กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ


“ โครงการบริหารจัดการสำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ”

ตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นายสมนึก อาดตันตรา

ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการสำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพ

ที่อยู่ ตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง 1/2566

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 3 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการบริหารจัดการสำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพ จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการบริหารจัดการสำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพ



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการบริหารจัดการสำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 3 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 81,800.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้เห็นชอบให้ องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ จัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น โดยได้เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 ได้จัดทำระเบียบการดำเนินงานและแผน/กิจกรรมโครงการเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม 4 ลักษณะกิจกรรม คือกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพการป้องกัน ควบคุมโรค และการฟื้นฟูสภาพ โดยทั้ง 4 กิจกรรม จะต้องมีการใช้วัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษในการถ่ายเอกสารรายงานการประชุม การจัดทำหนังสือโต้ตอบ และการดำเนินงานธุรการต่างๆ ขณะเดียวกันก็มีความจำเป็นต้องใช้วัสดุคอมพิวเตอร์ในการพิมพ์งาน การกรอกข้อมูลออนไลน์ เพื่อการสื่อสารและรายงานผลการดำเนินการที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพเขต 12 จะต้องมีการตรวจสอบผ่านสื่ออิเลคทรอนิคส์ และบางครั้งอาจมีการจัดประชุม โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพเขต 12 ที่จำเป็นต้องใช้งบประมาณในการเดินทาง ไปประชุม หรือสัมมนา หรืออบรม ดังนั้น เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณประเภทที่ 4 (ไม่เกินร้อยละ 20) เป็นไปอย่างถูกต้องเรียบร้อย กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลแป-ระ จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการสำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ประจำปี 2566 ขึ้น.

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อจัดซื้อวัสดุสำนักงาน, ครุภัณฑ์สำนักงาน ตลอดจนค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร จัดการกองทุน เช่น ถ่ายเอกสารประกอบการประชุม กระดาษ, หนังสือคุลม, สมุดบันทึก ฯลฯ 2. เพื่อจัดซื้อวัสดุ, ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ สำหรับสำนักงานเลขานุการ 3. เพื่อจ่ายเป็นค่าตอบแทน คณะกรรมการฯ ,อนุกรรมการ, คณะทำงาน, ผู้แทนหรือผู้เสนอโครงการ ฯลฯ 4. เพื่อจ่ายเป็นค่าเดินทางไปราชการหรือเดินทางที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานเลขานุการกองทุนฯเช่น ประชุมสัมมนาอบรม และค่าลงทะเบียน เป็นต้น.

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ
  2. ประชุมอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลแป-ระ
  3. จัดซื้อวัสดุสำนักงาน
  4. ประชุมบุคคลภายนอก
  5. จัดทำแผนสุขภาพปีงบประมาณ 2567
  6. ประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ครั้งที่ 1/2566
  7. จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก
  8. ประชุมอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลแป-ระ ครั้งที่ 1/2566
  9. ประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ครั้งที่ 2/2566
  10. ประชุมอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลแป-ระ ครั้งที่ 2/2566
  11. ประชุมคณะอนุกรรมการ (LTC)
  12. ประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ครั้งที่ 3/2566
  13. จัดทำแผนสุขภาพปีงบประมาณ 2567
  14. จัดจ้างถ่ายเอกสาร
  15. จัดซื้อวัสดุสำนักงาน
  16. ประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ครั้งที่ 4/2566

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 86

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. กองทุนมีความสะดวกและการดำเนินงานมีประสิทธิภาพ
  2. กองทุนได้รับการประเมินอยู่ในเกณฑ์ไม่ต่ำกว่าระดับ ดี

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ครั้งที่ 1/2566

วันที่ 25 ตุลาคม 2565 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ครั้งที่ 1/2566 เพื่อพิจารณาอนุมัติแผนการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลแป-ระ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมพิจารณาอนุมัติแผนการดำเนินโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลแป-ระ จำนวน 18 โครงการ ผลการพิจารณาของคณะกรรมการ ฯ อนุมัติแผนการดำเนินโครงการตามที่เสนอทั้งหมด โดยให้ผู้ขอรับงบประมาณเขียนร่างโครงการ เพื่อเสนอคณะกรรม เพื่อพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป คณะกรรมการ มีมัติอนุมัติโครงการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลแป-ระ ประจำปีงบประมาณ 2566

 

24 0

2. จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค (ชนิดพกพา) จำนวน 1 เครื่อง จัดซื้อตามราคากระทรวงดิจทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำหรับใช้ในการปฏิบัติงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพ
การบันทึกข้อมูลผ่านโปรแกรมออนไลน์ มีความสะดวกกรวดเร็วขึ้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. เพื่อใช้ในสำนักงาน งานธุรการและงานอื่นๆ
  2. เพื่อให้ดำเนินงานกองทุนหลักประกันทุนสุขภาพ งานบันทึกข้อมูลผ่านโปรแกรมออนไลน์ มีความสะดวกกรวดเร็วขึ้น

 

0 0

3. ประชุมอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลแป-ระ ครั้งที่ 1/2566

วันที่ 7 ธันวาคม 2565 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ครั้งที่1/2566
วันที่ 7 ธันวาคม 2565  ณ องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล เพื่อพิจารณาความถูกต้องเหมาะสมของโครงการจากหน่วยงานที่เสนอขอรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลแป-ระ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปการการพิจราณโครงการที่เสนอขอรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ตำบลแประ วันที่ 7 ธันวาคม 2565 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ผู้เข้าประชุม 1. นางสาวปิยกัญญ์ สตันน๊อด    ประธานอุนกรรมการ 2. นางสาวปาริตตา ลารีนู      อนุกรรมการ 3. นางสาวมูน๊ะ  รอเกตุ      อนุกรรมการ 4.นางสาววีณา  ปังแลมาปุเลา  อนุกรรมการ 5.นายสมนึก  อาดตันตรา    อนุกรรมการและเลขานุการ 6. นางสาวเสาวลักษณ์ ลิ่มศรีพุทธิ์  อนุกรรมการและผช.เลขานุการ ผู้ไม่มาประชุม ๑.นายบาสิทธิ์ รอเกตุ อนุกรรมการ เริ่มประชุมเวลา ๑๐.๐๐ น
คณะอนุกรรมการได้ประชุม หารือ และมีข้อเสนอพิจารณาดังนี้ ๑โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก ๓ อ ๒ ส ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ หน่วยงานรับผิดชอบ รพ.สต.แป-ระ
มติที่ประชุม ๑.เสนอให้จัดการอบรมให้ความรู้เฉพาะครึ่งวันบ่าย เพราะสามารถให้ความรู้ได้ภายใน ๒ ชั่วโมง ซึ่งสามารถประหยัดงบประมาณค่าอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม     ๒.เสนอควรงดจ่ายค่าวิทยากรเนื่องจากจนท.ประจำ รพ สต.แป-ระ เป็นข้าราชการที่มีหน้าที่ในการอบรมให้ความรู้อยู่แล้ว     ๓.เสนอการอบรม อสม.เชี่ยวชาญ ให้จัดอบรมฉพาะครึ่งวันซึ่งสามารถประหยัดงบประมาณค่าอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒.โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปากในกลุ่มวัยทำงาน ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ หน่วยงานรับผิดชอบ รพ.สต.แป-ระ
มติที่ประชุม ๑.กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นกลุ่มวัยทำงานไม่มีความจำเป็นต้องอบรมให้ความรู้ทักษะด้านทันตกรรมและไม่ควรจัดซื้อผลิตภัณฑ์แปรงสีฟัน ยาสีฟันแจกเพราะเป็นสุขนิสัยส่วนบุคคลที่ต้องดำเนินการเป็นประจำอยู่แล้ว ดังนั้นควรเปลี่ยนเป้าหมายใหม่ ที่ประเมินแล้วว่ามีปัญหาทางด้านสุขภาพช่องปากจริง รอผู้เสนอโครงการตอบกลับ ๓.โครงการหญิงยุคใหม่ห่างไกลมะเร็งปากมดลูก หน่วยงานรับผิดชอบ รพ.สต.แป-ระ มติที่ประชุม ๑.เสนอให้จัดการอบรมเพียงครึ่งวันบ่าย ซึ่งสามารถประหยัดงบประมาณค่าอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม ตลอดจน ค่าตอบแทนวิทยากร
๔โครงการผู้สูงอายุสุขใจ สูงวัยอย่างมีความสุขปีงบประมาณ ๒๕๖๖ หน่วยงานรับผิดชอบ รพ.สต.แป-ระ
  มติที่ประชุม ๑.เสนอให้จัดการอบรมเพียงครึ่งวันบ่าย ซึ่งสามารถประหยัดงบประมาณค่าอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม       ๒.เสนอให้ตัดค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เนื่องจากผู้สูงวัยไม่เหมาะแก่การนั่งจดและเขียน       ๓. ค่าชุดเยี่ยมผู้สูงอายุให้ใช้งบประมาณจาก LTC
๕.โครงการจัดซื้อสระว่ายน้ำสำเร็จรูปสำหรับกิจกรรมวารีบำบัด หน่วยงานรับผิดชอบ ศูนย์ผู้พิการ(กองสวัสดิการสังคม)   มติที่ประชุม ๑.ให้หน่วยงานผู้ขอ คำนวณ ค่าติดตั้ง และเขียนงบประมาณยอดเต็มและแบ่งให้ทราบว่า ค่าสระฯ เท่าไหร่ และค่าติดตั้งเท่าไหร่ ขอสมทบจากกองทุนสปสช. ๔๐,๐๐๐ บาท และงบประมาณศูนย์ใช้เท่าไหร่
๖โครงการฝึกอบรมเด็กและเยาวชนทักษะการเอาตัวรอดในน้ำและการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำ หน่วยงานรับผิดชอบ กองสาธารณสุข
  มติที่ประชุม ๑.หุ่นฝึกอบรมให้ใช้ของเดิมไปก่อนและหากไม่เพียงพอ บูรณาการขอยืมจากหน่วยงานอื่น       ๒.ค่าถุงโยน ราคาสูงเกินไป เสนอราคาไม่ควรเกิน ๗๐๐ บาท       ๓.ค่าตอบแทนวิทยากรไม่ควรเกิน ๖๐๐ บาท
๗. โครงการแก้ปัญหายาเสพติดด้วยพลังรักครอบครัว หน่วยงานรับผิดชอบ กองสาธารณสุข
    มติที่ประชุม ๑.วิทยากรเป็นบุคลากรในสังกัดอปท.ไม่ควรเบิกจ่าย         ๒.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มต้องตัดออก๑มื้อเนื่องจากวันที่ ๒ เสร็จสิ้นโครงการในเวลา ๑๓.๓๐ น.
๘.โครงการพ่นหมอกควันป้องกันโรคไข้เลือดออก หน่วยงานรับผิดชอบ กองสาธารณสุข ไม่มีข้อเสนอให้แก้ไข
๙.โครงการฝึกอบรมทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน(CPR) สำหรับประชาชนในตำบลแป-ระ หน่วยงานรับผิดชอบ กองสาธารณสุข
  มติที่ประชุม ๑.เสนอให้จัดกิจกรรมเพียง ๗ วัน หมู่บ้านละ ๑ วัน
๑๐.โครงการศูนย์เรียนรู้และพัฒนาทักษะการป้องกันอุบัติเหตุ หน่วยงานรับผิดชอบ กองสาธารณสุข ไม่มีข้อเสนอให้แก้ไข
๑๑.โครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านภาษาและการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย หน่วยงานรับผิดชอบ กองการศึกษา
  มติที่ประชุม ๑.เสนอให้ปรับค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มเหลือมื้อละ ๒๕ บาท       ๒.ค่าวัสดุอุปกรณ์ผลิตของเล่นควรใช้งบประมาณศูนย์ฯหรือของอปท.       ๓.ควรจัดกิจกรรมเพียงครึ่งวันซึ่งสามารถประหยัดงบประมาณค่าอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม       ๔.ค่าหนังสือนิทานควรใช้งบประมาณศูนย์ฯหรือของอปท.       ๕.ค่าอุปกรณ์ตกแต่งสถานที่ ผิดระเบียบการเบิกจ่ายงบประมาณกองทุนฯ

 

11 0

4. ประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ครั้งที่ 2/2566

วันที่ 23 ธันวาคม 2565 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลแป-ระ ครั้งที่ 2/2566 วันที่ 23 ธันวาคม 2565
ณ ห้องประชุมโต๊ะเปรัค ชั้น 2 องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ เพื่อนำผลการพิจารณาโครงการจากคณะอนุกรรมการเสนอต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลแป-ระ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปผลการประชุมพิจราณาอนุมัติโครงการ จากคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลแป-ระ เมื่อวัน ที่ 23 ธันวาคม 2565 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ผู้มาประชุม  1. นายสาเรม        รอเกตุ    ประธานกองทุนฯ         2. นายอาวุธ          โพธิ์แก้ว ที่ปรึกษา         3.  นายบาสิทธิ์        รอเกตุ    ผู้ทรงคุณวุฒิ คนที่ 1     4.  นายดลเสด        สันเกาะ  ผู้ทรงคุณวุฒิ คนที่ 2         5. นายรอสีด        โดงกูล กรรมการ         6.นายสมชาย        ศรียาน      กรรมการ         7.นางณัฐกานต์        ศรียาน กรรมการ       8. นางสาวสุดารัตน์      สองเมือง กรรมการ (แทนผอ.รพ.สต.แป-ระ)       9. นางอัษณา        บูเก็ม กรรมการ       10. นายสมพงษ์        ลิ่มศรีพุทธิ์ กรรมการ       11.นางสุกัญญา        วุ่นซิ้ว  กรรมการ       12.นางกิตติมา        สันเกาะ  กรรมการ
      13.นายอับดุลรอหีม      รอเกตุ  กรรมการ       14.นางสาวอารียา      เหมสลาหมาด กรรมการ       15. นายโฆษิต          เซ่งเข็ม  เลขานุการกองทุนกรรมการ       16.นายสมนึก          อาดตันตรา  เลขานุการกองทุนกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ       17.นางฐิตารีย์        ชูเกตุ  เลขานุการกองทุนกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ผู้ไม่มาประชุม     1.นายแพทย์พันธ์เชษฐ์    บุญช่วย ที่ปรึกษา     2.นางวัชรินทร์        ทวนทอง    ที่ปรึกษา     3.นายประวิทย์        เก็มเต็ง  กรรมการ ผู้เข้าร่วมประชุม (คณะทำงาน)     1. นางอัจฉรา      ยาประจันทร์      คณะทำงาน     2.  นายลัทพล        ชอบงาม      คณะทำงาน     3.  นางสาวเสาวลักษณ์  ลิ่มศรีพุทธิ์  คณะทำงานและเลขานุการ เริ่มประชุม เวลา 13.30 น. ระเบียบวาระที่ 1  ประธานแจ้งที่ประชุมทราบ ประธานฯ  1.1 แจ้งเรื่องแนะนำ Web Site กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลแป-ระ นายสาเรม รอเกตุ นายสมนึก อาดตันตรา  :ขอเชิญผู้ช่วยเลขาฯ อธิบายการKey ข้อมูล ผ่าน Wed Site กองทุนหลักประกันฯ การKey ข้อมูล ต่างๆ ก็จะปรากฏอยู่ในหน้า ผ่าน Wed Site ทั้งหมด ส่วนในเรื่องการเงินที่ใช้จ่ายไปทุกบาททุกทุกสตางค์ มีการ Key ข้อมูลที่ชัดเจน สมุดคุมรับจ่าย  สมุดคุมเช็ค การอัพสมุดบัญชี
: การใช้จ่ายงบประมาณเงินอุดหนุน หน่วยงานของรัฐ อุดหนุนให้กับหน่วยงานต่างๆ ขอรายงาน/โครงการ เพื่ออัพโหลดไฟล์ต่าง Key ข้อมูลต่างผ่าน Wed Site กองทุนฯ ให้กับ สปสช. ได้รับทราบ :เรื่องแผนงาน ซึ่งทางคณะกรรมการได้พิจารณาอนุมัติแผนงานไปแล้วคราวประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อ วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๕ แผนงาน/ โครงการ ปีงบประมาณ 2566  ได้ดำเนินการ key ข้อมูลเข้าระบบ กองทุนฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว :แจ้งเพิ่มเติม ให้ส่วนองค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ ในช่วงปี 2563 ได้รับการประเมิน อยู่ที่ 100 คะแนน เรื่องของการดำเนินงาน และได้รับรางวัลกองทุนดีเด่น ส่วนในปีงบประมาณ 2565 ได้ทำการประเมินกองทุน อยู่ที่ 90 คะแนน
ที่ประชุม    : รับทราบ           1.2 แจ้งเรื่องสำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลแป-ระ จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค จำนวน ๑ เครื่อง โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลแป-ระ
ที่ประชุม        :รับทราบ
1.3 รายงานสรุปผลการพิจารณา/ข้อเสนอ คณะอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลแป-ระ ที่ประชุม  : รับทราบ

ระเบียบวาระที่ 2  รับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว ประธาน  การประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกัน สุขภาพระดับท้องถิ่น นายสาเรม รอเกตุ  ตำบลแป-ระครั้งที่ ๑ / ๒๕๖๖ วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖5               ขอเชิญผู้ช่วยเลขาฯ อ่านรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกัน  สุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลแป-ระ ครั้งที่ ๑ / ๒๕๖๖ วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖5     และขอเชิญคณะกรรมการบริหารตรวจรับรอง ที่ประชุม        : รับรองรายงานการประชุม 17 เสียง
:แจ้งเพิ่มทางผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 2 ท่าน คือ นายบาสิทธิ์ รอเกตุเป็นผู้ทรงคุณวุฒิคนที่ 1 นายดลเสด สันเกาะ ผู้ทรงคุณวุฒิ คนที่ 2 ในกรณีที่ท่านประธาน ติดภารกิจ ก็จะให้ ผู้ทรงคุณวุฒิ ปฏิบัติหน้าที่แทน

ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา ประธาน      3.1 โครงการปรับเปลี่ยนสุขภาพ ด้วยหลัก 3 อ 2 ส. ปีงบประมาณ 2566 นายสาเรม รอเกตุ นายสมนึก อาดตันตรา  ขอเชิญผู้ช่วยเลขาฯ ชี้แจงรายละเอียด โครงการปรับเปลี่ยนสุขภาพ ด้วยหลัก 3 อ 2 ส. ปีงบประมาณ 2566 ผู้เสนอโครงการ รพ.สต.แป-ระ งบประมาณ 31,810.-บาท    คณะอุกรรมการได้พิจารณาโครงการ ๑.เสนอให้จัดการอบรมให้ความรู้เฉพาะครึ่งวันบ่าย เพราะสามารถให้ความรู้ได้ภายใน ๒ ชั่วโมง ซึ่งสามารถประหยัดงบประมาณค่าอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม               ๒.เสนอควรงดจ่ายค่าวิทยากรเนื่องจากจนท.ประจำ รพ สต.แป-ระ เป็นข้าราชการที่มีหน้าที่ในการอบรมให้ความรู้อยู่แล้ว             ๓.เสนอการอบรม อสม.เชี่ยวชาญ ให้จัดอบรมเฉพาะครึ่งวันซึ่งสามารถประหยัดงบประมาณค่าอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม งบประมาณหลังจากคณะอนุกรรมการพิจารณา ๒๐,๒๑๐.-บาท
มติที่ประชุม    :  หารือกันพอสมควร จึงมีมติ เห็นชอบและอนุมัติ 17 เสียง
        3.2 โครงการเด็กปฐมวัยฟันดี ยิ้มสวยสดใสในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลแป-ระ ปีงบประมาณ 2566 เสนอโครงการ รพ.สต.แป-ระ งบประมาณ 12,760.-บาท

มติที่ประชุม    :  หารือกันพอสมควร จึงมีมติ เห็นชอบและอนุมัติ 17 เสียง
      3.3 โครงการหญิงยุคใหม่ห่างไกลมะเร็งปากมดลูก เสนอโครงการ รพ.สต.แป-ระ งบประมาณ 20,600.- บาท คณะอนุกรรมการได้พิจารณาโครงการ ๑.เสนอให้จัดการอบรมเพียงครึ่งวันบ่าย ซึ่งสามารถประหยัดงบประมาณค่าอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม ตลอดจน ค่าตอบแทนวิทยากร งบประมาณหลังจากคณะอนุกรรมการพิจารณา ๑๔,๑๕๐.-บาท
  มติที่ประชุม    :  หารือกันพอสมควร จึงมีมติ เห็นชอบและอนุมัติ 17 เสียง
      3.4 โครงการผู้สูงอายุสุขใจ สูงวัยอย่างมีความสุข ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ เสนอโครงการ รพ.สต.แป-ระ งบประมาณ 27,230.-บาท คณะอนุกรรมการได้พิจารณาโครงการ
            ๑.เสนอให้ จัดการอบรมเพียงครึ่งวันบ่าย ซึ่งสามารถประหยัดงบประมาณค่าอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม             ๒.เสนอให้ตัดค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เนื่องจากผู้สูงวัยไม่เหมาะแก่การนั่งจดและเขียน             ๓. ค่าชุดเยี่ยมผู้สูงอายุให้ใช้งบประมาณจาก LTC งบประมาณหลังจากคณะอนุกรรม  การพิจารณา ๙,๔๓๐.-บาท มติที่ประชุม    :  หารือกันพอสมควร จึงมีมติ เห็นชอบและอนุมัติ 17 เสียง

            3.5 โครงการจัดซื้อสระว่ายน้ำสำเร็จรูปสำหรับกิจกรรมวารีบำบัด เสนอโครงการศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพฯ (กองสวัสดิการสังคม) งบประมาณ ๔๐,๐๐๐ –บาท คณะอนุกรรมการได้พิจารณาโครงการ ๑.ให้หน่วยงานผู้ขอ คำนวณ ค่าติดตั้ง และเขียนงบประมาณยอดเต็มและแบ่งให้ทราบว่า ค่าสระฯ เท่าไหร่ และค่าติดตั้งเท่าไหร่ ขอสมทบจากกองทุนสปสช. ๔๐,๐๐๐.- บาท และงบประมาณ ศูนย์ใช้เท่าไหร่ งบประมาณหลังจากคณะอนุกรรมการพิจารณา 40,000.-บาท มติที่ประชุม    :  หารือกันพอสมควร จึงมีมติ เห็นชอบและอนุมัติ 17 เสียง
        3.6 โครงการฝึกอบรมเด็กและเยาวชนทักษะการเอาตัวรอดในน้ำและการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำ เสนอโครงการ กองสาธารณสุขฯ งบประมาณ 84,232.- บาทคณะอนุกรรมการได้พิจารณาโครงการ
              ๑.หุ่นฝึกอบรมให้ใช้ของเดิมไปก่อนและหากไม่เพียงพอ บูรณาการขอยืมจากหน่วยงานอื่น ๒.ค่าถุงโยน ราคาสูงเกินไป เสนอราคาไม่ควรเกิน ๗๐๐ บาท               ๓.ค่าตอบแทนวิทยากรไม่ควรเกิน ๖๐๐ บาท งบประมาณหลังจากคณะอนุกรรมการพิจารณา ๕๕,๒๓๒.-บาท มติที่ประชุม    :  หารือกันพอสมควร จึงมีมติ เห็นชอบและอนุมัติ 17 เสียง
          3.7 โครงการแก้ปัญหายาเสพติดด้วยพลังรักครอบครัว เสนอโครงการ กองสาธารณสุขฯ งบประมาณ 105,932.-บาท คณะอนุกรรมการได้พิจารณาโครงการ               ๑.วิทยากรเป็นบุคลากรในสังกัดอปท.ไม่ควรเบิกจ่าย               ๒.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มต้องตัดออก๑มื้อเนื่องจากวันที่ ๒ เสร็จสิ้นโครงการในเวลา ๑๓.๓๐ น. งบประมาณหลังจากคณะอนุกรรมการพิจารณา ๙๖,๔๓๒.-บาท มติที่ประชุม    :  หารือกันพอสมควร จึงมีมติ เห็นชอบและอนุมัติ 17 เสียง

            3.8 โครงการพ่นหมอกควันป้องกันโรคไข้เลือดออก เสนอโครงการ กองสาธารณสุขฯ  งบประมาณ ๑๕,๐๐๐.-บาท คณะอนุกรรมการได้พิจารณาโครงการ ไม่มีข้อเสนอให้แก้ไข
มติที่ประชุม    :  หารือกันพอสมควร จึงมีมติ เห็นชอบและอนุมัติ 17 เสียง

            3.9 โครงการฝึกอบรมทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน(CPR) สำหรับประชาชนในตำบลแป-ระ เสนอโครงการ กองสาธารณสุขฯ
          งบประมาณ 19,610 .- บาท คณะอนุกรรมการได้พิจารณาโครงการ ๑.เสนอให้จัดกิจกรรมเพียง ๗ วัน หมู่บ้านละ ๑ วัน งบประมาณหลังจากคณะอนุกรรมการพิจารณา ๑๕,๖๑๐.- บาท
มติที่ประชุม    :  หารือกันพอสมควร จึงมีมติ เห็นชอบและอนุมัติ 17 เสียง

        3.10 โครงการศูนย์เรียนรู้และพัฒนาทักษะการป้องกันอุบัติเหตุ เสนอโครงการ    กองสาธารณสุขฯ งบประมาณ ๔๓,๐๐๐.-บาท คณะอนุกรรมการได้พิจารณาโครงการ ไม่มีข้อเสนอให้แก้ไข
มติที่ประชุม    :  หารือกันพอสมควร จึงมีมติ เห็นชอบและอนุมัติ 17 เสียง

            3.11 โครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านภาษาและการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย เสนอโครงการ กองการศึกษา งบประมาณ 50,000.-บาท คณะอนุกรรมการได้พิจารณาโครงการ ๑.เสนอให้ปรับค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มเหลือมื้อละ ๒๕ บาท   ๒.ค่าวัสดุอุปกรณ์ผลิตของเล่นควรใช้งบประมาณศูนย์ฯหรือของอปท. ๓.ควรจัดกิจกรรมเพียงครึ่งวันซึ่งสามารถประหยัดงบประมาณค่าอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม
๔.ค่าหนังสือนิทานควรใช้งบประมาณศูนย์ฯหรือของอปท. ๕.ค่าอุปกรณ์ตกแต่งสถานที่ ผิดระเบียบการเบิกจ่ายงบประมาณกองทุนฯ งบประมาณหลังจากคณะอนุกรรมการพิจารณา ๒๖,๒๐๐ .-บาท
มติที่ประชุม    :  หารือกันพอสมควร จึงมีมติ เห็นชอบและอนุมัติ 17 เสียง

วาระที่ ๔ เรื่องติดตาม/เสนอใหม่ ประธาน  ๔.๑. ขอความเห็นชอบกำหนดค่าธรรมเนียมในการยืมอุปกรณ์ทางการแพทย์

นางสาวอารียา : ดิฉันขอเสนอ การเรียกเก็บค่าธรรมเนียม/สัญญายืมเตียงฟาวเลอร์และเบาะลมเดือนละ
เหมาสลาหมาด  ครั้งๆละ 100.-บาท/เดือน นายสาเรม      : ผมขอสรุป ค่าธรรมเนียมการ/สัญญายืม เตียงฟาวเลอร์และเบาะลม
รอเกตุ      สามเดือน 100.-บาท นายสมนึก  : แจ้งให้คณะกรรมการ ทราบการยืมถังอ๊อกซิเจน ค่าธรรมเนียม 1,000.-บาท ผู้ยืมได้นำ อาดตันตรา  มาคืนถังอ๊อกซิเจน คืนค่ามัดจำ 500.-บาท

มติที่ประชุม    :  หารือกันพอสมควร จึงมีมติ เห็นชอบและอนุมัติ 17 เสียง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 และให้นำเงินค่าธรรมเนียมเป็นรายได้ ของสำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพ วาระที่ ๕ เรื่องอื่นๆ ประธาน    : กรรมการท่านใดมีเรื่องอื่นๆจะเสนอบ้างครับ นายสาเรม   รอเกตุ ที่ประชุม : ไม่มี   นายก  : ผมขอปิดประชุมและขอขอบคุณผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน

                          ปิดประชุมเวลา 16.00 น.

 

24 0

5. ประชุมอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลแป-ระ ครั้งที่ 2/2566

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลแป-ระ ครั้งที่ 2/2566 วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566
ณ ห้องประชุมโต๊ะเปรัคชั้น 2 องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ
เพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดเตียงในตำบลแป-ระ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

รายงานสรุปผลการประชุมอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลแป-ระ ครั้งที่ 2/2566 วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566
ณ ห้องประชุมโต๊ะเปรัคชั้น 2 องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ เพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดเตียงในตำบลแป-ระ ผู้มาประชุม
  ลำดับ    ชื่อ-สกุล      ตำแหน่ง   1. นางสาวปิยกัญญ์  สตันน๊อด  ประธานอนุกรรมการ   2. นายบาสิทธ์    รอเกตุ  อนุกรรมการ   3.  นางมูน๊ะ      รอเกตุ  อนุกรรมการ   4.  นางสาวเสาลักษณ์  ลิ่มศรีพุทธิ์ อนุกรรมการและผช.เลขานุการ   5. นายสมนึก    อาดตันตรา  อนุกรรมการและเลขานุการ ผู้ไม่มาประชุม   ลำดับ ชื่อ – สกุล  ตำแหน่ง   1.  นางปาริตตา  ลารีนู    อนุกรรมการ
  2.  นางวีณา ปังแลมาปุเลา  อนุกรรมการ
เริ่มประชุม เวลา 10.00 น. ระเบียบวาระที่ 1 ประธานแจ้งที่ประชุมทราบ ไม่มี

ระเบียบวาระที่ 2 รับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว   การประชุมคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลแป-ระ ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 7 เดือน ธันวาคม 2565

ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา คณะอนุกรรมการได้หารือ และมีข้อเสนอพิจารณาโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ตำบลแป-ระ หน่วยงานที่เสนอ กองสาธารณสุขฯ งบประมาณ 46,500.-บาท

มติที่ประชุม : มติเห็นชอบและอนุมัติโครงการฯ จำนวน ๕ เสียง

วาระที่ ๔ เรื่องติดตาม/เสนอใหม่     ไม่มี

วาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ     ไม่มี         ปิดประชุมเวลา 12.00น.   ลงชื่อ เสาวลักษณ์ ผู้จดรายงานการประชุม     (นางสาวเสาวลักษณ์ ลิ่มศรีพุทธิ์)   ตำแหน่ง  จนท. กองทุนฯ
  ลงชื่อ  ปิยกัญญ์
    (นางสาวปิยกัญญ์ สตันน๊อด) ตำแหน่ง ประะธานอนุกรรมการ

 

11 0

6. ประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ครั้งที่ 3/2566

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลแป-ระ ครั้งที่ 3/2566 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566
ณ ห้องประชุมโต๊ะเปรัคชั้น 2 องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ
เพื่อพิจราณาโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดเตียงในตำบลแป-ระ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

รายงานสรุปผลการประชุมอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลแป-ระ ครั้งที่ 3/2566 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้องประชุมโต๊ะเปรัคชั้น 2 องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ผู้มาประชุม
1นายบาสิทธิ์        รอเกตุ    ผู้ทรงคุณวุฒิ คนที่ 1 2 นายณรงค์วิทย์  แว่ห้าว    ที่ปรึกษา (แทนผู้อำนวยการ รพ.ท่าแพ) 3. นางสาวปริตรตา  ลารีนู  ที่ปรึกษา (แทน สสอ.ท่าแพ) 4. นางสาววัชรินทร์  ทวนทอง  ที่ปรึกษา 5.นายรอสีด        โดงกูล กรรมการ 6.นายสมชาย      ศรียาน      กรรมการ 7.นางณัฐกานต์        ศรียาน กรรมการ   8.นางลัดาวัลย์  อบทอง กรรมการ
  9.นางอัษณา        บูเก็ม กรรมการ   10.นายสมพงษ์        ลิ่มศรีพุทธิ์ กรรมการ   11.นางสุกัญญา        วุ่นซิ้ว  กรรมการ   12.นางกิตติมา        สันเกาะ  กรรมการ
  13.นางสาวอารียา      เหมสลาหมาด กรรมการ   14. นายประวิทย์  เก็มเต็ง กรรมการ   15. นายโฆษิต          เซ่งเข็ม  เลขานุการกองทุนกรรมการ   16.นายสมนึก          อาดตันตรา  เลขานุการกองทุนกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ   17.นางฐิตารีย์        ชูเกตุ  เลขานุการกองทุนกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ผู้ไม่มาประชุม 1.นายสาเรม    รอเกตุ    ประธานกองทุน 2.นายดลเสด    สันเกาะ  ผู้ทรงคุณวุฒิ คนที่ 2 3.นายอับดุลรอหีม      รอเกตุ  กรรมการ ผู้เข้าร่วมประชุม (คณะทำงาน)     2.  นายลัทพล        ชอบงาม      คณะทำงาน     3.  นางสาวเสาวลักษณ์  ลิ่มศรีพุทธิ์  คณะทำงานและเลขานุการ


เริ่มประชุม เวลา 09.00 น. ระเบียบวาระที่ 1  ประธานแจ้งที่ประชุมทราบ 1.1เรื่อง สถานการณ์เงินกองทุน นายบาสิทธ์ รอเกตุ เรื่องนี้ ขอเชิญ นายสมนึก อาดตันตรา เป็นผู้ชี้แจงรายละเอียด นายสมนึก อาดตันตรา : สถานการเงินกองทุน คงเหลือ (ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 ) จำนวน 91,930.26บาท ที่ประชุม : รับทราบ 1.2 เรื่องแจ้งรายงานผลการอุดหนุนงบประมาณ จำนวน 2 โครงการ นายบาสิทธ์ รอเกตุ : เรื่องนี้ ขอเชิญ นายสมนึก อาดตันตรา เป็นผู้ชี้แจงรายละเอียด นายสมนึก อาดตันตรา : โครงการศูนย์เรียนรู้และพัฒนาทักษะการป้องกันอุบัติเหตุ หน่วยงานที่รับผิดชอบ      กองสาธารณสุขฯ งบประมาณ 43,000.-บาท ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นโดยเบิกจ่ายงบประมาณ จำนวน 33,000.-บาท มีงบประมาณคงเหลือ 10,000.-บาท กำลังดำเนินการขอเบิกจ่าย เพื่อส่งคืนกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลแป-ระ
: โครงการพ่นหมอกควันป้องกันโรคไข้เลือดออก หน่วยงานที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขฯ งบประมาณ 15,000.-บาท โอนงบประมาณและกำลังดำเนินการตามวัตถุปรสงค์ของโครงการ
ที่ปะชุม : รับทราบ ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น    ตำบลแป-ระ ครั้งที่ 2/2566 เมื่อ วันที่ 23 ธันวาคม 2566 วึ่งเอกสารได้ อยู่ในมือของคณะกรรมการทุกท่านแล้ว นายบาสิทธิ์  รอเกตุ : ขอเชิญคณะกรรมการบริการตรวจรับรอง ที่ประชุม : รับทราบ ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา 3.1 เรื่องพิจารณาโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ตำบลแป-ระ นายบาสิทธิ์ รอเกตุ : ขอเชิญ นายสมนึก อาดตันตรา เป็นผู้ชี้แจงรายละเอียด โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ตำบลแป-ระ ผู้เสนอโครงการ กองสาธารณสุขฯ งบประมาณ  46,000.-บาท วัตถุประสงค์ เพื่อการจัดซื้อเตียงฟาวเลอร์ ตามบัญชีมาตรฐานครุภัณฑ์ ให้ผู้ป่วยติดเตียงยืมใช้ อนุกรรมการได้พิจารณาโครงการไม่มีข้อเสนอให้แก้ไข มติที่ประชุม : หารือพอสมควร จึงมีมติเห็นชอบและอนุมัติ 17 เสียง ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องสืบเนื่อง/ติดตาม -ไม่มี- ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ -ไม่มี- นายบาสิทธิ์ รอเกตุ : ถ้าไม่มีอะไรเพิ่มเติม ผมขอปิดการประชุมและขอขอบคุณผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน

ปิดการประชุม 12.00น

 

24 0

7. ประชุมคณะอนุกรรมการ (LTC)

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมอนุกรรมการ (LTC) ครั้งที่ 1/2566 วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566
เพื่อพิจารณาโครงการ(LTC)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

รายงานสรุปผลการประชุมอนุกรรมการ (LTC) ครั้งที่ 1/2566 วันที่ 9 กุมภาพันธ์  2566 ณ ห้องประชุมโต๊ะเปรัคชั้น 2 องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ  อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ผู้มาประชุม 1. นางสาวปาริตตา  ลารีนู  อนุกรรมการ 2. นางลัดดาวัลย์  อบทอง  อนุกรรมการ 3. นายณรงค์เวทย์    แซ่ห้าว อนุกรรมการ(แทนผอ. รพท่าแพ) 4. นางณัฐกานต์    ศรียาน    อนุกรรมการ 5.    นายสมพงษ์      ลิ่มศรีพุทธิ์    อนุกรรมการ 6.      นางอัจฉรา        ยาประจันทร์  อนุกรรมการและเลขานุการ ผู้ไม่มาประชุม 1 นายสาเรม  รอเกตุ  ประะานอนุกรรมการ 2 นางสาวสุดารันต์    สองเมือง  อนุกรรมการ 3 นางกาลาโสม        กอหลัง    อนุกรรมการ เริ่มประชุม  เวลา 13.00น
นางอัจฉรา        ยาประจันทร์  : แจ้งเรื่อง หลักเกณฑ์ เพื่อสนับสนุนให้องคืกรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 ข้อ15 การประชุมคณะกรรมการกองทุนต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุมให้ประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม จึงขอเชิญที่ประชุมเสนอผู้ทำหน้าประชุม จึงขอเชิญที่ประชุมเสนอผู้ทำหน้าที่ประธานในวันนี้ นายณรงค์เวทย์  แซ่ห้าว  : ขอเสนอ นางสาวปาริตตา  ลารีนู นางอัจฉรา  ยาประจันทร์  : มีท่านใดเสนออีกบ้าง หากไม่มี ขอมติที่ประชุม มติที่ประชุม  : เห็นชอบให้ นางสาวปาริตตา  ลารีนู ทำหน้าที่ เป็นประธาน ระเบียบวาระที่ 1  ประธานแจ้งที่ประชุมทราบ นางสาวปาริตตา  ลารีนู  : 1.1 แจ้งเรื่องงบประมาณการดำเนินงาน ปี 2566  จำนวน 119,428.56บาท
                                  งบประมาณ รายรับ จำนวน 119,428.56บาท                                     งบประมาณเงินจัดสรร  (ศูนย์ LTC) จำนวน 96,000.-บาท                                     งบประมาณคงเหลือ  ประจำปี 2566 จำนวน 23,428.56บาท ที่ประชุม                    : รับทราบ ระเบียบวาระที่ 2            เรื่องรับรองรายงานการประชุม ครั้งที่แล้ว
                                          -ไม่มี-
ระเบียบวาระที่ 3          เรื่องเสนอพิจารณา                                   3.1 เรื่องพิจารณาอนุมัติโครงการและ Care plan การจัดการดูแลระยะยาวสำหรับผูสูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ปีงบประมาณ 2566
นางสาวปาริตตา ลารีนู        : เรื่องนี้ขอเชิญ นางอัจฉรา ยาประจันทร์  เป็นผู้ชี้แจงรายละเอียด การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ของศูนย์พัฒนาชีวติผู้สูงอายุในชุมชน แบ่งออกเป๋น 4 กลุ่ม ดังนี้                                         กลุ่มที่ 1 เคลื่อนไหวได้บ้าง และอาจมีปัญกาการกิน หรือ การขับถ่าย แต่ไม่มีภาวะสับสนทางสมอง จำนวน 6 คน                                         กลุ่มที่ 2 เหมือนกลุ่มที่ 1 แต่มีภาวะสับสนทางสมอง จำนวน 2 คน
                                        กลุ่มที่ 3 เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และอาจมีปัญหาการกิน หรือการขับถ่าย หรือมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง จำนวน 7 คน                                         กลุ่มที่ 4 เหมือนกลุ่มที่ 3 และมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง หรืออยู่ในระยะท้ายของชีวิต จำนน 1 คน
มติที่ประชุม                        : ใช้เวลาปรึกษาหารือ พอสมควร จึงมีมติอนุมัติ  Care plan และเห็นชอบ  Care plan  จำนวน 6 เสียง โดยใช้งบประมาณ ตาม Care plan จำนวน 96,000บาท ระเบียบวาระที่ 4                  เรื่องติดตาม/สืบเนื่อง                                             : ติดตามผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในตำบลแป-ระ
ระเบียบวาระที่ 5                    เรื่องอื่นๆ                                           -ไม่มี-
                                                                            ปิดการประชุม เวลา 16.00น.

 

15 0

8. จัดซื้อวัสดุสำนักงาน

วันที่ 21 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดซื้อวัสดุสำนักงาน จากร้านฟูรซานเครื่องเขียน จำนวน 10 รายการ ดังนี้
        1.สมุดเบอร์ 2
    2. กระดาษเอ 4 ( 80 แกรม)
    3. แฟ้ม ขนาด 3 นิ้ว
    4. กระดาษการ์ดสีเหลือง 120 แกรม
    5. กระดาษขาว-เทา
    6. ปากกาเคมี     7. ฟิวเจอร์บอร์ด ขนาด 65*120 ซม.
    8. ตะแกรงเก็บเอกสาร ขนาด 28 x 39 ซม.
9. ป้ายชื้อตั้งโต๊ะ
10. แฟ้ม ขนาด 2 นิ้ว

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.เพื่อให้การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ มีความสะดวกและรวดเร็วขึ้น 2. เพื่อจัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีประสิทธิภาพ

 

0 0

9. จัดทำแผนสุขภาพปีงบประมาณ 2567

วันที่ 21 สิงหาคม 2566 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลแป-ระ ประจำปีงบประมาณ 2567 ณ ห้องประชุม (ชั้น2) องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลแป-ระ  ดำเนินการประชุมหน่วยงานราชการ องค์กรเอกชน ตลอดจนภาคีเครือข่ายต่างๆในตำบลแป-ระ เพื่อจัดทำแผนสุขภาพของกองทุนหลักประกันสุขภาพประจำปีงบประมาณ 2567 โดยหน่วยงานต่างได้เสนอ โครงการ ทั้งหมด 19 โครงการ

 

40 0

10. จัดจ้างถ่ายเอกสาร

วันที่ 21 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จ้างถ่ายเอกสารในการประชุมกรรมการบริหารและอนุกรรมการ -ถ่ายเอกสารในการประชุมกรรมการบริหาร ครั้งที่ 1- 3 จำนวน 53 ชุด
-ถ่ายเอกสารในการประชุมอนุกรรมการ จำนวน 7 ชุด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จัดเตรียมเอกสารประกอบการประชุม กรรมการบริหารและอนุกรรมการ

 

0 0

11. ประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ครั้งที่ 4/2566

วันที่ 29 สิงหาคม 2566 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และคณะทำงานกองทุนฯ พิจารณาอนุมัติแผนการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลแป-ระประจำปี 2567

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะกรรมการบริหารและคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลแป-ระ พิจารณาอนุมัติแผนการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลแป-ระ ประจำปีงบประมาณ 2567มติที่ประชุมพิจารณาอนุมัติแผนการดำเนินงานทุกแผนงานที่เสนอของบประมาณ

 

24 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อจัดซื้อวัสดุสำนักงาน, ครุภัณฑ์สำนักงาน ตลอดจนค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร จัดการกองทุน เช่น ถ่ายเอกสารประกอบการประชุม กระดาษ, หนังสือคุลม, สมุดบันทึก ฯลฯ 2. เพื่อจัดซื้อวัสดุ, ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ สำหรับสำนักงานเลขานุการ 3. เพื่อจ่ายเป็นค่าตอบแทน คณะกรรมการฯ ,อนุกรรมการ, คณะทำงาน, ผู้แทนหรือผู้เสนอโครงการ ฯลฯ 4. เพื่อจ่ายเป็นค่าเดินทางไปราชการหรือเดินทางที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานเลขานุการกองทุนฯเช่น ประชุมสัมมนาอบรม และค่าลงทะเบียน เป็นต้น.
ตัวชี้วัด :
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 86 96
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 86 96

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อจัดซื้อวัสดุสำนักงาน, ครุภัณฑ์สำนักงาน ตลอดจนค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร จัดการกองทุน เช่น ถ่ายเอกสารประกอบการประชุม กระดาษ, หนังสือคุลม, สมุดบันทึก ฯลฯ
2. เพื่อจัดซื้อวัสดุ, ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ สำหรับสำนักงานเลขานุการ
3. เพื่อจ่ายเป็นค่าตอบแทน คณะกรรมการฯ ,อนุกรรมการ, คณะทำงาน, ผู้แทนหรือผู้เสนอโครงการ ฯลฯ 4. เพื่อจ่ายเป็นค่าเดินทางไปราชการหรือเดินทางที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานเลขานุการกองทุนฯเช่น ประชุมสัมมนาอบรม และค่าลงทะเบียน เป็นต้น.

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ (2) ประชุมอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลแป-ระ (3) จัดซื้อวัสดุสำนักงาน (4) ประชุมบุคคลภายนอก (5) จัดทำแผนสุขภาพปีงบประมาณ 2567 (6) ประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ครั้งที่ 1/2566 (7) จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ก (8) ประชุมอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลแป-ระ ครั้งที่ 1/2566 (9) ประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ครั้งที่ 2/2566 (10) ประชุมอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลแป-ระ ครั้งที่ 2/2566 (11) ประชุมคณะอนุกรรมการ (LTC) (12) ประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ครั้งที่ 3/2566 (13) จัดทำแผนสุขภาพปีงบประมาณ 2567 (14) จัดจ้างถ่ายเอกสาร (15) จัดซื้อวัสดุสำนักงาน (16) ประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ครั้งที่ 4/2566

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการบริหารจัดการสำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพ จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายสมนึก อาดตันตรา )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด