบและผ่านมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด
60.00
2 ร้อยละของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับการตรวจสอบได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด
98.00
3 ร้อยละของร้านชำที่ได้รับการตรวจสอบผ่านเกณฑ์ร้านชำสีขาว
45.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกปี 2565 พบว่าสถานประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพบางแห่งยังไม่ผ่านมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น ร้านชำ 116 ร้าน ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 52 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 45 ร้านชำที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานมักจะพบการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ห้ามจำหน่ายในร้านชำ และสถานประกอบการโรงผลิตน้ำดื่ม น้ำแข็ง 12 แห่ง ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 5 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 42 เนื่องจากอย.ปรับเกณฑ์การตรวจสถานที่ผลิตอาหารให้มีความเข้มงวดมากยิ่งขึ้น เช่น โรงผลิตน้ำดื่ม น้ำแข็งจะต้องมีผู้ผ่านการอบรมผู้ควบคุมการผลิตอาหาร (น้ำบริโภค น้ำแร่ น้ำแข็ง) การส่งผลิตภัณฑ์ตรวจวิเคราะห์ เป็นต้น นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่จำหน่ายบางรายการยังไม่ได้มาตรฐาน และไม่ปลอดภัย เช่น การจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่ผสมยาสเตียรอยด์ ในร้านชำและ การจำหน่ายเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในร้านจำหน่ายเครื่องสำอาง เป็นต้น จากการสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหาร ยา เครื่องสำอาง ตรวจสอบสารปนเปื้อนโดยส่งตรวจวิเคราะห์ ณ ศูนย์วิทย์ฯ และตรวจสอบโดยใช้ชุดทดสอบอย่างง่าย จำนวน 174 ตัวอย่าง ผ่านมาตรฐาน 171 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 98 ซึ่งส่งผลให้ประชาชนเกิดความไม่ปลอดภัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวและดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในพื้นที่ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ คปสอ.สุไหงโก-ลกจึงได้จัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ประจำปี 2566

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำกับดูแลสถานประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน

ร้อยละของสถานประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพได้รับการตรวจสอบและผ่านมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด

60.00 100.00
2 เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผลิตให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด และเกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค

ร้อยละของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับการตรวจสอบได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด

98.00 100.00
3 เพื่อกำกับดูแลร้านชำให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน

ร้อยละของร้านชำที่ได้รับการตรวจสอบผ่านเกณฑ์ร้านชำสีขาว

45.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 71,000.00 5 71,000.00
2 ม.ค. 66 - 29 ก.ย. 66 ลงพื้นที่ตรวจสถานประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก 0 6,800.00 6,800.00
2 ม.ค. 66 - 29 ก.ย. 66 ตรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผลิตและจำหน่ายในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก (ทดสอบสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์สุขภาพ) 0 40,000.00 40,000.00
16 - 6 ม.ค. 66 ประชุมชี้แจงแผนการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ 0 0.00 0.00
1 ก.พ. 66 จัดอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการร้านชำ 0 9,800.00 9,800.00
15 ก.พ. 66 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและเกณฑ์การตรวจร้านชำแก่แกนนำชุมชน 0 14,400.00 14,400.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สถานประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพได้รับการตรวจสอบและผ่านมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด
  2. ผลิตภัณฑ์สุขภาพได้รับการตรวจสอบและมีมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด
  3. ร้านชำที่ได้รับการตรวจสอบผ่านเกณฑ์ร้านชำสีขาว ประชาชนในพื้นที่บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2565 00:00 น.