กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคมือ เท้า ปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประจำปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L6961-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
วันที่อนุมัติ 4 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 42,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนัรกีส ยะปา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 363 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กเล็กในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกที่ป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก
10.00
2 ร้อยละของครูผู้ดูแล ผู้ปกครอง และเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก
70.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมือ เท้า ปาก (Hand Foot Mouth Disease) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอไรไวรัส ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในเด็กเล็ก โดยโรคนี้เกิดจากการรับประทานอาหารโดยไม่ล้างมือ การดื่มน้ำ ดูดเลียนิ้วมือ อาการโดยทั่วไป จะมีไข้ เจ็บคอ มีตุ่มพองใสขนาด 1-2 มม. บนฐานจะมีตุ่มสีแดงกระจายอยู่ จะขยายกลายเป็นแผลคล้ายแผลร้อนใน โดยส่วนมากพบที่บริเวณในปาก กระพุ้งแก้ม เหงือก เพดานอ่อน ลิ้นไก่ มือ เท้า ก้น อวัยวะเพศ เข่า ข้อศอกของผู้ป่วย มักเป็นอยู่นาน 4-6 วัน หลังเริ่มมีอาการ และอาจมีอาการชักจากไข้สูงร่วมด้วย เนื่องจากเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมักจะอยู่รวมกันในอาคารเป็นส่วนใหญ่ มีการทำกิจกรรมและการเล่นของเล่นร่วมกัน ส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายของโรคได้ง่ายขึ้น
สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก ในประเทศไทย อ้างอิงข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขพบว่าในปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 20 สิงหาคม 2565 พบผู้ป่วย 35,074 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต พบมากที่สุดในกลุ่มเด็กอายุแรกเกิด - 4 ปี (ร้อยละ 81.85) รองลงมาคืออายุ 5 ปี (ร้อยละ 9.38) และอายุ 6 ปี (ร้อยละ 3.75) ตามลำดับ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ปีพ.ศ.2565 นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2565 พบผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 10 ราย ปีพ.ศ.2564 พบผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 0 ราย และปีพ.ศ.2563 พบผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 39 ราย โดยพบการระบาดเป็นกลุ่มก้อนทั้งในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและในชุมชน ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุขได้แนะนำให้สถานศึกษาปฏิบัติตามมาตรการที่กรมควบคุมโรคกำหนด เพื่อป้องกันการเกิดโรค และการแพร่ระบาดของโรคโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูฝนของทุกปี (พฤษภาคม - ตุลาคม) และยังเป็นช่วงเปิดภาคเรียน จึงเป็นช่วงเวลาที่พบการแพร่ระบาดของโรคเป็นจำนวนมาก
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขอนามัยเด็กจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้ครูผู้ดูแล ผู้ปกครองและเด็กเล็กมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก และลดอัตราการป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ครูผู้ดูแล ผู้ปกครอง และเด็กมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก และร่วมกันป้องกันควบคุมการเกิดโรคมือ เท้า ปากในเด็ก

ร้อยละ 80 ของครูผู้ดูแล ผู้ปกครอง และเด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก

50.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ครูผู้ดูแล ผู้ปกครอง และเด็ก ได้เรียนรู้ขั้นตอน และวิธีการล้างมือที่สะอาด และถูกวิธี

ร้อยละ 80 ของครูผู้ดูแล ผู้ปกครอง และเด็กได้เรียนรู้วิธีการล้างมือและการป้องกันตนเองจากโรคมือ เท้า ปากที่ถูกต้อง

50.00 80.00
3 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก ในเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ร้อยละ 80 จำนวนผู้ป่วยโรคมือเท้าปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กลดลงจากเดิม

10.00 2.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 42,150.00 2 42,150.00
1 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมเสริมทักษะการดูแลตนเองของเด็กเล็กให้ปลอดโรค และกิจกรรม Big Cleaning Day ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 0 15,600.00 15,600.00
16 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก 0 26,550.00 26,550.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ครูผู้ดูแล ผู้ปกครอง และเด็กมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก และร่วมกันป้องกันควบคุมการเกิดโรคมือ เท้า ปากในเด็ก
  2. ครูผู้ดูแล ผู้ปกครอง และเด็ก ได้เรียนรู้ขั้นตอน และวิธีการล้างมือที่สะอาด และถูกวิธี
  3. ลดอัตราการป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก ในเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2565 00:00 น.