กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น
รหัสโครงการ 60-L7010-1-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสายบุรี
วันที่อนุมัติ 10 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 เมษายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมายีดะห์ดอเลาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 20 ก.ค. 2560 21 ก.ค. 2560 11,000.00
2 15 ส.ค. 2560 16 ส.ค. 2560 2,000.00
3 15 ส.ค. 2560 17 ส.ค. 2560 2,400.00
รวมงบประมาณ 15,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์กรอนามัยโลก ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานการเฝ้าระวังสถานการณ์การตั้งครรภ์ซ้ำของวัยรุ่น คิดเป็นร้อยละของผูหญิงอายุต่ำกว่า 20ปีบริบูรณ์ที่ตั้งครรภ์ของผู้หญิงทุกกลุ่มอายุไม่เกินร้อยละ 50 ต่อประชากร หญิงอายุ 15-19 ปี พันคนและรัอยละการตั้งครรภ์ซ้ำของผู้หญิงอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ไม่เกินร้อยละ 10เพื่อบ่งชี้ระดับความรุนแรงของปัญหาดังกล่าว ซึ่งในช่วง 3ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2557-2559)การตั้งครรภ์และการตั้งครรภ์ซ้ำของวัยรุ่นไทยที่อายุต่ำกว่า 20ปี ยังมีค่าสูงเกินเกณฑ์เฝ้าระวังอยู่ในกลุ่มมารดาอายุต่ำกว่า 20 ปี และมารดาอายุต่ำกว่า 15 ปีข้อมูลสถานการณ์ในวัยรุ่น เขต 12 พบว่าอัตราการคลอดของวัยรุ่นในจังหวัดปัตตานี ปี 2557-2559 เท่ากับ34.8, 32.46, และ 20.64 ตามลำดับ ร้อยละการตั้งครรภ์ซ้ำ ปี 2557-2559 เท่ากับ 30, 19.87 และ 14.27 ตามลำดับ จากข้อมูลสถานการณ์การตั้งครรภ์และคลอดในคลินิควัยใส บริการที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน (Youth Friend Health Service : YFHS) โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสายบุรี พบว่าอัตราการคลอดของวัยรุ่นอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ในอำเภอสายบุรี ปี 2257-2559 เท่ากับ 23.04 ,24.08,และ 29.70 ตามลำดับ ร้อยละการตั้งครรภ์ซ้ำ 2557-2559 เท่ากับ 8.43, 23.28,และ21.11 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังว่ามีการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในปี 2559 ร้อยละ 29.78 ซึ่งการตั้งครรภ์ไม่พร้อมดังกล่าวเกิดกับเด็กและเยาวชนที่ยังกำลังศึกษาอยู่ร้อยละ 28.57 ส่งผลต่อการออกจากโรงเรียนกลางคัน ยังไม่พร้อมเลี้ยงดูบุตร และยังอาจเกิดปัญหาเศรษฐกิจสังคมอื่นๆตามมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้พ่อแม่/ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงดูบุตรในวัยรุ่น/จำนวน 40 คน

พ่อแม่/ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงดูบุตรในวัยรุ่น

2 เพื่อส่งเสริมให้อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนมีความรู้ความเข้าใจและมีแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นในชุมชน/ 20ชุมชน รวมเป็นจำนวน 40 คน

อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนมีความรู้ความเข้าใจและมีแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นในชุมชน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
7 มี.ค. 60 - 30 เม.ย. 60 ให้ความรู้ 60 15,400.00 -
รวม 60 15,400.00 0 0.00

1.กิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครองเรื่องการดูแลบุตรวัยรุ่นตามวิถีอิสลาม -ให้ความรู้สถานการณ์ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น -ให้ความรู้เรื่องธรรมชาติ พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลง ปัญหาและพฤติกรรมวัยรุ่น -แบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากสถานการณ์ที่กำหนด -ให้ความรู้หลักการเลี้ยงลูกตามวิถีอิสลาม 2.กิจกรรมให้ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนเรื่องธรรมชาติของวัยรุ่นและบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น -ให้ความรู้สถานการณ์ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น -ให้ความรู้เรื่องธรรมชาติ พัฒนาการและการเปลี่ยนแปลง ปัญหาและพฤติกรรมวัยรุ่น -แบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากสถานการณ์ที่กำหนด -ให้ความรู้แนวทางป้องกันปัญหาอนามัยการเจริญพันธ์ในวัยรุ่น และบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น 3.ติดต่อประสานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ 4.ดำเนินการจัดการโครงการ/กิจกรรม ตามที่กำหนด 5.ประเมิน สรุป และรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.พ่อแม่/ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงดูบุตรวัยรุ่น 2.อาสาสมัครสาธารณสุขชุมขนมีแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นในชุมชน 3.อัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2559 09:23 น.