กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะโละกาโปร์ ประจำปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-50110-04-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละกาโปร์
วันที่อนุมัติ 30 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ตุลาคม 2565 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 120,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวศิรดา ศรีของไทย
พี่เลี้ยงโครงการ นางวรรณาพร บัวสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.872,101.43place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (120,000.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 29 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 29 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่สามารถรับงบประมาณ (กลุ่ม/หน่วยงาน)
50.00
2 จำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพ เรื่อง ความเข้าใจจุดมุ่งหมายกองทุน ประกาศ ระเบียบ และการทำโครงการด้านสุขภาพ(คน)
50.00
3 จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)
60.00
4 จำนวนครั้งของประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ (ปีที่ผ่านมา)
30.00
5 ร้อยละของโครงการ ที่มีการสรุปงาน ส่งรายงาน และปิดโครงการ ภายในปีงบประมาณ
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้เห็นชอบให้ดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ตามมาตรา 18 (9) และมาตรา 47 ได้สนับสนุนและกำหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน และภาคเอกชนที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการแสวงหากำไร ดำเนินงานและบริหารจัดการเงินทุนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพให้แก่บุคคลในพื้นที่ ให้คณะกรรมการสนับสนุนและประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรดังกล่าวเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุน กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์กรบริหารส่วนตำบลตะโละกาโปร์ เกิดขึ้นตามแนวทางการดำเนินงานดังกล่าว โดยได้ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา ซึ่งในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นหรือพื้นที่ ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2557 โดยแต่ละกองทุนฯ นำหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาจัดทำเป็นระเบียบกองทุนสำหรับใช้ในการบริหารจัดการกองทุนต่อไป ทั้งนี้ นอกเหนือจากหลักเกณฑ์ดังกล่าว ปัจจัยในการบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพ ยังเกิดขึ้นจากคณะบุคคลอีกหนึ่งคณะตามที่กล่าวข้างต้น นั้นคือ คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะโละกาโปร์ อนุกรรมการฯ กล่าวคือ การที่คณะกรรมาการบริหารกองทุนมีความรู้มีความสามารถเข้าถึง เข้าใจหลักการบริหารจัดการกองทุน ก็จะทำให้กองทุนแห่งนั้นดำเนินการสำเร็จตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ประกอบกับ สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติงานให้กับคณะกรรมการบริหารกองทุน ก็ต้องมีเจ้าหน้าที่ดำเนินงานกองทุนฯ วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่พร้อมในการสนับสนุนการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพไปพร้อมกัน ดังนั้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะโละกาโปร์ จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะโละกาโปร์ ประจำปีงบประมาณ 2566 ขึ้น ตามระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะโละกาโปร์ ได้กำหนดให้มีการประชุมของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ อย่างน้อยปีละสี่ครั้ง โดยได้ให้เบิกเงินค่าเบี้ยประชุม และค่าวัสดุต่างๆ จากเงิน 15 % รวมกับ LTC 5% รวมทั้งหมดเป็น 20% ที่กองทุนได้ตั้งไว้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน

มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ โครงการด้านสุขภาพ จำนวน 29 คน

50.00 100.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่ดีและมีรายงานผลการดำเนินงานดี

จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)

60.00 100.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการ ที่มีการส่งผลงานและส่งรายงาน ตรงตามเวลา

ร้อยละของโครงการ ที่มีการสรุปงาน ส่งรายงาน และปิดโครงการ ภายในกำหนด เพิ่มขึ้น

60.00 100.00
4 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล

จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการ(กลุ่ม/หน่วยงาน)

50.00 80.00
5 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน

มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ โครงการด้านสุขภาพ(คน)

50.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 159 97,680.00 6 50,335.00
3 ต.ค. 65 - 29 ก.ย. 66 ค่าตอบแทนคณะกรรมการกองทุน สปสช. 19 30,400.00 22,000.00
3 ต.ค. 65 - 29 ก.ย. 66 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มของกรรมการกองทุน สปสช. และผู้เข้าร่วมประชุมฯ 29 5,000.00 4,095.00
3 ต.ค. 65 - 29 ก.ย. 66 ค่าอาหารและเครื่องดื่มของกรรมการฯ 29 1,740.00 1,140.00
3 ต.ค. 65 - 29 ก.ย. 66 ค่าตอบแทนคณะกรรมการกองทุน LTC 10 12,000.00 3,900.00
3 ต.ค. 65 - 29 ก.ย. 66 ค่าเดินทางไปราชการของคณะกรรมการกองทุน สปสช. และ กองทุน LTC 29 30,000.00 17,520.00
3 ต.ค. 65 - 29 ก.ย. 66 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มของกรรมการกองทุน LTC และผู้เข้าร่วมประชุมฯ 14 1,960.00 1,680.00
13 พ.ย. 66 อื่นๆ 29 16,580.00 -
15 พ.ย. 65 โครงการพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการและผู้ขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนฯ ประจำปีงบประมาณ 2566 40 12,320.00 12,320.00
40 12,320.00 1 12,320.00
18 ส.ค. 66 ค่าจัดซื้อเครื่องปริ้นเอกสาร 0 10,000.00 10,000.00
0 10,000.00 1 10,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะโละกาโปร์ สามารถที่จะดำเนินการบริหารจัดการกองทุนฯ ที่ดี ตลอดจนการพิจารณาโครงการต่างๆ ได้ตามกำหนดเวลา จนมีผลทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน
  2. มีการประชุมคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณาและติดตามงานอย่างน้อย 4 ครั้ง เพื่อโครงการที่เสนอได้รับการพิจารณาอย่างน้อย 80 เปอร์เซ็นต์
  3. มีการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของกองทุนร่วมกับทีมพี่เลี้ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2565 10:02 น.