กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา
รหัสโครงการ L7250-5-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานป้องกันเฝ้าระวังและควบคุมโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 22 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 250,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศรินทิพย์ มุณีสว่าง ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.19833,100.599607place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 71272 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันพบว่าอุบัติเหตุฉุกเฉิน สาธารณภัย และภัยพิบัติ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกพื้นที่ของประเทศไทยรวมทั้ง  ทุกพื้นที่ทั่วโลก อีกทั้งยังพบว่าแนวโน้มการเกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำมีเพิ่มขึ้น เช่น โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา  2019 ฝีดาษวานร โรคอหิวาตกโรค โรคไข้ซิก้า โรคมือเท้าปาก โรคชิคุนกุนยา ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านประชากรและพฤติกรรมมนุษย์ การเดินทางเคลื่อนย้ายของประชากร การเปลี่ยนแปลงของตัว เชื้อโรค ภาวะโลกร้อนทำให้การแพร่ระบาดของโรคเป็นไปได้รวดเร็วและกว้างขวาง ซึ่งจังหวัดสงขลาก็เป็นหนึ่งในพื้นที่ประสบภัยพิบัติจากภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและผลกระทบจากโรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนภายใน ในเขตเทศบาลนครสงขลา เพื่อให้การปฏิบัติงานสอดคล้องกับนโยบายด้านสาธารณสุขของเทศบาลนครสงขลา งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพของประชาชน จึงได้ดำเนินโครงการโต้ตอบภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพ เพื่อการป้องกันควบคุมโรคไม่ให้เกิดการระบาดในวงกว้าง และให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อลดผลกระทบจากการเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ      ด้านสาธารณสุข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเตรียมความพร้อมและดำเนินการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในสถานการณ์ฉุกเฉิน และภัยพิบัติอย่างรวดเร็วตามความต้องการของพื้นที่
  1. สามารถดำเนินการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องทันเวลา
2 2. เพื่อลดอัตราป่วย ภาวะแทรกซ้อนและผลกระทบจากภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพ
  1. ลดภาวะแทรกซ้อนของจำนวนผู้ป่วยจากการเกิดโรค ร้อยละ 80
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อเตรียมความพร้อมและดำเนินการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในสถานการณ์ฉุกเฉิน และภัยพิบัติอย่างรวดเร็วตามความต้องการของพื้นที่

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2. เพื่อลดอัตราป่วย ภาวะแทรกซ้อนและผลกระทบจากภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพ

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 ต.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ 0.00 250,000.00 -
1 ต.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 เฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ 71272.00 250,000.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนภายในเขตเทศบาลมีความรู้เกี่ยวกับโรคและสามารถปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคและภัยทางสุขภาพ
      ได้อย่างถูกต้อง   2. ประชาชนภายในเขตเทศบาลสามารถเตรียมตัวป้องกันภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง   3. อัตราการป่วยด้วยโรคและภัยสุขภาพ ลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2565 15:25 น.