กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กตะลุบันวัคซีนครบ ประจำปี 2560
รหัสโครงการ 60-L7010-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสายบุรี
วันที่อนุมัติ 10 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2560 - 31 กรกฎาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 49,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนารีสะสาหะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 3 พ.ค. 2560 16 พ.ค. 2560 49,000.00
รวมงบประมาณ 49,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 245 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก เด็กทุกคนในประเทศไทยควรได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานครบทุกชนิดตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุขซึ่งรวมถึงการได้รับวัคซีนกระตุ้นตามกำหนดที่เหมาะสมสำหรับวัคซีนแต่ละชนิดและต้องดำเนินการให้ครอบคลุมประชากรกลุ่มเป้าหมายมากที่สุดและมีความต่อเนื่องตลอดไปวัคซีนเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมป้องกันโรคลดอัตราการเกิดโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศจุดประสงค์ในการฉีดวัคซีนนั้นเพื่อป้องกันโรคติดต่อร้ายแรง โดยเฉพาะกับเด็ก การฉีดวัคซีนนั้นขัดขวางการแพร่ระบาด และลดผลกระทบที่ร้ายแรงของโรคติดต่อ ในบางกรณีอาจจะกำจัดโรคได้หมดโรคในเด็กหลายโรค เช่น หัด และคอตีบ ในปัจจุบันยังมีการระบาดและเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตในเด็กและผู้ใหญ่ในปี 2558 จังหวัดปัตตานีมีเด็กป่วยด้วยโรคคอตีบจำนวน 1 ราย ปี 2559 มีเด็กป่วยด้วยโรคคอตีบจำนวน 1 รายไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต ซึ่งอัตราป่วยจากโรคคอตีบลดลงเนื่องจากมีการรณรงค์ฉีดวัคซีนเมื่อปี 2554 จากสถานการณ์โรคหัดในจังหวัดปัตตานียังมีการเกิดโรคหัดอย่างต่อเนื่อง และมีการระบาดเป็นกลุ่มก้อนประปรายในพื้นที่ที่มีความครอบคลุมของวัคซีนต่ำพบการระบาดที่สูงในกลุ่มเด็ก จากรายงานผู้ป่วยโรคหัดในจังหวัดปัตตานี ข้อมูลตั้งแต่ 1 มกราคม 2559 ถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2559 ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคหัดจำนวนทั้งสิ้น 13 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 1.88 ต่อแสนประชากร ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือ 0-4 ปี อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรสูงสุดคืออำเภอมายออัตราป่วยเท่ากับ 6.87 ต่อแสนประชากร รองลงมาอำเภอทุ่งยางแดงอัตราป่วยเท่ากับ 4.68 ต่อแสนประชากรและอำเภอสายบุรี อัตราป่วยเท่ากับ 3.16 ต่อแสนประชากร
ผลการดำเนินงานของงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ในปี 2557 เท่ากับร้อยละ 82.09 ปี 2558 เท่ากับร้อยละ 92.31 ปี 2559 เท่ากับร้อยละ 50.48
ดังนั้นกลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัวและบริการด้านปฐมภูมิ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสายบุรีจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เด็กอายุ 4-5ปี ได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานครบตามเกณฑ์

 

2 2.ลดอัตราความรุนแรงของการเกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

 

3 3.ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐาน

 

4 4.ผู้ปกครองตะหนักถึงความสำคัญของการได้รับวัคซีน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ
  2. จัดทำแผนงาน/โครงการ ร่วมกับเจ้าหน้าที่กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัวและบริการด้านปฐมภูมิและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง รพร.สายบุรี 3.ประชาสัมพันธ์ภายในคลินิกเด็กดีและผ่านแกนนำชุมชนและอสม. 4.สำรวจข้อมูลเด็กมีอายุ 4-5ปีที่ต้องได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ปีงบประมาณ 2560 ในเขตรับผิดชอบ
  3. จัดกิจกรรมให้ความรู้ในโรงเรียนพ่อแม่เรื่องวัคซีน
  4. มอบชุดส่งเสริมพัฒนาการตามวัยสำหรับเด็กที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์
  5. สรุปและรายงานผลการดำเนินงานดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็ก 4-5 ปีได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานครบตามเกณฑ์
2.จำนวนเด็กป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนมีอัตราลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2559 09:13 น.