กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก
รหัสโครงการ 66-L3026-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกอลำ
วันที่อนุมัติ 17 ตุลาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 31 กรกฎาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 23,560.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรอฮานา ดือเร๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกอลำ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2566 31 ก.ค. 2566 23,560.00
รวมงบประมาณ 23,560.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในตำบลกอลำซึ่งเริ่มตั้งแต่การดูแลสุขภาพหญิงวัยเจริญพันธ์เพื่อให้มีการตั้งครรภ์และการคลอด/หลังคลอดมีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัยมีสุขภาพแข็งแรงไม่เกิดโรคภาวะแทรกซ้อน ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม เป็นปัญหาที่สำคัญของงานอนามัยแม่และเด็กในประเทศไทย โดยกระทรวงสาธารณสุขตั้งเป้าหมายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่๗จนถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่๙ได้กำหนดเป้าหมายทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย ไม่เกินร้อยละ ๗ จากผลการดำเนินงาน งานอนามัยแม่และเด็กในปี ๒๕66ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกอลำ อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย ภาพรวมได้ร้อยละ 9.09 และอัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย ในไตรมาตรแรก ปี ๒๕66 ร้อยละ 10.71 และพบว่าอัตราวัยรุ่นตั้งครรภ์ ร้อยละ 14.28 และพบว่าสถานการณ์ปัจจุบันพบว่ามารดาไม่สามารถเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่วัยรุ่นจะมีภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์สูงกว่าผู้ที่มีอายุเกินกว่า ๒๐ ปี เช่น ภาวะโลหิตจาง ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ภาวะคลอดก่อนกำหนดสูง เจ็บครรภ์คลอดนานการคลอดโดยใช้อุปกรณ์ช่วยคลอด เสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอด ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม และทารกตายในครรภ์ อัตราตายของมารดาอายุ ๑๕-๑๙ ปี สูงกว่ามารดาที่มีอายุ ๒๐-๒๔ ปี ถึง ๓ เท่า และวัยรุ่นยังไม่พร้อมด้านจิตใจสำหรับการเป็นแม่เมื่อไม่พร้อมในการเป็นแม่จึงฝากบุตรไว้กับญาติหรือผู้ดูแลเด็ก โดยการให้กินนมผสม ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจตามมานอกจากนี้การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นยังก่อให้เกิดปัญหาทางด้าน เศรษฐกิจและสังคมอีกด้วยคือการต้องหยุดหรือออกจากการศึกษา ไม่มีงานทำ ค่ารักษาพยาบาลขณะตั้งครรภ์ การคลอดบุตร และการเลี้ยงดูบุตร ปัญหาเหล่านี้ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของทั้งแม่วัยรุ่นและบุตรที่เกิดมา ผลกระทบทั้งด้านสุขภาพ ทั้งกาย จิต การศึกษาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ทั้งต่อตัววัยรุ่นเอง ครอบครัวและสังคมไทยในภาพรวม ซึ่งก็ยังเป็นปัญหาที่เชื่อมโยงและส่งผลต่อสุขภาพแม่และเด็ก ดังนั้นทาง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกอลำยังคงดำเนินโครงการนี้อย่างต่อเนื่องต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อดูแลหญิงวัยเจริญพันธ์มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเอง

 

2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์/มารดาหลังคลอดและครอบครัวตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลตนเองและทารกแรกเกิด

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 23,560.00 0 0.00
1 พ.ค. 66 - 31 ก.ค. 66 อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย 0 23,560.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์ได้รับความรู้และสามารถดูแลสุขภาพตัวเองได้ถูกต้อง
  2. ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์/หลังคลอด
  3. เด็กแรกเกิด-ต่ำกว่า๖ เดือน กินนมแม่อย่างเดียว
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2565 13:02 น.