กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมป้องกันการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่นเขตตำบลกำแพง

กิจกรรมถอดบทเรียนและวางแผนป้องกันการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่น1 มีนาคม 2566
1
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดกิจกรรม

4.1) ประชุมกลุ่มย่อยระดมความคิด โดยการถอดบทเรียน และการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่น

4.1.1 จัดตั้งคลินิก เพื่อนใจวัยรุ่นประจำโรงเรียน

4.2) กรณีพบเด็กนักเรียนที่มีความเสี่ยง อาการรุนเเรง ส่งต่อเข้ารับการรักษา

งบประมาณ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์จำนวน 143 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 7,150 บาท ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 143 คนๆละ 1 มื้อๆละ 65 บาท เป็นเงิน 9,295 บาท

ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท เป็นเงิน3,600 บาท

ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 2,000 บาท

ค่ายานพาหนะสำหรับผู้เข้าอบรมฯ จำนวน 138 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 13,800 บาท รวม 35,845 บาท

เป้าหมาย จำนวน 143 คน ดังนี้

เด็กนักเรียนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 50 คน บุคลากรทางการศึกษา(ครู) จำนวน 14 คน ผู้ปกครองเด็ก จำนวน 50 คน แกนนำนักเรียน โรงเรียนเป้าหมาย จำนวน 24 คน เจ้าหน้าที่ จำนวน 5 คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • Check in ความรู้สึก ค้นหาตัวตน การรู้จักตนเองและการรู้เท่าทันความคิดและอารมณ์ แล้วเราจะพัฒนาการตระหนักรู้ตนเองได้อย่างไร
  1. การฝึกสติ เช่น นั่งสมาธิ ช่วยให้เรารับรู้ถึงอารมณ์ และความรู้สึกของเราได้เร็วขึ้น เช่น สมัยก่อนเราอาจจะ ด่าคนอื่นไปแล้ว ด่าเสร็จค่อยมารู้สึกแย่ว่าไม่น่าดำเลย พอฝึกสติบ่อยขึ้น ก็จะพัฒนาเป็นอยากด่า แต่ยัง พยายามปิดปากให้สนิท ไม่เผลอดำออกไป จนท้ายที่สุดจะแค่รู้ว่าไม่พอใจ แล้วก็ปล่อยวางได้ แต่หาวิธีการให้ ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ เช่น พูดจูงใจให้เขาทำในสิ่งที่ต้องการแทน
  2. การทบทวนตัวเอง ในทุกๆ วัน ว่าวันนี้ทำอะไรได้ดี อะไรที่ควรปรับเปลี่ยน (ทำเพิ่มขึ้น ทำลดลง หรือหยุด
  3. การถามตนเอง ว่าเรารู้สึกอะไร และเบื้องหลังความรู้สึกนี้ เกิดขึ้นเพราะมีความต้องการอะไร เช่น รู้สึกโกรธ หงุดหงิด ไม่พอใจ เพราะต้องการให้รับฟังเรามากขึ้น เป็นต้น
  4. ฝึกฟังและสังเกต ฟังเสียงตนเองระหว่างที่เราพูด จะช่วยให้เรารับรู้ความรู้สึก และอารมณ์ของเราได้ดียิ่งขึ้น หรือสังเกตคำพูด น้ำเสียง และท่าทางที่คนอื่นแสดงออกขณะที่คุยกับเรา ก็จะช่วยให้เห็นว่าคนอื่นมีปฏิกิริยา อย่างไร ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการแสดงออกของเราเช่นกันค่ะ เช่น สังเกตว่าคนอื่นพูดเสียงดังและน้ำเสียงไม่ พอใจ แล้วสะท้อนกลับมาสำรวจตนเอง พบว่า..เป็นเพราะเราโกรธ เราจึงพูดเสียงดังก่อน เป็นต้น
  5. การเขียนบันทึก เขียนเหตุการณ์ต่างๆ รวมถึงความคิด ความรู้สึกที่เกิดขึ้น การเขียนจะช่วยให้เรารับรู้ ความรู้สึกได้ดีขึ้น ช้าลงและทันกับการเห็นความคิด หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้น ช่วยให้เราได้ระบายออกและยัง สามารถกลับมาอ่านย้อนหลังและดูพัฒนาการของตนเอง
  6. การถาม feedback จากผู้อื่น ถามคนที่เราสนิทอย่างเปีดอกและเปิดใจอยากรู้ อยากฟัง อันนี้อาศัยความใจ กล้าของทั้งคนถามและคนตอบเลยค่ะ เริ่มง่ายๆ ถามจากข้อดี/จุดแข็งก่อน แล้วค่อยถามถึงเรื่องที่ควร ปรับเปลี่ยน ก็จะช่วยให้สบายใจทั้งคนถามและคนตอบ บรรยาย เรื่องการสร้างแรงจูงใจ "การเห็นคุณค่ในตัวเอง (Self.Esteerr) ช่วยป้องกันเราจาก โรคซึมเศร้าได้" ริธีการจัดการกับการเห็นคุณค่าในตัวเองต่ำ แทบทุกอย่างในตัวเราสามารถพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับว่ตัวคุณเองต้องการที่จะเปลี่ยนแปลง ตัวเองมากพอหรือไม่ มาดู 5 วิในการเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพื่อเปลี่ยนคุณให้เป็นคนที่เห็นคุณค่าในตัวเอง ฝึกฝนการพูดคุยกับตัวเองในชิงบวก : แทนที่จะพูดคุยกับตัวเองในเชิงลบ ให้พยายามโฟกัสไปใน สิ่งที่ถนัดและคุณสมบัติเชิงบวกที่คุณมี ตั้งเป้าหมายที่เป็นจริงได้ : แทนที่จะตั้งมาตรฐานความสมบูรณ์แบบให้กับตัวเอง ลองตั้งเป้าหมาย ที่ทำได้และสอดคล้องกับคำนิยมของคุณดู ขอการสนับสนุนและคำแนะนำ : การขอความช่วยเหลือและคำแนะนำจากบุคคลที่เชื่อถือได้ อาจจะเป็นประโยชน์ในการเพิ่มการเห็นคุณค่าในตัวเองให้มากขึ้น เช่น นักบำบัด เพื่อน หรือ สมาชิกในครอบครัวที่ให้การสนับสนุน ดูแลตัวเอง : การดูแลสุขภาพร่างกาย อารมณ์ และจิตใจสามารถช่วยเพิ่มการเห็นคุณค่ในตัวเอง ฝึกฝนที่จะขอบคุณสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต : โฟกัสกับสิ่งที่คุณรู้สึกขอบคุณสามารถช่วยเปลี่ยนความ สนใจของคุณออกจากความคิดเชิงลบและไปสู่การมองโลกในแง่บวกมากขึ้น บรรยายและฝึกทักษะการเพิ่มพลังชีวิตให้มีความสุข ตั้งสติ ใช้ปัญญา รู้จักแก้ไข ให้เป็นบวก
  7. เราสามารถสร้างพลังบวกได้ตั้งแต่ร่งกายของเรา นั่นคือ การกินอาหารที่ดี ออกกำลังกายก็สามาร ช่วยให้ร่างกายเราแข็งแรง ไม่เป็นโรค นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ร่างกายก็เหมือนเครื่องจักรที่ต้องมีการ ชาร์จแบตเตอรี่ เพื่อให้พร้อมกับการทำงานและการใช้ชีวิต
  8. ในแง่ของอารมณ์ ความรู้สึก นึกคิด เราควรมีความเมตตาต่อคนอื่น และตัวเองด้วย ไม่พยายามคิดร้าย หรือว่าร้ายคนอื่น ที่กล่าวมานี้เป็นพลังงานลบทั้งสิ้น การฝึกสมาธิก็ช่วยให้สภาวะอารมณ์ของเรามั่นคง จิตใจ แจ่มใสตลอดเวลา ทั้งนี้เราไม่จำเป็นต้องเป็นการนั่งสมาธิตลอด แต่เป็นการดูลมหายใจ หรือมีสติ รู้ตัวอยู่ ตลอดเวลา รับรู้อารมณ์ของเราด้วยว่าตอนนี้เรารู้สึกอย่างไร แล้วมองว่าเดี๋ยวมันก็ผ่านไป แค่นั้นเอง หรือหาทำ กิจกรรมที่สร้างพลังให้ตนเอง เช่น งานอดิเรกที่ชอบ งานช่วยเหลือสังคมหรือจิตอาสา เป็นต้น
  9. บางทีการที่เราออกเดินทาง ท่องเที่ยว เพื่อให้ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และได้ประสบการณ์ชีวิตมากขึ้น พลัง ของธรรมชาติก็มีส่วนช่วยให้คนเรารู้สึกดีขึ้น หรืออยู่กับสัตว์เลี้ยง ฟังเพลงที่ชอบ สิ่งเหล่านี้ก็ช่วยเติมเต็มชีวิต เราได้
  10. เราควรรู้จักชอบคุณในสิ่งที่เราเจอไม่ว่าจะดีหรือร้าย พยายามหาข้อดีจากสิ่งเหล่านั้นให้เจอ เช่น โชคดี ที่มีข้าวกิน โชคดีที่มีงานทำ หรือโชคดีที่มีครอบครัวที่น่ารัก เป็นต้น 19
  11. เราต้องเชื่อมั่นในตนเอง แต่ไม่ใช่มั่นใจในตัวเองนส่งผลเสียตามมา คือการที่เราทำโตยไม่มีแบบแผน และไม่ปรึกษาใคร มันน้อยมาก หรือแทบไม่มีเลยที่คนเราจะสำเร็จโดยที่ไม่วางแผน และควรรับฟังคนอื่นที่หวั ดีกับเราบ้างเพื่อให้เราได้มีไอเดียเพิ่มเดิม ถ้ามเหลวหรือผลที่ตามมามันไม่เวิร์ต เราพร้อมที่จะยอมรับมันแล้วสู้ ใหม่ แต่ไม่มีวันท้อถอย
  12. สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการสร้างพลังบวกก็คือ การเปิดใจให้กว้าง เมื่อคุณพร้อมเปิดใจที่จะเรียนรู้ นี่ก็ ทำให้คุณกลายคนที่มีพลังบวกแล้ว และอีกอย่างคือ การรู้จักรักตัวเองให้เป็น เห็นคุณค่าตนเอง และให้อภัย วเอง เมื่อเจอผลลัพแผ่ ก็พร้อมที่จะรับมือ แก้ข และเติบโต ไม่นั่งโทษตัวเองจนไม่ทำ ถอดบทเรียนและวางแผนป้องกันการแก้ปัญหาโรคซึมเศร้าและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ในเต็กและวัยรุ่น ผลลัพธ์เชิงปริมาณ แกนนำสุขภาพจิตของโรงเรียนเป้าหมายและนักเรียนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 143 คน คิดเป็น 100 % ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ ผลการประเมินก่อน และหลังการอบรม พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริม ป้องกันการแก้ปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเต็กและวัยรุ่นสูงขึ้น จากระดับ คะแนนเฉลี่ยก่อนการอบรมอยู่ที่ร้อยละ 68.40 และเพิ่มสูงขึ้นหลังการอบรมอยู่ที่ร้อยละ 73.20