กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมฟื้นฟูผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L6961-1-45
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
วันที่อนุมัติ 28 มิถุนายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 กรกฎาคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 10,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรอซีดา เจ๊ะแว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าโครงสร้างประชากรไทยอยู่ในระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะประชากรสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ปี 2564 ประชากรไทยที่อายุ 60 ปีขึ้นไป จะมีมากถึงร้อยละ 20 เรียกว่าเป็น " สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์" และจะเป็น " สังคมสูงวัยระดับสุดยอด" จึงคลาดว่าในปี 2574 เมื่อประชากรสูงอายุเพิ่มเป็น ร้อยละ 28 ผลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย พบว่า ผู้สูงอายุเป็นโรคเรื้อรัง (โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคหลอดเลือดสมอง) และมีภาวะถดถอยของสมรรถนะทางร่างกายซึ่งลักษณะการอยู่อาศัยของครอบครัวไทย ผู้สูงอายุที่อยู่ลำพังกับคู่สมรส หรืออยู่ตามลำพังคนเดียว มีจำนวนมากขึ้นผู้สูงอายุวัยปลาย (อายุ 80 ปีขึ้นไป) มีมากถึงร้อยละ 25 ที่ต้องการการดูแลปรนนิบัติ แต่มีผู้สูงอายุที่ต้องการดูแล แต่ไม่สามารถมีผู้ดูแลได้ เป็นสัดส่วนมากถึง ร้อยละ 4 ของผู้สูงอายุวัยปลายทั้งหมด จากสถานการณ์ และแนวโน้มของสัดส่วนผู้สูงอายุ และความเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังทั้งทางกาย และจิตใจ รัฐบาลจึงจำเป็นต้องมีการเตรียมระบบการดูแลสุขภาพของประชากรผู้สูงอายุ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) จึงได้จัดตั้งคณะทำงานพัฒนาประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข ด้านการดูแลระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง และสนับสนุนให้จัดหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ โดยดำเนินการภายใต้ศูนย์พัฒนา และฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และคนพิการ ทั้งนี้ ให้จัดตั้ง และกำกับ หรือดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานของรัฐ (ประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2560) ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโกลก พบว่าประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากปี พ.ศ. 2563 ผู้สูงอายุมีทั้งหมด5,866 คน คิดเป็นร้อยละ 14.37 ปี พ.ศ. 2564 จำนวน 6,075 คน คิดเป็นร้อยละ 14.95 และปี พ.ศ. 2565 จำนวน 6,203 คน คิดเป็นร้อยละ 15.43 ตามลำดับ ซึ่งมีกลุ่มผู้สูงอายุมีติดบ้านติดเตียง ในปี 2565 จำนวน 57 คน ส่งผลให้ผู้สูงอายุบ้างกลุ่มที่มีโรคประจำตัว ติดบ้านติดเตียงหลังจากกลับรักษาตัวที่โรงพยาบาลแล้ว ไม่สามารถดูแลตนเองได้ และผู้ดูแลขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงขณะอยู่ที่บ้านบางรายนอนติดเตียงนานจึงทำให้เกิดภาวะ มีแผลกดทับ อักเสบรุนแรง ข้อติดแข็ง ตามร่างกาย ส่งผลให้ผู้สูงอายุต้องกลับไปรักษาตัวอีกครั้งในโรงพยาบาล และส่งผลกระทบต่อการเพิ่มของความต้องการค่าใช้จ่ายด้านการดูแลรักษาพยาบาล ทั้งนี้หากผู้สูงอายุปรับตัวได้ทันกับความเปลี่ยนแปลงก็จะสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข เกิดความพึงพอใจในชีวิต แต่ถ้าไม่พร้อมหรือปรับตัวไม่ได้และไม่ดีพอ จะส่งผลให้เกิดความรู้สึกว่าตนเองโดดเดี่ยวเหงา ถูกทอดทิ้ง มีความวิตกกังวล ท้อแท้ไม่อยากมีชีวิตอยู่ รู้สึกคุณค่าในชีวิตลดน้อยลง ทั้งนี้การดูแลทางด้านจิตใจเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นภาวะความเครียด ความวิตกกังวล ความเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายจากภาวะร่างกายที่เสื่อมถอยด้วยโรคที่เป็นอยู่ ผู้สูงอายุบางคนอาจมีภาวะโรคซึมเศร้าแอบแฝงอยู่อย่างไม่รู้ตัว ซึ่งผู้ดูแลและคนใกล้ชิดต้องหมั่นคอยสังเกตว่าลักษณะการแสดงออกแบบใด ที่เป็นสัญญาณน่าห่วงในเรื่องสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ดังนั้นทางกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในวัยผู้สูงอายุและความรู้ทักษะ พื้นฐานในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมได้อย่างแท้จริงรวมถึงได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริม ป้องกัน มุ่งเน้นการมีส่วนรวมของผู้ดูแลผู้สูงอายุและครอบครัว โดยจะประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอลเท่ากับหรือน้อยกว่าสิบเอ็ดคะแนน ตามหลักเกณฑ์ การประเมินที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด จำแนกเป็นกลุ่มเป้าหมาย ออกเป็น ๔ กลุ่มและตามนโยบายขององค์กรปกครองท้องถิ่น เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงได้จัดทำโครงการ “อบรมฟื้นฟูผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตเทศบาล” ผู้จัดคาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ดูแลผู้สูงอายุและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีไม่เป็นภาระต่อสังคมและครอบครัวอีกต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ดูแลมีความรู้ด้านสุขภาพในวัยผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

ร้อยละผู้ดูแลมีระดับคะแนนความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพในวัยผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเพิ่มขึน ร้อยละ 80

50.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ดูแลมีส่วนร่วมในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

ร้อยละผู้ดูแลมีส่วนร่วมในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเพิ่มขึ้นและถูกต้อง ร้อยละ 80

50.00 80.00
3 เพื่อให้ผู้ดูแลมีความรู้การเฝ้าระวังภาวะเสี่ยงและการเจ็บป่วยในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

ร้อยละผู้ดูแลมีความรู้เฝ้าระวังภาวะเสี่ยงและการเจ็บป่วยในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

50.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
3 ก.ค. 66 - 29 ก.ย. 66 อบรมฟื้นฟูผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก 0 10,500.00 10,500.00
3 ก.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 จัดทำสื่่อการเรียนรู้ เพื่อการดูย้อนหลัง 0 0.00 0.00
3 ก.ค. 66 - 29 ก.ย. 66 เยี่ยมบ้านร่วมกับผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตเทศบาล 0 0.00 0.00
รวม 0 10,500.00 3 10,500.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ดูแลมีความรู้ด้านสุขภาพของวัยผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
  2. ผู้ดูแลมีส่วนร่วมในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
  3. ผู้ดูแลมีความรู้ เฝ้าระวังภาวะเสี่ยงและการเจ็บป่วยในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2565 00:00 น.