กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเด็กตะโละสุขภาพดี ชีวีเป็นสุข

ปฏิบัติการ ติดตามและประเมินการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี1 ตุลาคม 2565
1
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย นายอับดุลฮาเล็ม เบ็ญราซัค
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ปฏิบัติการ ติดตามและประเมินการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี โดยติดตามเรื่องพฤติกรรมการรับประทานอาหาร คุณภาพของอาหาร น้ำหนัก ส่วนสูงของเด็กที่เปลี่ยนแปลงไป การได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐาน การติดตามเรื่องฟัน (ฟลูออไรด์วานิช) และการติดตามเจาะเลือดเพื่อประเมินภาวะซีด ซึ่งมีการติดตามทุกเดือนเป็นระยะเวลา 3 เดือน (100 วัน) และหลังจากนั้นติดตาม 3 เดือน และ 6 เดือน  โดยมีการติดตามดังนี้ 1 ติดตามโดยอาสามัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตามละแวกรับผิดชอบ
- ติดตามชั่งน้ำหนักในเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำ (เด็กผอม) ทุกเดือนเป็นระยะเวลา 3 เดือน (100 วัน) และหลังจากนั้นติดตาม 3 เดือน และ 6 เดือน - ติดตามชั่งน้ำหนักในเด็กที่มีความเสี่ยงต่อภาวะโภชนาการต่ำ (เด็กค่อนข้างผอม) ทุกเดือนเป็นระยะเวลา 3 เดือน (100 วัน) และหลังจากนั้นติดตาม 3 เดือน และ 6 เดือน - ติดตามการรับประทานยาบำรุงในกลุ่มเด็กที่มีภาวะซีด (Dot FBC) ทุกวัน และติดตามเด็กเพื่อมาตรวจภาวะโลหิตจาง (เจาะ Hct) ทุกเดือนเป็นระยะเวลา 3 เดือน (100 วัน) และหลังจากนั้นติดตาม 3 เดือน และ 6 เดือน - ติดตามการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ทุกเดือน - ติดตามเด็กมารับบริการทันตกรรม (ทาฟลูออไรด์วานิช) ทุก 3 เดือน 2 ติดตามโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข - ติดตามและประเมินผลภาวะทุพโภชนาการทุกเดือนเป็นระยะเวลา 3 เดือน (100 วัน) และหลังจากนั้นติดตาม 3 เดือน และ 6 เดือน - ตรวจหาภาวะโลหิตจาง โดยการเจาะ Hct ทุกเดือนเป็นระยะเวลา 3 เดือน (100 วัน) และหลังจากนั้นติดตาม 3 เดือน และ 6 เดือน - ให้บริการฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ ทุกเดือน - ให้บริการทันตกรรม (ทาฟลูออไรด์วานิช) ทุก 3 เดือน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี มีภาวะโภชนาการปกติ น้อยกว่าร้อยละ 90 และมีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ มากกว่า ร้อยละ 10 จะเห็นได้ว่า ก่อนเข้าร่วมโครงการ เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี มีภาวะโภชนาการ อยู่ในเกณฑ์ผอม ค่อนข้างผอม และปกติ เท่ากับร้อยละ 46.87, 53.13, 0 ตามลำดับ ติดตามครั้งที่ 1 เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี มีภาวะโภชนาการ อยู่ในเกณฑ์ผอม ค่อนข้างผอม และปกติ เท่ากับร้อยละ 31.25, 25.00, 43.75 ตามลำดับ ตามลำดับ ติดตามครั้งที่ 2 เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี มีภาวะโภชนาการ อยู่ในเกณฑ์ผอม ค่อนข้างผอม และปกติ เท่ากับร้อยละ 9.37, 34.38, 56.25 ตามลำดับ ตามลำดับ ติดตามครั้งที่ 3 เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี มีภาวะโภชนาการ อยู่ในเกณฑ์ผอม ค่อนข้างผอม และปกติ เท่ากับร้อยละ 3.13, 21.87, 75.00 ตามลำดับ จากการเก็บข้อมูลจากแบบติดตามและประเมินภาวะทุพโภชนาการ ตามโครงการ เด็กตะโละสุขภาพดี ชีวีเป็นสุข โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (ติดตามภาวะโภชนาการ  ภาวะซีด วัคซีน และฟลูออไรด์ ทุก 3 เดือน) พบว่า เด็กที่เข้าร่วมโครงการ อายุต่ำกว่า 6 ปี มีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น แต่ยังไม่ผ่านตัวชี้วัด เพราะ เด็กมีการเจ็บป่วยบ่อย เลือกทานอาหารทำให้สัดส่วน ปริมาณโภชนาการในแต่ละวันไม่เพียงพอ และเด็กหลายรายอาศัยอยู่กับตายาย เนื่องจากผู้ปกครองต้องออกไปประกอบอาชีพต่างพื้นที่ การดูแลอาหารการกิน อาจไม่ได้คุณภาพนัก ด้วยข้อจำกัดหลายๆ อย่าง

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ มากกว่า ร้อยละ 60 จะเห็นได้ว่า กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 32 คน จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์จำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 96.88 และจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 3.12
จากการจากการเก็บข้อมูลจากแบบติดตามและประเมินภาวะทุพโภชนาการ ตามโครงการ เด็กตะโละสุขภาพดี ชีวีเป็นสุข โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ( ติดตามภาวะโภชนาการ  ภาวะซีด วัคซีน และฟลูออไรด์ ทุก 3 เดือน) พบว่า เด็กส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ เพราะมีการติดตามจากเจ้าหน้าที่และอสม.ให้มารับบริการวัคซีนตามนัดอย่างต่อเนื่องและผู้ปกครองใส่ใจ ให้ความสำคัญกับการรับวัคซีนของบุตรหลาน

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี มีภาวะโลหิตจาง น้อยกว่าร้อยละ 40  จะเห็นได้ว่า กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 32 คน ก่อนเข้าร่วมโครงการ จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่มีความเข้มข้นฮีโมโกลบินปกติ จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 62.50 และจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่มีความเข้มข้น ฮีโมโกลบินน้อย มีภาวะซีด จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 37.50
ตรวจความเข้มข้นฮีโมโกลบิน(ฮีโมคิว) สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะซีด ครั้งที่ 1 จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 12 คน จากกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 32 คน จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่มีความเข้มข้นฮีโมโกลบินปกติ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 6.25 และจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่มีความเข้มข้นฮีโมโกลบินน้อย มีภาวะซีด จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 31.25
ตรวจความเข้มข้นฮีโมโกลบิน(ฮีโมคิว)สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะซีด ครั้งที่ 2 จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 10 คน จากกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 32 คน จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่มีความเข้มข้นฮีโมโกลบินปกติ จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 18.75 และจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่มีความเข้มข้นฮีโมโกลบินน้อย มีภาวะซีด จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 12.50 ตรวจความเข้มข้นฮีโมโกลบิน(ฮีโมคิว)สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะซีด ครั้งที่ 3 จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 4 คน จากกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 32 คน จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่มีความเข้มข้นฮีโมโกลบินปกติ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 6.25 และจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่มีความเข้มข้นฮีโมโกลบินน้อย มีภาวะซีด จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 6.25 จากการเก็บข้อมูลจากแบบติดตามและประเมินภาวะทุพโภชนาการ ตามโครงการ เด็กตะโละสุขภาพดี ชีวีเป็นสุข โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (ติดตามภาวะโภชนาการ  ภาวะซีด วัคซีน และฟลูออไรด์ ทุก 3 เดือน) พบว่า กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี มีภาวะโลหิตจาง น้อยกว่าร้อยละ 40 เพราะ กรณีเด็กซีดก็จะมีการจ่ายยาเสริมธาตุเหล็กและนัดเจาะเลือดตรวจภาวะซีดซ้ำ เด็กได้รับยาเสริมธาตุเหล็กอย่างต่อเนื่อง ผู้ปกครองมีความรู้และจัดทำเมนูอาหารที่เสริมธาตุเหล็ก

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี มีฟันผุ มากกว่าร้อยละ 40 จะเห็นได้ว่า กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 32 คน ก่อนเข้าร่วมโครงการ จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่มีฟันไม่ผุ 20 คน คิดเป็นร้อยละ 62.50 และจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่มีฟันผุ 12 คน คิดเป็นร้อยละ 37.50
        ติดตาม 3 เดือน หลังได้รับการเคลือบฟลูออไรด์ จำนวนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 32 คน มีจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่มีฟันไม่ผุ 17 คน คิดเป็นร้อยละ 53.13 และจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่มีฟันผุ 15 คน คิดเป็นร้อยละ 46.87 จากการเก็บข้อมูลจากแบบติดตามและประเมินภาวะทุพโภชนาการ ตามโครงการ เด็กตะโละสุขภาพดี ชีวีเป็นสุข โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (ติดตามภาวะโภชนาการ  ภาวะซีด วัคซีน และฟลูออไรด์ ทุก 3 เดือน) พบว่า กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี มีฟันผุ มากกว่าร้อยละ 40 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 46.87 เพราะ ผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่ได้แปรงฟันให้เด็กทุกวัน และบางรายเด็กก็ไม่ยอมให้แปรงและไม่ให้ความร่วมมือ ทำให้แปรงฟันไม่สะอาด ไม่ทั่วถึง ฟันไม่สะอาด เกิดฟันผุเพิ่มขึ้น