กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ เกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย
รหัสโครงการ 66-50105-02-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 8 ตำบลชะมวง
วันที่อนุมัติ 20 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 15 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,930.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาภรณ์ ลูกแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 47 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละครัวเรือนที่ทำการเกษตรแบบปลอดภัย/อินทรีย์
50.00
2 ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย
5.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การทําเกษตรในทศวรรษหน้า ผลผลิตสําหรับผู้บริโภคจะเป็นคุณภาพเป็นหลัก หรืออาหารปลอดภัย (food safety) การค้าจะเน้นด้านคุณภาพของผลผลิตมากขึ้น การทําการเกษตรด้วยระบบอินทรีย์จะเข้ามามีบทบาททดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตร ปัจจุบันการทําการเกษตรของประเทศไทย มีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกําจัดศัตรูพืชจํานวนมาก ซึ่งมีราคาแพงเพิ่มขึ้นทุกปีตามภาวะราคาตลาดน้ำมันโลก สารเคมีที่ใช้มีการสะสมในดิน น้ำ และผลผลิต เป็นอันตรายต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค และผลผลิตที่เป็นสินค้าส่งออกมีโอกาสที่จะถูกประเทศคู่ค้าส่งคืนกลับ จึงมีความจําเป็นจะต้องปรับเปลี่ยนระบบการผลิตใหม่ หันมาใช้สารอินทรีย์ทดแทน อย่างน้อยให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภค (อาหารปลอดสารพิษ) และพัฒนาไปสู่อาหารไร้สารพิษและเกษตรอินทรีย์ในที่สุด จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ชมรม อสม.หมู่ 7 และหมู่ที่ 8 ตำบลชะมวง ในฐานะองค์กรหลักในการขับเคลื่อนส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมีทางการเกษตร จึงจําเป็นที่จะต้องให้เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจ รู้จัก ผลิตและใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมี โดยจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรเครือข่ายผู้ใช้สารอินทรีย์ในการเกษตร และสร้างกลุ่มเกษตรกรให้เข้มแข็ง สามารถใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรได้อย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกรและกลุ่มแกนนำรักสุขภาพ

กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจสารเคมีในเลือด ร้อยละ 80

80.00
2 เพื่อนำผลการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด ไปใช้ในการชักจูงและโน้มน้าว ให้เกษตรกรและกลุ่มแกนนำรักสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี

กลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี ร้อยละ 50

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 8,930.00 2 8,930.00
17 ก.พ. 66 - 24 มี.ค. 66 ตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกรและแกนนำสุขภาพ 2 ครั้ง พร้อมทั้งให้คำแนะนำวิธีการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือด วิธีป้องกันตนเองจากสารเคมี 0 8,930.00 8,930.00
7 - 14 เม.ย. 66 จัดตั้งกลุ่มแกนนำรักสุขภาพ ปลูกผักกินเอง 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราการใช้สารเคมีของเกษตรกรและกลุ่มแกนนำรักสุขภาพ ลดลงร้อยละ 50
  2. เกษตรกรและกลุ่มแกนนำรักสุขภาพ ปลูกผักกินเองครอบครัวละอย่างน้อย 3 ชนิด
  3. ผลการเจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกรและกลุ่มแกนนำรักสุขภาพ “ปกติ” เพิ่มขึ้นร้อยละ 50
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2565 14:41 น.