กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการติดตามและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน หมู่ที่ 6 บ้านควนขนุน
รหัสโครงการ 61-L3311-02-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. หมู่ที่ 6 บ้านควนขนุน
วันที่อนุมัติ 20 ตุลาคม 2017
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2017 - 30 กันยายน 2018
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,780.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรม อสม.หมู่ที่ 6 บ้านควนขนุน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.491,100.095place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 76 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน(DM) และโรคความดันโลหิตสูง(HT) เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือด(CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม จากผลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าลาด ปี 2560 พบว่า หมู่ที่ 6 บ้านควนขนุน มีกลุ่มเสี่ยงด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 150 คน และกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 80 คน นอกจากนี้กลุ่มป่วยที่รับยาที่ รพ.สต.บ้านท่าลาด ตั้งแต่ปี 2558 - 2560 จำนวน ทั้งสิ้น 52 ราย สามารถแบ่งกลุ่มตามปิงปองจรารจรชีวิต 7 สี ดังนี้ สีเขียวเข้ม 30 ราย สีเหลือง 15 ราย สีส้ม 6 ราย สีแดง 1 ราย มีผู้ป่วยทีถูกส่งกลับไปยังโรงพยาบาลเขาชัยสน เนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 1 ราย นอกจากนี้ จากการตรวจประเมินค่าความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยแต่ละราย พบว่า ผู้ป่วยบางรายยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะผลกระทบ นั่นคือ การเกิดภาวะแทรกซ้อนในอนาคตได้ ดังนั้น ชมรม อสม. หมู่ที่ 6 บ้านควนขนุน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว และตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการติดตามและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานขึ้น เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้ และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการเกิดโรคเรื้อรังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตได้ ดังนั้นในปี 2561 การอบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานจึงเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีเพื่อจะได้ไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

 

2 2.เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

 

3 3.เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการป้องกันโรคเรื้อรัง และภาวะแทรกซ้อนได้

 

4 4.เพื่อสร้างกระแสการลดพุง ลดโรค ให้กับประชาชนในเขตโรงพยาบลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าลาด

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ 2.ประสานผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานตามโครงการ 3.การตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพ และการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ประจำปี 2561 4.จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เน้นหลัก 3อ 2ส 5.ติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 6.จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 7.ประเมินผลโครงการและเสนอต่อผู้บังคับบัญชา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไปได้รับการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90 2.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 80 3.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับความรู้และปรับเปลี่บยพฤติกรรมที่ถูกวิธี 4.กลุ่มป่วยได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2017 09:27 น.