กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมป้องกันการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่นเขตตำบลกำแพง

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมป้องกันการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่นเขตตำบลกำแพง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติดโรงพยาบาลละงู

1.น.ส.นรีรัตน์ หมันเส็น ผู้ประสานคนที่ 1
2. น.ส.หทัยชนก ถิ่นแก้ว ผู้ประสานคนที่ 2
3.น.ส.วิญญู หิมมา
4.น.ส.ธนวรรณ รอดขำ
5.น.ส.สุภาพรรณปาละสัน

พื้นที่ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่น ในเขตตำบลกำแพง ที่มีปัญหาโรคซึมเศร้าและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย

 

26.39

เด็กและวัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ทำให้วัยรุ่นเป็นวัยที่พบโรคความผิดปกติทางอารมณ์ได้บ่อย โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่มีสาเหตุซับซ้อน เช่น ปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยชีวภาพของสมอง ปัจจัยทางจิตสังคมและปัจจัยทางบุคลิกภาพที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในการคิด การตัดสินใจ และอาจนำมาซึ่งพฤติกรรมเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของวัยรุ่นในประเทศไทย หลายครั้งวัยรุ่นที่มีโรคซึมเศร้าอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการทางกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้องเรื้อรัง หรืออาจมาด้วยผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะโรคซึมเศร้า เช่น ปัญหาการเรียน ปัญหาความสัมพันธ์กับคนรอบข้างปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ จากสถิติพบว่าโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตประเมินสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นไทยอายุต่ำกว่า 20 ปีกว่า 1.8 แสนราย ผ่านแอปพลิเคชัน Mental Health Check-in ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563-30 กันยายน 2564 พบว่าวัยรุ่นมีความเครียดสูง 28% เสี่ยงซึมเศร้า 32% เสี่ยงฆ่าตัวตาย 22% ข้อมูลปี 2564 องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทยระบุว่าปัจจุบัน 1 ใน 7 คนของประชากรโลกได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ ในขณะที่เด็กอีกมากกว่า 1,600 ล้านคนต้องเผชิญกับการเรียนรู้ที่หยุดชะงักลง และอาจจะต้องเผชิญกับผลกระทบด้านสุขภาพจิตต่อไปอีกหลายปีและจากการประเมินพบว่า เด็กอายุ 10-19 ปี กว่า 1 ใน 7 คนทั่วโลกมีความป่วยทางจิตที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ และวัยรุ่นเกือบ 46,000 คนเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็น 1 ใน 5 สาเหตุหลักของการเสียชีวิตในวัยรุ่นในประเทศไทยและที่น่าเป็นห่วงคือเป็นต้นเหตุให้วัยรุ่นฆ่าตัวตายเพิ่มสูงขึ้น

จากข้อมูลงานสุขภาพจิต โรงพยาบาลละงูมีจำนวนเด็กและวัยรุ่นในที่เข้ารับการรักษาโรคซึมเศร้า ที่มีพฤติกรรมทำร้ายตัวเองและมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย รวมถึงพยายามฆ่าตัวตายซ้ำจากข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง พบว่าในปี 2563 จำนวน 33 รายปี 2564 จำนวน 41 รายและในปี 2565 จำนวน 72 ราย ตามลำดับ ในจำนวนดังกล่าวที่มีภูมิลำเนาในตำบลกำแพง มีจำนวน 15, 11และ 19 รายตามลำดับ จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า กลุ่มเสี่ยงคือเด็กและวัยรุ่นที่อยู่ในช่วงวัยเรียน ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 9-20 ปีปัจจัยกระตุ้นสำคัญให้ลงมือทำร้ายตนเอง ได้แก่ปัญหาเรื่องสัมพันธ์ภาพในภายในครอบครัว ปัญหาเรื่องเพื่อน เรื่องการเรียน ได้แก่ กินยาเกินขนาด ,ใช้ของมีคม ของแข็ง ซึ่งโรงพยาบาลละงูมีจำนวนเด็กและวัยรุ่นที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และมีกลุ่มเสี่ยงต่อการจะเป็นโรคซึมเศร้าที่ไม่ได้เข้าถึงบริการมากขึ้นทุก ๆ ปี แต่เรากลับมีความรู้ความเข้าใจต่อวิธีการรับมือ การให้คำแนะนำและการให้คำปรึกษาที่น้อยมาก

จากสถานการณ์ดังกล่าว งานสุขภาพจิต โรงพยาบาลละงูได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัด “โครงการส่งเสริมป้องกันการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่น เขตตำบลกำแพง”ขึ้นเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพและทันท่วงที เปลี่ยนทัศนคติเชิงลบผ่านการพูดคุย การลดการตีตรา และการสร้างเสริมความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าให้แก่เด็ก วัยรุ่น รวมถึงพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูและสังคมโดยรวม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างแกนนำสุขภาพจิต ให้มีความรู้ความเข้าใจใน การคัดกรองภาวะซึมเศร้าในเด็กและวัยรุ่น และการให้คำปรึกษาเบื้องต้น
  1. แกนนำสุขภาพจิต มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่นเพิ่มขึ้น สามารถให้การช่วยเหลือ แนะนำ และส่งต่อผู้ป่วยได้รับการรักษา ร้อยละ 80
60.00 80.00
2 เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงในเด็กและวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้าและมีพฤติกรรมเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย ได้รับการดูแลช่วยเหลือเบื้องต้น โดยบุคลากรทางการศึกษา(ครู)ผู้ปกครองและแกนนำนักเรียน
  1. อัตราการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นที่มีปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่น ร้อยละ 80

  2. อัตราของผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นที่มีปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่นลดลง ร้อยละ 80

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
บุคลากรทางการศึกษา(คุณครู) โรงเรียนละ 2 คน 14
เจ้าหน้าที่ 5

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 08/11/2022

กำหนดเสร็จ 31/12/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมคณะทำงานเครือข่ายสุขภาพจิตในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมคณะทำงานเครือข่ายสุขภาพจิตในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1.1 ประชุมวางแผนการดำเนินงาน ระหว่างครู และเจ้าหน้าที่ จำนวน 1 ครั้ง

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 19 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ25 บาท เป็นเงิน 475 บาท

    เป้าหมาย

  • เจ้าหน้าที่ จำนวน 5 คน

  • บุคลากรทางการศึกษา (ครู) โรงเรียนละ 2 คนรวม 14 คน ดังนี้

  1. โรงเรียนไสใหญ่จำนวน 2 คน

2.โรงเรียนท่าแลหลาจำนวน 2 คน

3.โรงเรียนนิด้าศึกษาศาสตร์ จำนวน 2 คน

4.โรงเรียนบ้านโกตา จำนวน 2 คน

5.โรงเรียนบ้านอุไร จำนวน 2 คน

6.โรงเรียนบ้านตูแตหรำ จำนวน 2 คน

7.โรงเรียนกำแพงวิทยา จำนวน 2 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 31 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
475.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมป้องกันการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่น(หลักสูตร 2 วัน)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมป้องกันการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่น(หลักสูตร 2 วัน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 2.1 จัดอบรมให้ความรู้แก่ครู ผู้ปกครอง และแกนนำโรงเรียน หลักสูตร 1 วัน

  • ให้ความรู้และแนวทางในการป้องกันการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่นแก่ครู ผู้ปกรองและแกนนำนักเรียน

  • ให้ความรู้และทักษะในการให้คำแนะนำ การให้คำปรึกษาเบื้องต้น และการช่วยเหลือเบื้องต้น แก่ครูผู้ปกครองและแกนนำนักเรียน

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์จำนวน 93 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 4,650 บาท

  • ค่าอาหารกลางวันจำนวน 93 คนๆละ 1 มื้อๆละ65 บาท เป็นเงิน 6,045 บาท

  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ(กิจกรรมอบรมฯ) 1 ผืน ขนาด 1.5x3 เมตร เป็นเงิน 675 บาท

  • ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท

  • ค่าวัสดุ เครื่องเขียน และอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 2,125 บาท

  • ค่ายานพาหนะสำหรับผู้เข้าอบรม ฯ จำนวน 88 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 8,800 บาท
    รวมเป็นเงิน 25,895 บาท

เป้าหมาย จำนวน 88 คน ดังนี้

  • บุคลากรทางการศึกษา(ครู)จำนวน 14 คน
  • ผู้ปกครองเด็ก จำนวน 50 คน
  • แกนนำนักเรียน โรงเรียนเป้าหมาย 24 คน ดังนี้
  1. โรงเรียนไสใหญ่จำนวน 3 คน

2.โรงเรียนท่าแลหลาจำนวน 6 คน

3.โรงเรียนนิด้าศึกษาศาสตร์จำนวน 3 คน

4.โรงเรียนบ้านโกตาจำนวน 3 คน

5.โรงเรียนบ้านอุไร จำนวน 3 คน

6.โรงเรียนบ้านตูแตหรำ จำนวน 3 คน

7.โรงเรียนกำแพงวิทยา จำนวน 3 คน

กำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมป้องกันการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่น ณ ห้องประชุมพฤษชาติ โรงพยาบาลละงู อ.ละงูจ.สตูล วันที่........เดือน........................ พ.ศ.2566

08.30-09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าอบรมและทำแบบทดสอบก่อนการเข้าอบรม คณะผู้จัดการอบรม

09.00-09.15 น. พิธีเปิด คณะผู้จัดการอบรม

09.15-10.30 น. พัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็กและวัยรุ่น ทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญาทีมวิทยากรจากโรงพยาบาลสตูล

10.30-10.45 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม คณะผู้จัดการอบรม

10.45-12.00 น. ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เด็กมีปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ทีมวิทยากรจากโรงพยาบาลสตูล

12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวันคณะผู้จัดการอบรม

13.00-14.00 น. ทักษะการปรึกษาเชิงจิตวิทยาเริ่มต้นเรียนรู้การคลายทุกข์ในโรงเรียนด้วยการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ทีมวิทยากรจากโรงพยาบาลสตูล

14.00-15.00 น. แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการให้คำปรึกษาเบื้องต้น วิเคราะห์ตัวอย่างตามประเด็นที่กำหนด ทีมวิทยากรจากโรงพยาบาลสตูล

15.00-16.00 น. แนวทางการเฝ้าระวัง และการดูแลช่วยเหลือเด็กมีปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ทีมวิทยากรจากโรงพยาบาลสตูล

16.00-16.30 น. อภิปราย ซักถามปัญหา ทำแบบทดสอบหลังอบรม ทีมวิทยากรจากโรงพยาบาลสตูล

2.2 ประเมินความรู้ผู้เข้าร่วมอบรบก่อนและหลัง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25895.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมค้นหาเด็กและวัยรุ่นกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมค้นหาเด็กและวัยรุ่นกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

3.1 ค้นหากลุ่มเสี่ยงของโรงเรียนเป้าหมาย ที่มีปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายโดยใช้โดยแบบประเมินภาวะซึมเศร้าในเด็กและวัยรุ่น

3.2 นำข้อมูลที่ได้ไปประเมินและวิเคราะห์ เพื่อใช้ในการป้องกันและวางแผนการดำเนินการแก้ไขปัญหาในอนาคต

งบประมาณ
- แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในเด็กอายุ 2-15 ปี จำนวน 700 ชุด ชุดละ 3 บาท(จำนวน 3 แผ่น) เป็นเงิน 2,100 บาท
- แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นอายุ 11-20 ปี จำนวน 500 ชุดชุดละ 2 บาท (จำนวน 2 แผ่น) เป็นเงิน 1,000 บาท

รวมเป็นเงิน 3,100 บาท

เป้าหมาย
- นักเรียนของโรงเรียนเป้าหมาย จำนวน 1,130 คน ดังนี้

  1. โรงเรียนไสใหญ่ 80 คน

2.โรงเรียนท่าแลหลา 150 คน

3.โรงเรียนนิด้าศึกษาศาสตร์600 คน

4.โรงเรียนบ้านโกตา 50 คน

5.โรงเรียนบ้านอุไร50 คน

6.โรงเรียนบ้านตูแตหรำ 50 คน

7.โรงเรียนกำแพงวิทยา 150 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3100.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมถอดบทเรียนและวางแผนป้องกันการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่น

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมถอดบทเรียนและวางแผนป้องกันการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

4.1) ประชุมกลุ่มย่อยระดมความคิด โดยการถอดบทเรียน และการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่น

4.1.1 จัดตั้งคลินิก เพื่อนใจวัยรุ่นประจำโรงเรียน

4.2) กรณีพบเด็กนักเรียนที่มีความเสี่ยง อาการรุนเเรง ส่งต่อเข้ารับการรักษา

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์จำนวน 143 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 7,150 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 143 คนๆละ 1 มื้อๆละ 65 บาท เป็นเงิน 9,295 บาท

  • ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท เป็นเงิน3,600 บาท

  • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 2,000 บาท

  • ค่ายานพาหนะสำหรับผู้เข้าอบรมฯ จำนวน 138 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 13,800 บาท
    รวม 35,845 บาท

เป้าหมาย จำนวน 143 คน ดังนี้

  • เด็กนักเรียนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 50 คน
  • บุคลากรทางการศึกษา(ครู) จำนวน 14 คน
  • ผู้ปกครองเด็ก จำนวน 50 คน
  • แกนนำนักเรียน โรงเรียนเป้าหมาย จำนวน 24 คน
  • เจ้าหน้าที่ จำนวน 5 คน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 22 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35845.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมติดตามผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ลงพื้นที่เยี่ยมโรงเรียนเป้าหมายในเขตตำบลกำแพง จำนวน 7 โรงเรียน
2.ติดตามการดำเนินงานคลินิก เพื่อนใจวัยรุ่น

เป้าหมาย

  • แกนนำนักเรียน โรงเรียนเป้าหมาย จำนวน 24 คน
  • เจ้าหน้าที่ จำนวน 5 คน

งบประมาณ
ไม่ขอใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 การจัดทำรายงานโครงการและการนำเสนอโครงการ

ชื่อกิจกรรม
การจัดทำรายงานโครงการและการนำเสนอโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
6.1 รายงานผลและนำเสนอโครงการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

6.2 จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง

งบประมาณ
- ค่าจัดทำรูปเล่มเมื่องานเสร็จสิ้นจำนวน 4 เล่มๆละ 250 เป็นเงิน 1,000 บาท
รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 66,315.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายในทุกๆกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.แกนนำสุขภาพจิต มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่นเพิ่มขึ้น สามารถให้การช่วยเหลือ แนะนำ และส่งต่อได้
2.อัตราการเข้าถึงบริการของเด็กและวัยรุ่นที่มีปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย เขตตำบลกำแพงมีจำนวนเพิ่มขึ้น


>