กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการส่งเสริมป้องกันการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่นเขตตำบลกำแพง
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติดโรงพยาบาลละงู
กลุ่มคน
1.น.ส.นรีรัตน์ หมันเส็น ผู้ประสานคนที่ 1
2. น.ส.หทัยชนก ถิ่นแก้ว ผู้ประสานคนที่ 2
3.น.ส.วิญญู หิมมา
4.น.ส.ธนวรรณ รอดขำ
5.น.ส.สุภาพรรณปาละสัน
3.
หลักการและเหตุผล

เด็กและวัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ทำให้วัยรุ่นเป็นวัยที่พบโรคความผิดปกติทางอารมณ์ได้บ่อย โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่มีสาเหตุซับซ้อน เช่น ปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยชีวภาพของสมอง ปัจจัยทางจิตสังคมและปัจจัยทางบุคลิกภาพที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในการคิด การตัดสินใจ และอาจนำมาซึ่งพฤติกรรมเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ ของวัยรุ่นในประเทศไทย หลายครั้งวัยรุ่นที่มีโรคซึมเศร้าอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการทางกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้องเรื้อรัง หรืออาจมาด้วยผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะโรคซึมเศร้า เช่น ปัญหาการเรียน ปัญหาความสัมพันธ์กับคนรอบข้างปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ จากสถิติพบว่าโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตประเมินสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นไทยอายุต่ำกว่า 20 ปีกว่า 1.8 แสนราย ผ่านแอปพลิเคชัน Mental Health Check-in ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563-30 กันยายน 2564 พบว่าวัยรุ่นมีความเครียดสูง 28% เสี่ยงซึมเศร้า 32% เสี่ยงฆ่าตัวตาย 22% ข้อมูลปี 2564 องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทยระบุว่าปัจจุบัน 1 ใน 7 คนของประชากรโลกได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ ในขณะที่เด็กอีกมากกว่า 1,600 ล้านคนต้องเผชิญกับการเรียนรู้ที่หยุดชะงักลง และอาจจะต้องเผชิญกับผลกระทบด้านสุขภาพจิตต่อไปอีกหลายปีและจากการประเมินพบว่า เด็กอายุ 10-19 ปี กว่า 1 ใน 7 คนทั่วโลกมีความป่วยทางจิตที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ และวัยรุ่นเกือบ 46,000 คนเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็น 1 ใน 5 สาเหตุหลักของการเสียชีวิตในวัยรุ่นในประเทศไทยและที่น่าเป็นห่วงคือเป็นต้นเหตุให้วัยรุ่นฆ่าตัวตายเพิ่มสูงขึ้น

จากข้อมูลงานสุขภาพจิต โรงพยาบาลละงูมีจำนวนเด็กและวัยรุ่นในที่เข้ารับการรักษาโรคซึมเศร้า ที่มีพฤติกรรมทำร้ายตัวเองและมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย รวมถึงพยายามฆ่าตัวตายซ้ำจากข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง พบว่าในปี 2563 จำนวน 33 รายปี 2564 จำนวน 41 รายและในปี 2565 จำนวน 72 ราย ตามลำดับ ในจำนวนดังกล่าวที่มีภูมิลำเนาในตำบลกำแพง มีจำนวน 15, 11และ 19 รายตามลำดับ จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า กลุ่มเสี่ยงคือเด็กและวัยรุ่นที่อยู่ในช่วงวัยเรียน ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 9-20 ปีปัจจัยกระตุ้นสำคัญให้ลงมือทำร้ายตนเอง ได้แก่ปัญหาเรื่องสัมพันธ์ภาพในภายในครอบครัว ปัญหาเรื่องเพื่อน เรื่องการเรียน ได้แก่ กินยาเกินขนาด ,ใช้ของมีคม ของแข็ง ซึ่งโรงพยาบาลละงูมีจำนวนเด็กและวัยรุ่นที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า และมีกลุ่มเสี่ยงต่อการจะเป็นโรคซึมเศร้าที่ไม่ได้เข้าถึงบริการมากขึ้นทุก ๆ ปี แต่เรากลับมีความรู้ความเข้าใจต่อวิธีการรับมือ การให้คำแนะนำและการให้คำปรึกษาที่น้อยมาก

จากสถานการณ์ดังกล่าว งานสุขภาพจิต โรงพยาบาลละงูได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัด “โครงการส่งเสริมป้องกันการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่น เขตตำบลกำแพง”ขึ้นเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพและทันท่วงที เปลี่ยนทัศนคติเชิงลบผ่านการพูดคุย การลดการตีตรา และการสร้างเสริมความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าให้แก่เด็ก วัยรุ่น รวมถึงพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูและสังคมโดยรวม

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อสร้างแกนนำสุขภาพจิต ให้มีความรู้ความเข้าใจใน การคัดกรองภาวะซึมเศร้าในเด็กและวัยรุ่น และการให้คำปรึกษาเบื้องต้น
    ตัวชี้วัด : 1. แกนนำสุขภาพจิต มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่นเพิ่มขึ้น สามารถให้การช่วยเหลือ แนะนำ และส่งต่อผู้ป่วยได้รับการรักษา ร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา 60.00 เป้าหมาย 80.00
  • 2. เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงในเด็กและวัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้าและมีพฤติกรรมเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย ได้รับการดูแลช่วยเหลือเบื้องต้น โดยบุคลากรทางการศึกษา(ครู)ผู้ปกครองและแกนนำนักเรียน
    ตัวชี้วัด : 1. อัตราการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นที่มีปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่น ร้อยละ 80 2. อัตราของผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นที่มีปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่นลดลง ร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 80.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. กิจกรรมประชุมคณะทำงานเครือข่ายสุขภาพจิตในพื้นที่
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม
    1.1 ประชุมวางแผนการดำเนินงาน ระหว่างครู และเจ้าหน้าที่ จำนวน 1 ครั้ง

    งบประมาณ

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 19 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ25 บาท เป็นเงิน 475 บาท

      เป้าหมาย

    • เจ้าหน้าที่ จำนวน 5 คน

    • บุคลากรทางการศึกษา (ครู) โรงเรียนละ 2 คนรวม 14 คน ดังนี้

    1. โรงเรียนไสใหญ่จำนวน 2 คน

    2.โรงเรียนท่าแลหลาจำนวน 2 คน

    3.โรงเรียนนิด้าศึกษาศาสตร์ จำนวน 2 คน

    4.โรงเรียนบ้านโกตา จำนวน 2 คน

    5.โรงเรียนบ้านอุไร จำนวน 2 คน

    6.โรงเรียนบ้านตูแตหรำ จำนวน 2 คน

    7.โรงเรียนกำแพงวิทยา จำนวน 2 คน

    งบประมาณ 475.00 บาท
  • 2. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมป้องกันการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่น(หลักสูตร 2 วัน)
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม 2.1 จัดอบรมให้ความรู้แก่ครู ผู้ปกครอง และแกนนำโรงเรียน หลักสูตร 1 วัน

    • ให้ความรู้และแนวทางในการป้องกันการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่นแก่ครู ผู้ปกรองและแกนนำนักเรียน

    • ให้ความรู้และทักษะในการให้คำแนะนำ การให้คำปรึกษาเบื้องต้น และการช่วยเหลือเบื้องต้น แก่ครูผู้ปกครองและแกนนำนักเรียน

    งบประมาณ

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์จำนวน 93 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 4,650 บาท

    • ค่าอาหารกลางวันจำนวน 93 คนๆละ 1 มื้อๆละ65 บาท เป็นเงิน 6,045 บาท

    • ค่าป้ายไวนิลโครงการ(กิจกรรมอบรมฯ) 1 ผืน ขนาด 1.5x3 เมตร เป็นเงิน 675 บาท

    • ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท

    • ค่าวัสดุ เครื่องเขียน และอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 2,125 บาท

    • ค่ายานพาหนะสำหรับผู้เข้าอบรม ฯ จำนวน 88 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 8,800 บาท
      รวมเป็นเงิน 25,895 บาท

    เป้าหมาย จำนวน 88 คน ดังนี้

    • บุคลากรทางการศึกษา(ครู)จำนวน 14 คน
    • ผู้ปกครองเด็ก จำนวน 50 คน
    • แกนนำนักเรียน โรงเรียนเป้าหมาย 24 คน ดังนี้
    1. โรงเรียนไสใหญ่จำนวน 3 คน

    2.โรงเรียนท่าแลหลาจำนวน 6 คน

    3.โรงเรียนนิด้าศึกษาศาสตร์จำนวน 3 คน

    4.โรงเรียนบ้านโกตาจำนวน 3 คน

    5.โรงเรียนบ้านอุไร จำนวน 3 คน

    6.โรงเรียนบ้านตูแตหรำ จำนวน 3 คน

    7.โรงเรียนกำแพงวิทยา จำนวน 3 คน

    กำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมป้องกันการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่น ณ ห้องประชุมพฤษชาติ โรงพยาบาลละงู อ.ละงูจ.สตูล วันที่........เดือน........................ พ.ศ.2566

    08.30-09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าอบรมและทำแบบทดสอบก่อนการเข้าอบรม คณะผู้จัดการอบรม

    09.00-09.15 น. พิธีเปิด คณะผู้จัดการอบรม

    09.15-10.30 น. พัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็กและวัยรุ่น ทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญาทีมวิทยากรจากโรงพยาบาลสตูล

    10.30-10.45 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม คณะผู้จัดการอบรม

    10.45-12.00 น. ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เด็กมีปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ทีมวิทยากรจากโรงพยาบาลสตูล

    12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวันคณะผู้จัดการอบรม

    13.00-14.00 น. ทักษะการปรึกษาเชิงจิตวิทยาเริ่มต้นเรียนรู้การคลายทุกข์ในโรงเรียนด้วยการปรึกษาเชิงจิตวิทยา ทีมวิทยากรจากโรงพยาบาลสตูล

    14.00-15.00 น. แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการให้คำปรึกษาเบื้องต้น วิเคราะห์ตัวอย่างตามประเด็นที่กำหนด ทีมวิทยากรจากโรงพยาบาลสตูล

    15.00-16.00 น. แนวทางการเฝ้าระวัง และการดูแลช่วยเหลือเด็กมีปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ทีมวิทยากรจากโรงพยาบาลสตูล

    16.00-16.30 น. อภิปราย ซักถามปัญหา ทำแบบทดสอบหลังอบรม ทีมวิทยากรจากโรงพยาบาลสตูล

    2.2 ประเมินความรู้ผู้เข้าร่วมอบรบก่อนและหลัง

    งบประมาณ 25,895.00 บาท
  • 3. กิจกรรมค้นหาเด็กและวัยรุ่นกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    3.1 ค้นหากลุ่มเสี่ยงของโรงเรียนเป้าหมาย ที่มีปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายโดยใช้โดยแบบประเมินภาวะซึมเศร้าในเด็กและวัยรุ่น

    3.2 นำข้อมูลที่ได้ไปประเมินและวิเคราะห์ เพื่อใช้ในการป้องกันและวางแผนการดำเนินการแก้ไขปัญหาในอนาคต

    งบประมาณ
    - แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในเด็กอายุ 2-15 ปี จำนวน 700 ชุด ชุดละ 3 บาท(จำนวน 3 แผ่น) เป็นเงิน 2,100 บาท
    - แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นอายุ 11-20 ปี จำนวน 500 ชุดชุดละ 2 บาท (จำนวน 2 แผ่น) เป็นเงิน 1,000 บาท

    รวมเป็นเงิน 3,100 บาท

    เป้าหมาย
    - นักเรียนของโรงเรียนเป้าหมาย จำนวน 1,130 คน ดังนี้

    1. โรงเรียนไสใหญ่ 80 คน

    2.โรงเรียนท่าแลหลา 150 คน

    3.โรงเรียนนิด้าศึกษาศาสตร์600 คน

    4.โรงเรียนบ้านโกตา 50 คน

    5.โรงเรียนบ้านอุไร50 คน

    6.โรงเรียนบ้านตูแตหรำ 50 คน

    7.โรงเรียนกำแพงวิทยา 150 คน

    งบประมาณ 3,100.00 บาท
  • 4. กิจกรรมถอดบทเรียนและวางแผนป้องกันการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่น
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    4.1) ประชุมกลุ่มย่อยระดมความคิด โดยการถอดบทเรียน และการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่น

    4.1.1 จัดตั้งคลินิก เพื่อนใจวัยรุ่นประจำโรงเรียน

    4.2) กรณีพบเด็กนักเรียนที่มีความเสี่ยง อาการรุนเเรง ส่งต่อเข้ารับการรักษา

    งบประมาณ

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์จำนวน 143 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 7,150 บาท
    • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 143 คนๆละ 1 มื้อๆละ 65 บาท เป็นเงิน 9,295 บาท

    • ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท เป็นเงิน3,600 บาท

    • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 2,000 บาท

    • ค่ายานพาหนะสำหรับผู้เข้าอบรมฯ จำนวน 138 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 13,800 บาท
      รวม 35,845 บาท

    เป้าหมาย จำนวน 143 คน ดังนี้

    • เด็กนักเรียนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 50 คน
    • บุคลากรทางการศึกษา(ครู) จำนวน 14 คน
    • ผู้ปกครองเด็ก จำนวน 50 คน
    • แกนนำนักเรียน โรงเรียนเป้าหมาย จำนวน 24 คน
    • เจ้าหน้าที่ จำนวน 5 คน
    งบประมาณ 35,845.00 บาท
  • 5. กิจกรรมติดตามผลการดำเนินงาน
    รายละเอียด

    1.ลงพื้นที่เยี่ยมโรงเรียนเป้าหมายในเขตตำบลกำแพง จำนวน 7 โรงเรียน
    2.ติดตามการดำเนินงานคลินิก เพื่อนใจวัยรุ่น

    เป้าหมาย

    • แกนนำนักเรียน โรงเรียนเป้าหมาย จำนวน 24 คน
    • เจ้าหน้าที่ จำนวน 5 คน

    งบประมาณ
    ไม่ขอใช้งบประมาณ

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 6. การจัดทำรายงานโครงการและการนำเสนอโครงการ
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม
    6.1 รายงานผลและนำเสนอโครงการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

    6.2 จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง

    งบประมาณ
    - ค่าจัดทำรูปเล่มเมื่องานเสร็จสิ้นจำนวน 4 เล่มๆละ 250 เป็นเงิน 1,000 บาท
    รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

    งบประมาณ 1,000.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2566

8.
สถานที่ดำเนินการ

พื้นที่ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 66,315.00 บาท

หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายในทุกๆกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

1.แกนนำสุขภาพจิต มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันการแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่นเพิ่มขึ้น สามารถให้การช่วยเหลือ แนะนำ และส่งต่อได้
2.อัตราการเข้าถึงบริการของเด็กและวัยรุ่นที่มีปัญหาโรคซึมเศร้า และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย เขตตำบลกำแพงมีจำนวนเพิ่มขึ้น

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 66,315.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................