กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเขาชัยสน


“ โครงการสมุนไพรห่างไกลโรค ”

ตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นายจบ แก้วทิพย์

ชื่อโครงการ โครงการสมุนไพรห่างไกลโรค

ที่อยู่ ตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 2566-L7576-03-15 เลขที่ข้อตกลง 4/2566

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการสมุนไพรห่างไกลโรค จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเขาชัยสน ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการสมุนไพรห่างไกลโรค



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการสมุนไพรห่างไกลโรค " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 2566-L7576-03-15 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2565 - 31 กรกฎาคม 2565 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 14,800.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเขาชัยสน เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

พืชสมุนไพรเป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมานาน ซึ่งมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสังคม วัฒนธรรมและรูปแบบการรักษา มีทั้งการใช้ยาสมุนไพรในการนวดตัว นวดฝ่าเท้า ซึ่งตอบสนองความต้องการทางด้านการรักษาสุขภาพและความเจ็บป่วยของประชาชนได้เป็นอย่างดี คนส่วนใหญ่รู้กันว่าสมุนไพรไทย
เป็นสิ่งที่มีคุณค่าใช้ประโยชน์ได้จริง แต่จากการพัฒนาในทุกด้านที่ยึดการพัฒนาตามระบบทุนนิยมทำให้ชุมชนมีค่านิยมตามแนวทางของตะวันตกเป็นหลัก โดยเฉพาะด้านการจัดการสุขภาพที่เน้นการพึ่งพิงจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่ สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ภูมิปัญญาและองค์ความรู้การดูแลสุขภาพไม่ได้รับการพัฒนา ทำให้ชุมชนได้รับประโยชน์จากพืชสมุนไพรน้อย ทั้งๆ ที่สมุนไพรเหล่านี้มีอยู่ในชุมชน

การส่งเสริมการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำอย่างจริงจังโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพและเข้ารักษาโรคกับแพทย์แผนใหม่ เนื่องจากไม่เคยชินกับการรักษาโรคโดยใช้วิชาแพทย์แผนโบราณ การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้ถึงสรรพคุณ วิธีผลิต และการใช้ประโยชน์จากสมุนไพร นำมาใช้
ในการรักษาโรค โดยเฉพาะในเรื่องการนวดตัว นวดฝ่าเท้า (ฝ่าเท้าเป็นจุดศูนย์รวมของอวัยวะต่างๆ ที่สำคัญของร่างกายมากที่สุด) ด้วยสมุนไพร “ยาหม่องไพล” เป็นวิธีการบำบัดรักษาของแพทย์แผนไทย ซึ่งสามารถนำไปใช้ควบคู่กับการนวดไทย การนวดฝ่าเท้าสามารถช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตได้ดี ส่วนประกอบยาหม่องไพรเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณบำบัดอาการของโรคกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ลดการตึงเครียดทำให้เส้นเอ็นหย่อนคลาย บรรเทาอาการปวดเมื่อย แก้เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำดำเขียว แก้บรรเทาพิษสัตว์กัดต่อย ยาหม่องไพรเป็นสมุนไพรสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทย ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุเทศบาลตำบลเขาชัยสน เห็นความจำเป็นและตระหนักถึงการดูแลสุขภาพโดยการใช้ประโยชน์จากสมุนไพร จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อให้ผู้สูงอายุในชุมชนมีสุขภาพที่ดีและมีความรู้ในการนำสมุนไพรไปใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและยังเป็นการสร้างความผูกพันธ์สัมพันธ์รักของสมาชิกในครอบครัว

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ผู้ผ่านการอบรมรู้ถึงสรรพคุณของสมุนไพรและนำไปใช้ประโยชน์ในการรักษาโรค
  2. เพื่อให้ผู้ผ่านการอบรมได้รับความรู้เรื่องการทำยาหม่องสมุนไพร
  3. เพื่อให้ผู้ผ่านการอบรมและประชาชนทั่วไปมีการปลูกพืชสมุนไพรและนำไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
  4. ผู้ผ่านการอบรมมีความรู้เรื่องการนวดแผนไทย
  5. เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ด้านสมุนไพรและยาหม่องไพล
  2. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์สมุนไพรรักษาโรคและฝึกปฎิบัติการทำยาหม่องสมุนไพล

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 25
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • ผู้ผ่านการอบรมได้รับความรู้เรื่องสรรพคุณ และนำไปใช้ประโยชน์ในการรักษาโรค
  • ผู้ผ่านการอบรมได้รับความรู้เรื่องการทำ "ยาหม่องไพล"และสามาถนำไปใช้ประโยชน์ได้
  • ประชาชนมีการปลูกพืชสมุนไพรในครัวเรือนมากขึ้น
  • ผู้ผ่านการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการนวดแผนไทย
  • ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการบำบัดรักษาโรคและแพทย์ทางเลือกที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ด้านสมุนไพรและยาหม่องไพล

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • สาธิตการทำหม่องไพล
  • เผยแพร่องค์ความรู้ด้านสมุนไพรให้กับคณะศึกษาดูงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • สามารถเผยแพร่องค์ความรู้

 

0 0

2. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์สมุนไพรรักษาโรคและฝึกปฎิบัติการทำยาหม่องสมุนไพล

วันที่ 1 ธันวาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์สมุนไพรรักษาโรค
  • ฝึกปฏิบัติการทำยาหม่องสมุนไพร
  • ฝึกปฏิบัติการนวดแผนไทย(นวดฝ่าเท้า)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ผู้สมัครและเข้าร่วมโครงการจำนวน 40 คน
  • ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับประโยชน์สมุนไพรรักษาโรค
  • ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะการฝึกปฏิบัติการทำยาหม่องสมุนไพร
  • ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะฝึกปฏิบัติการนวดแผนไทย(นวดฝ่าเท้า)

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  • กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ จำนวน 25 คน
  • กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องสมุนไพรและสามารถนำประโยชน์ของสมุนไพรมาใช้ในการรักษาโรคและสามารถเรียนรู้การปลูกพืชสมุนไพรในครัวเรือนและสามารถนำภูมิปัญญาท้องถิ่นในการบำบัดรักษาโรค
  • กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับการนวดแผนไทยเบื้องต้น สามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันกับตนเอง สมาชิกในครัวเรือน และสามารถเผยแพร่ได้

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ผู้ผ่านการอบรมรู้ถึงสรรพคุณของสมุนไพรและนำไปใช้ประโยชน์ในการรักษาโรค
ตัวชี้วัด : ผู้ผ่านการอบรมมีความรู้เรื่องสมุนไพรและนำไปใช้รักษาโรคได้
0.00 25.00 25.00

 

2 เพื่อให้ผู้ผ่านการอบรมได้รับความรู้เรื่องการทำยาหม่องสมุนไพร
ตัวชี้วัด : ผู้ผ่านการอบรมสามาถทำยาหม่องไพลใช้ในครัวเรือนได้
0.00 25.00 25.00

 

3 เพื่อให้ผู้ผ่านการอบรมและประชาชนทั่วไปมีการปลูกพืชสมุนไพรและนำไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
ตัวชี้วัด : ผู้ผ่านการอบรมและประชาชนทั่วไปมีสมุนไพรไปใช้ในครัวเรือน
0.00 25.00 25.00

 

4 ผู้ผ่านการอบรมมีความรู้เรื่องการนวดแผนไทย
ตัวชี้วัด : ผู้ผ่านการอบรมสามารถนวดแผนไทยเบื้องต้นได้
0.00 25.00 25.00

 

5 เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตัวชี้วัด : ผู้ผ่านการอบรมสามารถอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
0.00 25.00 25.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 25 25
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 0
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ 25 25
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 0
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ผู้ผ่านการอบรมรู้ถึงสรรพคุณของสมุนไพรและนำไปใช้ประโยชน์ในการรักษาโรค (2) เพื่อให้ผู้ผ่านการอบรมได้รับความรู้เรื่องการทำยาหม่องสมุนไพร (3) เพื่อให้ผู้ผ่านการอบรมและประชาชนทั่วไปมีการปลูกพืชสมุนไพรและนำไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น (4) ผู้ผ่านการอบรมมีความรู้เรื่องการนวดแผนไทย (5) เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ด้านสมุนไพรและยาหม่องไพล (2) อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์สมุนไพรรักษาโรคและฝึกปฎิบัติการทำยาหม่องสมุนไพล

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการสมุนไพรห่างไกลโรค จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 2566-L7576-03-15

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายจบ แก้วทิพย์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด