โครงการร่วมพลัง ชาวท่าสาปเดินวิ่งเพื่อสุขภาพ
ชื่อโครงการ | โครงการร่วมพลัง ชาวท่าสาปเดินวิ่งเพื่อสุขภาพ |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่าสาป |
วันที่อนุมัติ | 7 พฤศจิกายน 2565 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 12 พฤศจิกายน 2565 - 29 กันยายน 2566 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 29 กันยายน 2566 |
งบประมาณ | 14,540.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางซาวียะห์ มูซา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลท่าสาป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.538,101.235place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 200 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การมีสุขภาพที่ดี เป็นความปรารถนาของคนทุกคน เพราะการมีสุขภาพที่ดีเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความสุข และส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ในที่สุด เพราะคำว่า สุขภาพ มีความหมาย คือ สภาวะแห่งความ สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมด้วยดี ไม่ใช่เพียงแต่ความปราศจากโรค หรือทุพพลภาพเท่านั้น (องค์การอนามัยโลก , 2491) จากคำจำกัดความนี้แสดงให้เห็นว่า ภาวะของความไม่มี โรคหรือไม่บกพร่องยังไม่ถือว่ามีสุขภาพ แต่สุขภาพมีความหมายเชิงบวกที่เน้นความเป็นอยู่ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม นั่นคือ ต้องมีสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขภาพทางสังคมครบทุกด้าน ซึ่งการสร้างเสริมสุขภาพประกอบด้วยแนวทางหลายแนวทางด้วยกัน และที่ได้รับการยอมรับในแนวทางปฏิบัติตามหลัก วิชาการคือ การมีสุขภาพที่ดี ตามหลัก 6 อ.สร้างสุขภาพคนไทย ซึ่งประกอบด้วย อ.ที่ ๑ อาหาร อ.ที่ ๒ ออกกำลังกาย อ.ที่ ๓ อารมณ์ อ.ที่ ๔ อนามัยสิ่งแวดล้อม อ.ที่ ๕ อโรคยา และ อ.ที่ ๖ อบายมุข ซึ่งจะต้องปฏิบัติควบคู่กันไปอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการออกกำลังกาย ที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายในการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งการออกกำลังกายก็จะมีหลากหลายรูปแบบและวิธีการแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความถนัด ความสนใจ และความพร้อมตลอดจนประโยชน์ที่ได้รับของแต่ละบุคคลอีกด้วย และจากสภาวการณ์ปัจจุบัน พบว่าประชาชนในสังคมส่วนใหญ่จะประสบกับปัญหาทางด้านสุขภาพทั้งทาง ด้านร่างกายและจิตใจ อันเนื่องมาจากปัญหาสังคม การเมือง เศรษฐกิจ การว่างงาน ยาเสพติด โรคระบาด การเปลี่ยนแปลงทาง ภูมิศาสตร์ ภัยธรรมชาติ หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตส่วนตัว เช่น นิยมบริโภคอาหารจานด่วน ของขบเคี้ยว หรือ ชอบอยู่ในสังคมของโลกออนไลน์ เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้เกิดความเครียดและเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ขึ้นมากมาย หรือในวัยผู้สูงอายุก็จะเกิดภาวะซึมเศร้าได้จากประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ทั้งหมดจำนวน 1,560 คน ได้รับการประเมินภาวะรอบเอว จำนวน 1,128 คน คิดเป็นร้อยละ 72.30 มี ภาวะอ้วนและอ้วนอันตราย จำนวน 264 คน คิดเป็นร้อยละ 23.40 ดังนั้น การออกกำลังกาย จึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมลดภาวะอ้วนลงพุงและช่วยไม่ให้เกิดโรคต่างๆในอนาคตเพิ่มขึ้นได้ และสามารถผ่อนคลายความตึงเครียดได้ในทุกเพศทุกวัย ซึ่งกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งเป็นแกนนำสำคัญที่ปฏิบัติหน้าที่ในการส่งเสริมสุขภาพประชาชนในหมู่บ้าน ร่วมกับกองทุนสร้างหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่าสาป ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวนี้ จึงได้จัดทำโครงการร่วมพลัง ชาวท่าสาปเดินวิ่งเพื่อสุขภาพ ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนโดยการออกกำลังกาย และ จัดกิจกรรมรวมพลังสร้างสุขภาพ เป็นการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมและกระตุ้นให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญในการออกกำลังกายที่จะช่วยเสริมสร้างสุขภาพอย่างยั่งยืน และในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการดังกล่าวนี้ ยังเป็นการสนับสนุนภารกิจของกองทุนสุขภาพชุมชน ในอันที่จะช่วยส่งเสริมกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพประชาชนพัฒนาคุณภาพชีวิตต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีการออกกำลังกายให้มากขึ้นและต่อเนื่อง
|
||
2 | เพื่อลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อต่าง ๆ
|
||
3 | เพื่อรณรงค์สร้างกระแสการเดิน – วิ่งเพื่อสุขภาพ ให้เป็นทางเลือกหนึ่งในการออกกำลังกาย
|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
15 พ.ย. 65 | จัดกิจกรรมส่งเสริมการเดิน – วิ่งเพื่อสุขภาพในพื้นที่ | 200 | 14,540.00 | - | ||
รวม | 200 | 14,540.00 | 0 | 0.00 |
- ประชาชนมีกระแสตื่นตัวเรื่องการออกกำลังกาย การเดิน – วิ่ง เพื่อสุขภาพ 2. สามารถลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อต่างๆ ได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2565 13:50 น.