กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกรชุมชนบ้านต้นปรง
รหัสโครงการ 2566-L3311-2-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.หมู่ที่ 10 บ้านต้นปรง
วันที่อนุมัติ 28 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 6,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรม อสม.หมู่ที่ 10 บ้านต้นปรง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนขนุน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.491,100.095place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยจัดเป็นประเทศเกษตรกรรม ซึ่งมีการเพาะปลูกพืชอาหารหลายประเภททั้งเพื่อบริโภคในประเทศและส่งออก ดังนั้นคุณภาพและความปลอดภัยของผลผลิตทางการเกษตร จึงมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศและสุขภาพของผู้บริโภคในวงกว้าง ปัจจุบันการผลิตพืชอาหารหลายชนิดกำลังประสบปัญหาการปนเปื้อนของสารพิษอันเกิดจากการตกค้างของสารเคมีที่ใช้ทางการเกษตร เนื่องจากเกษตรกรนิยมปลูกพืชเชิงเดี่ยว เป็นการผลิตเชิงการค้าในปริมาณมากต้องมีการดูแลอย่างเข้มข้น ดังนั้น การลดความเสี่ยงจากความเสียหายของผลผลิตจึงจำเป็นต้องพึ่งพาสารเคมีทางการเกษตรในปริมาณสูง สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์และสัตว์ นำไปสู่อวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์และตา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้ สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น พื้นที่หมู่ที่ 10 บ้านต้นปรง เป็นพื้นที่หนึ่งประชากร ส่วนใหย๋ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ปลูกยาง ปลูกปาล์ม ทำนา ปลูกพืชผัก และผลไม้ พบว่ามีการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืชเพื่อให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่ดี
ดังนั้น ชมรม อสม.หมู่ที่ 10 บ้านต้นปรง ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกร จึงได้จัดทำโครงการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกรชุมชนบ้านต้นปรงขึ้น เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ที่รับผิดชอบได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใด เพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกษตรกรผู้ใช้สารเคมีในการเกษตรได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี

เกษตรกรได้รับการตรวจคัดกรองหาสารเคมีตกค้างในเลือด ร้อยละ 90

2 เพื่อให้เกษตรกร มีความรู้ ทักษะ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การใช้สารเคมีในการเกษตรอย่างปลอดภัย

เกษตรกร มีความรู้ ทักษะ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การใช้สารเคมีในการเกษตรอย่างปลอดภัย ร้อยละ 80

3 เพื่อให้เกษตรกรที่เข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดซ้ำ ภายใน 3 เดือน

เกษตรกรที่เข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดซ้ำ ภายใน 3 เดือน ร้อยละ 90

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 1.อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย 1.1กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีในการเกษตรแก่เกษตรกร 1.2ประเมินสุขภาพผู้เข้าร่วมโครงการก่อนเข้าร่วมโครงการ (ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต วัดรอบเอว ค่าดัชนีมวลกาย BMI)(1 ต.ค. 2565-30 ก.ย. 2566) 0.00                        
2 2.กิจกรรมการตรวจหาสารเคมีในเลือดในกลุ่มเกษตรกร 2.1 กิจกรรมการตรวจหาสารเคมีในเลือดในกลุ่มเกษตรกร ครั้งที่ 1 2.2 กิจกรรมติดตามกลุ่มเกษตรกรที่มีผลการตรวจหาสารเคมีในเลือดในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยมาตรวจซ้ำ ครั้งที่ 2 ภายใน 3 เดือน(1 ต.ค. 2565-30 ก.ย. 2566) 0.00                        
รวม 0.00
1 1.อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย 1.1กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีในการเกษตรแก่เกษตรกร 1.2ประเมินสุขภาพผู้เข้าร่วมโครงการก่อนเข้าร่วมโครงการ (ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต วัดรอบเอว ค่าดัชนีมวลกาย BMI) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 2.กิจกรรมการตรวจหาสารเคมีในเลือดในกลุ่มเกษตรกร 2.1 กิจกรรมการตรวจหาสารเคมีในเลือดในกลุ่มเกษตรกร ครั้งที่ 1 2.2 กิจกรรมติดตามกลุ่มเกษตรกรที่มีผลการตรวจหาสารเคมีในเลือดในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยมาตรวจซ้ำ ครั้งที่ 2 ภายใน 3 เดือน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีความรู้ ทักษะ การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย 2.ทำให้ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีตกค้างในเลือดของกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการแก้ไขปัญต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2565 15:51 น.