กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L6961-3-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักการศึกษาเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
วันที่อนุมัติ 31 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 35,680.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกรรธิมา ศรีรุ่งเรือง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กในช่วงแรกเกิด-5 ขวบ ถือเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกายสติปัญญา อารมณ์ จิตใจและสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม ก็จะส่งผลถึงสุขภาพดีไม่เจ็บป่วย ซึ่งการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง เหมาะสม และเพียงพอจะทำให้มีภาวะโภชนาการที่ดีและนำไปสู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหารหรือถ้ามีการรับประทานอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วนหรือภาวะโภชนาการเกิน โภชนาการเป็นเรื่องของการกินอาหาร ที่ร่างกายนำสารอาหารจากอาหารไปใช้ประโยชน์ และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพโดยเฉพาะในเด็กวัยก่อนเรียนซึ่งเป็นวัยรากฐานของการพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจอารมณ์ สังคมสติปัญญา
ปัญหาโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้คือ ภาวะการเจริญเติบโตที่ไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขา่ดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงดูด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กก่อนวัยเรียน และเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข เฝ้าระวังติดตามอย่างต่อเนื่องและต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองจึงจะสำเร็จ หากถ้าครูผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองละเลยไม่ได้หาแนวทางแก้ไขก็จะกลายเป็นปัญหาระยะยาวต่อไป ทางสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 4 ศูนย์ ได้แก่ ศพด.เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ศพด.วัดโก-ลกเทพวิมล ศพด.มัสยิดอัลอามีน ศพด.มัสยิดอะห์มาดียะห์ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังการเกิดภาวะโภชนาการในเด็กเล็กและก่อนวัยเรียนเพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาุะสมวัยจึงได้จัดโครงการส่งเสริมและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประจำปี 2566 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองเด็ก เฝ้าระวังการเกิดภาวะโภชนาการการขาดสารอาหารในเด็ก

ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองเด็ก เฝ้าระวังการเกิดภาวะโภชนาการการขาดสารอาหารในเด็ก ร้อยละ 80

50.00 80.00
2 เพื่อให้ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจและจัดอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาแก่เด็ก

ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองเด็ก มีความรู้ความเข้าใจและจัดอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาแก่เด็ก ร้อยละ 80

50.00 80.00
3 เพื่อให้ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองเด็ก มีความรู้และมีส่วนร่วมในการป้องกันภาวะทุพโภชนาการ เด็กได้รับการได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง

ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองเด็ก มีความรู้และมีส่วนร่วมในการป้องกันภาวะทุพโภชนาการได้ ร้อยละ 80

50.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มิ.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้ส่งเสริมพัฒนาการและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียน 0 35,680.00 35,680.00
รวม 0 35,680.00 1 35,680.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองเด็ก มีการเฝ้าระวังการเกิดภาวะโภชนาการการขาดสารอาหารในเด็ก
  2. ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองเด็ก มีความรู้ความเข้าใจและจัดอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาแก่เด็ก
  3. ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองเด็ก มีความรู้และมีส่วนร่วมในการป้องกันภาวะทุพโภชนาการ เด็กได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2565 00:00 น.