กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการส่งเสริมการจัดการตนเองแบบ Home Center ของผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ในศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 ประจำปี 2566

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการจัดการตนเองแบบ Home Center ของผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ในศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L6961-1-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานการพยาบาลชุมชนโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
วันที่อนุมัติ 4 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 45,360.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาซูรา เบ็ญจุฬามาศ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่คุกคามสุขภาพของคนทั่วโลกสมาพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติคาดว่า ในปี พ.ศ. 2583 จะมีผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลกถึง 642 ล้านคน ปัจจุบันประชากรไทยวัยทำงานเจ็บป่วยเป็นโรคเบาหวานถึง 4.8 ล้านคน ของประชากรวัยทำงานทั้งหมด แต่ละวันมีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานถึง 200 คน หรือประมาณชั่วโมงละ 8 คน โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากเป็นโรคที่ส่งผลต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกายที่เป็นต้นเหตุของการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลกระทบทางด้านร่างกาย ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคไตวาย โรคหลอดเลือดส่วนปลาย และการถูกตัดอวัยวะ เป็นต้น เป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตถึงร้อยละ 65 โรคเบาหวานส่งผลกระทบทางด้านจิตใจ โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้ามากกว่าคน ปกติ 2 เท่า ปัญหาของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่พบบ่อยที่สุด คือ การบริโภคอาหารไม่ถูกต้อง บริโภคอาหารที่เน้นรสหวาน มัน เค็มเป็นหลัก สาเหตุ คือ ความเคยชิน ต้องประกอบอาชีพนอกบ้าน ไม่มีเวลาในการประกอบอาหารเองจึงหาซื้ออาหารสำเร็จรูป รวมถึงขาดการออกกำลังกาย อีกทั้งการรับประทานยาอย่างไม่ต่อเนื่อง และไม่สามารถปรับพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกหลักได้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และมีความเครียดจากโรคที่เป็น ส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคมีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ป่วยและครอบครัว นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบทางด้านสังคม ทำให้สูญเสียความสามารถในการทำงาน รู้สึกว่าตนเองเป็นภาระต่อครอบครัวและสังคม คุณภาพชีวิตแย่ลง เพิ่มค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ส่งผลกระทบต่อ ครอบครัว เศรษฐกิจและสังคม ทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร เพิ่มภาระของคนในครอบครัวและสร้างภาระแก่สังคม (ชานนท์ เชาว์ดำรงสกุล, 2563) โรงพยาบาลสุไหงโก-ลกมีผู้ป่วยโรคเบาหวานตั้งแต่ปี 2563-2565 จํานวน 2,485 คน 2,660 คน และ 2,621 คน ตามลําดับ ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี 2565 มีผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้สูงถึงร้อยละ 60.51 ในเขตรับผิดชอบของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 มีผู้ป่วยที่มีโรคเบาหวาน จำนวน 764 ราย โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,844 ราย โรคเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูง 529 และมารับการตรวจรักษาและรับยาที่ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2 จำนวน 100 ราย/สัปดาห์ (ในวันคลินิกเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง)
ดังนั้นเพื่อส่งเสริมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะในการจัดการตนเองแบบ Home Center เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เกิดประสิทธิผลที่ดี และเกิดความพึงพอใจ ทำให้ลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ งานการพยาบาลชุมชน ร่วมกับ ศูนย์แพทย์ใกล้ใจใกล้ใจ 2 จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการจัดการตนเองแบบ Home Center ของผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ในศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 2

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ เกิดความตระหนักในการดูแลตนเองและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรค อาการแสดง การปฏิบัติตัวและการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น ร้อยละ80

65.00 80.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องได้

ผู้ป่วยเบาหวานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ร้อยละ 80

50.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 45,360.00 3 45,360.00
16 - 31 ม.ค. 66 คัดกรองสุขภาพ 0 0.00 0.00
16 ม.ค. 66 - 30 เม.ย. 66 คนโกลก อ่อนหวาน สำราญใจ ใส่ใจสุขภาพ 0 43,360.00 43,360.00
1 พ.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 ติดตามตามติดแบบ Home center 0 2,000.00 2,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ เกิดความตระหนักในการดูแลตนเองและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
  2. ผู้ป่วยเบาหวานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2565 00:00 น.