กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุ 0-72 ประจำปี 2560
รหัสโครงการ 60-L2536-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ปูโยะ
วันที่อนุมัติ 13 ตุลาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 38,835.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางนงเยาว์ เกษกุล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปูโยะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.109,101.993place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ (well-being) ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และปัญญา (จิตวิญญาณ) และมิติของคน ครอบครัว ชุมชน และสังคมมากขึ้น โดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือ เด็กปฐมวัยซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้และรับรู้ เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป

ปัญหาในการดำเนินส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย พบว่า เด็กยังประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการเป็นจำนวนมาก จากรายงานการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการเด็ก 0-72 เดือน ปี พ.ศ. 2557 - 2559 พบว่า เด็กมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการร้อยละ4.92, 4.54 และ 3.57 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามแม้จากรายงานขนาดของปัญหาจะลดลง แต่ก็ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศระดับภาคและเป้าหมายแผนสาธารณสุขฉบับที่ 10ที่กำหนดไว้ว่าภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุ 0-72 เดือน ไม่เกินร้อยละ 7ซึ่งพัฒนาการทางด้านร่างกายนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมาจำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิตการแก้ไขปัญหาโดยการมีมุมส่งเสริมโภชนาการและพัฒนาการเด็กในสถานพยาบาลและการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็กและส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะ จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและส่งเสริมสุขภาพในเด็ก 0-72 เดือน ขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มอัตราความครอบคลุมการเฝ้าระวังโภชนาการในเด็กอายุ ๐ - ๗๒ เดือน

ร้อยละ 100 เด็ก 0-72 เดือน ได้รับการเฝ้าระวังโภชนาการ

2 เพื่อลดอัตราน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ในเด็กอายุ ๐ - ๗๒ เดือน

ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็ก 0 - 72 เดือน ลดลงคิดเป็นร้อยละ 3

3 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 0 - 72 เดือน ในการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการตามวัย

ร้อยละ 70 ผู้ปกครองมีความรู้เพิ่มขึ้น

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ 1.2ประสานงานกับอาสาสมัครสาธารณสุข 1.3เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ 1.4ประชาสัมพันธ์โครงการให้กลุ่มเป้าหมายทราบ
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1ประชุมชี้แจงอาสาสมัครสาธารณสุขเกี่ยวกับรายละเอียดโครงการ 2.2รณรงค์การชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงและประเมินพัฒนาการในเด็กกลุ่มอายุ 0 - 72 เดือน ทุกหมู่บ้านจำนวน 6 หมู่บ้าน 2.2 จัดเก็บแบบสอบถามฐานข้อมูลเด็กและวิเคราะห์หาสาเหตุ 2.3 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้แก่ ผู้ปกครองเด็กอายุ 0 - 72 เดือนจำนวน 55 คน
    2.4 มีการติดตามเยี่ยมบ้าน ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองรายบุคคลและชั่งน้ำหนักเด็กอายุ 0 – 72 เดือน ที่มีน้ำหนักต่ออายุน้อยกว่าเกณฑ์ทุกคน เดือนละ 1 ครั้ง พร้อมบันทึกผลการชั่งน้ำหนักทุก1 เดือน เพื่อประเมินความก้าวหน้าของภาวะทุพโภชนาการและจ่ายอาหารเสริมแก่เด็ก
    2.5. จัดกิจกรรม Focus group ในกลุ่มผู้ปกครองเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ 2.6.เด็กที่มีน้ำหนักต่ออายุน้อยกว่าเกณฑ์ทุกคนจะต้องได้รับวิตามินเสริมธาตุเหล็กรับประทาน วันละ 1 ช้อนชา 2.7 จ่ายยาถ่ายพยาธิแก่เด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์อายุ 24 - 72เดือน ทุกคน
    1. ขั้นประเมินผล 3.1 ติดตามภาวะโภชนาการในเด็กน้ำหนักตามเกณฑ์ทุกๆ3เดือนในเด็กที่ภาวะโภชนาการน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์และอ้วนเกินเกณฑ์ทุก ๆ 1เดือน 3.2 ประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็ก 0-72 เดือนได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ได้ตามเป้าหมาย
  2. ปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็ก 0-72 เดือน ลดลง
  3. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในการดูแลเด็กด้านโภชนาการและการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2559 11:30 น.