กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ (โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลพะตง)
รหัสโครงการ 66-L7890-03-003
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลพะตง
วันที่อนุมัติ 24 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 31 พฤษภาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 มิถุนายน 2566
งบประมาณ 126,345.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลพะตง โดย ร.ต.ต.อิสระ สุระสังวาลย์ ตำแหน่งประธานชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลพะตง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานขยะ , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานสุขภาพจิต , แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2566 31 พ.ค. 2566 126,345.00
รวมงบประมาณ 126,345.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเป็นหนึ่งประเทศที่กำลังเผชิญปัญหาอายุของประชากรได้เปลี่ยนไปอย่างมาก จากการเป็นประชากรเยาว์วัยมาเป็นประชากรสูงวัยในปี พ.ศ.2565 มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากถึง 12.52 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.94 ของประชากรทั้งหมดและในอีก 20 ปีข้างหน้า ประชากรรวมของประเทศไทยจะเพิ่มช้าลง อัตราเพิ่มประชากรจะลดต่ำลงจนถึง ขั้นติดลบ แต่ประชากรสูงอายุจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประชากรยิ่งมีอายุสูงยิ่งเพิ่มขึ้นเร็ว ในขณะที่ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปจะเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 4 ต่อปี ผู้สูงอายุวัยปลาย 80 ปีขึ้นไป จะเพิ่มด้วยอัตราเฉลี่ย ถึงร้อยละ 7 ต่อปี
ปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ พบได้หลากหลายและแตกต่างกันออกไปในแต่ละครอบครัวและในรายละเอียดปัญหาที่พบมากที่สุดของผู้สูงอายุ ได้แก่ มีรายได้น้อย ด้อยโอกาส เจ็บป่วยเรื้อรัง ว่างงาน ถูกทอดทิ้ง ประสบภัยพิบัติหรือมีติดสารเสพติดในผู้สูงอายุ ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากสภาพพื้นฐานของผู้สูงอายุประกอบด้วย ปัญหาด้านสังคม ปัญหาด้านโภชนาการ ปัญหาด้านการดูแลสุขภาพและรักษาโรค ปัญหาด้านคำแนะนำทางกฎหมาย เป็นต้น ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมาประสบกัฐสถานการณ์โรคโควิด – 19 ส่งผลกระทบถึงคุณภาพชีวิตโดยรวมของกลุ่มผู้สูงอายุ ประเทศไทยได้เตรียมการรองรับสังคมผู้สูงอายุมาระยะหนึ่งแล้ว ทั้งการประกาศเป็นวาระชาติ การกำหนดแผนปฏิบัติการผู้สูงอายุแห่งชาติ โดยเฉพาะในปี 2563 ได้กำหนดแนวทางมุ่งเน้นเรื่องสังคมสูงวัยคนไทยอายุยืน ที่ขับเคลื่อนในทุกกระทรวง สำหรับในปี 2565 กรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) ได้จัดทำแผนบูรณาการรองรับทั้งมิติคนก่อนวัยสูงอายุที่ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการก้าวสู่วัยสูงอายุอย่างมีคุณภาพ และมิติวัยสูงอายุมีการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพให้มีความแข็งแรงด้านสุขภาพ มีความมั่นคงในการมีชีวิต มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม รวมถึงการจัดระบบสวัสดิการต่างๆรองรับ
ในเขตเทศบาลตำบลพะตง ณ กันยายน 2565 มีจำนวนประชากร 7,639 คน เป็นประชากรสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 1,539 คน คิดเป็นร้อยละ 20.15 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งปัญหาที่พบในพื้นที่ มีทั้งปัญหาด้านสุขภาพ ด้านรายได้และเศรษฐกิจครัวเรือน ด้านที่อยู่อาศัย การขาดผู้ดูแล เป็นต้น และจากรายงานของสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ในประเทศไทยประชากรกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป พบโรคที่ทำให้ผู้สูงอายุสูญเสียสุขภาวะที่ดี 5 อันดับแรกในผู้สูงอายุชาย ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง เบาหวานและโรคมะเร็งตับ ส่วนผู้สูงอายุหญิง ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ สมองเสื่อมและโรคซึมเศร้า ตามลำดับ และภาวะคุกคามด้านการดูแลผู้สูงอายุในปัจจุบัน ประกอบด้วย 1) ระบบการดูแลรักษาผู้สูงอายุยังไม่แตกต่างจากกลุ่มอายุอื่นมุ่งเน้นการรักษาโรค (Disease management) มากกว่าการรักษาแบบ Case management 2) มาตรฐานในการดูแลผู้สูงอายุในสถานบริการและในชุมชนต้องการการพัฒนา 3) ระบบและรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชนต่างๆ 4) บุคลากรที่มีองค์ความรู้และทักษะในการดูแลรักษาผู้สูงอายุ 5) รูปแบบของบริการสาธารณสุขในอนาคต เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุโดยชะลอการเสื่อมของร่างกายและจิตใจ จากปัญหาอันนำมาซึ่งปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม ค่าใช้จ่ายทั้งของภาครัฐและครอบครัว สวัสดิการและสุขภาพอนามัยจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมหาศาล ประเด็นปัญหานี้จึงเป็นประเด็นปัญหาเร่งด่วนที่รัฐจะต้องกำหนดนโยบายเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว ไม่เช่นนั้นสังคมไทยก็จะประสบ ปัญหาในสังคม รัฐบาลจึงได้ดำเนินการเตรียมความพร้อม จัดทำนโยบายและแผนระยะยาวไว้รองรับซึ่งปรากฏในแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545 – 2565 (คณะกรรมการแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ, 2553, หน้า 31-57) ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการรองรับภาวะผู้สูงอายุไว้ 5 ยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะในยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมผู้สูงอายุ มีรายงาน/งานวิจัยเสนอเพื่อสนับสนุนเหตุและผลที่จะนำไปสู่การวิจัย ตั้งแต่พ.ศ.2545 – ปัจจุบัน
    ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลพะตง ขอรับงบประมาณเพื่อจัดโครงการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ (โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบล  พะตง) เพื่อป้องกันภาวะคุกคามจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ทั้งจากโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต โรคที่เกิดจากสภาพแวดล้อม และโรคที่เกิดจากทางจิตใจ เช่นการมีภาวะโรคซึมเศร้า อีกทั้งเป็นการเสริมความรู้เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถพัฒนาองค์ความรู้ตัวเอง ไปให้ความรู้คนรอบตัวต่อไป ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลพะตง เทศบาลตำบลพะตงจึงมีความประสงค์ขอรับงบประมาณ ในการจัดทำโครงการในครั้งนี้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างทักษะและพัฒนาการดูแลตัวเองขั้นพื้นฐานของผู้สูงอายุ
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้ทักษะการดูแลตัวเองขั้นพื้นฐานหลังเสร็จสิ้นโครงการเพิ่มขึ้นร้อยละ 100 (เทียบกับแบบประเมินก่อนร่วมโครงการ)
2 เพื่อป้องกันการมีภาวะซึมเศร้าและการเกิดภาวะติด บ้านติดเตียงในผู้สูงอายุ ส่งเสริมการออกกำลังกายและสุขภาพจิตใจ

ผู้สูงอายุมีภาวะสุขภาพกายและใจดีขึ้นจากการประเมินสุขภาพจากหน่วยบริการสาธารณะสุขในพื้นที่ ร้อยละ 100

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อสร้างทักษะและพัฒนาการดูแลตัวเองขั้นพื้นฐานของผู้สูงอายุ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อป้องกันการมีภาวะซึมเศร้าและการเกิดภาวะติด บ้านติดเตียงในผู้สูงอายุ ส่งเสริมการออกกำลังกายและสุขภาพจิตใจ

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 มี.ค. 66 - 31 พ.ค. 66 อบรมให้ความรู้ 0.00 126,345.00 -
1 มี.ค. 66 - 31 พ.ค. 66 ให้ความรู้ ประเมินภาะสุขภาพ ติดตามปัญหาสุขภาพ 0.00 126,345.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เสริมสร้างทักษะและพัฒนาศักยภาพในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุเอง
  2. เสริมสร้าง ป้องกันและลดภาวะโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2565 00:00 น.