กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันแบบยั่งยืน ตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อลด เด็ก 6-14 ปีที่มีภาวะน้ำหนักเกินภาวะอ้วน
ตัวชี้วัด : เด็กอายุ 6-14 ปีมีภาวะอ้วนและภาวะทุพโภชนาการไม่เกิน ร้อยละ 5
9.00 5.00 4.70

นักเรียนในวัยเรียน 6-14 ปีมีน้ำหนักอยู้ในเกณฑ์มาตรฐานและมีภาวะทุพโภชนาการลดลง

2 เพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์โดยพัฒนาศูนย์การเรียนรู้โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันแบบยั่งยืน
ตัวชี้วัด : นักเรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริงจากศูนย์การเรียนรู้โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันแบบยั่งยืน จำนวน 2 ฐาน นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประกอบอาชีพเสริมและมีรายได้ระหว่างเรียน
50.00 60.00 65.00

พื้นที่เกษตรในโรงเรียนมีปริมาณเพิ่มขึ้นเพื่อส่งเสริมการทำเกษตรเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบอาหารกลางวันและส่งเสริมการหารายได้เสริมของนักเรียนจากการนำผลผลิตไปจำหน่าย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 85 85
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 85 85
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 0
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

กระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายให้โรงเรียนดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางสารอาหารอย่างเพียงพอ และครบถ้วน สมวัย อีกทั้งเป็นการลดภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมให้นักเรียนมีภูมิต้านทานโรคที่ดี การที่นักเรียนมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ย่อมส่งผลให้มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจและสติปัญญาดีขึ้นอันจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา นักเรียนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมและเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อเนื่องยั่งยืน โรงเรียนบ้านอ่างทอง จึงได้จัดทำโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันแบบยั่งยืนขึ้น โดยมีปณิธานอย่างมุ่งมั่นในการเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ในการน้อมนำรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนอย่างครบวงจร เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้กินอิ่มอย่างมีคุณภาพ แก้มใส โภชนาการสมวัย สุขภาพแข็งแรง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี เติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
(1) เพื่อลด เด็ก 6-14 ปีที่มีภาวะน้ำหนักเกินภาวะอ้วน
(2) เพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์โดยพัฒนาศูนย์การเรียนรู้โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันแบบยั่งยืน
ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่
(1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของโรงเรียน
(2) การลงมือปฏิบัติงาน
(3) การสรุป รายงานผลและการปรับปรุงแก้ไข

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh