กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการและพัฒนาศักยาภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปัตตานี ปีงบประมาณ 2566 (ประเภทที่ 4)
รหัสโครงการ 66-L7884-4-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 28 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 520,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้อำนวยการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปัตตานี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2565 30 ก.ย. 2566 520,000.00
รวมงบประมาณ 520,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่นับเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในระบบสุขภาพ  ของประเทศไทย ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพของประชาชนจากหลายภาคส่วนสังคม โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานหน่วยงาน องค์กร และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เข้ามาร่วมค้นหาปัญหาและความต้องการของประชาชน ร่วมวางแผนและส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจกรรม    ด้านสุขภาพ โดยสามารถติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกับประชาชน นอกจาก มีเจตนารมณ์ในการสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่แล้ว ยังสนับสนุนให้ประชาชนได้แสดงบทบาทในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้บุคลากรด้านสาธารณสุขในพื้นที่ได้แสดงบทบาทในการสนับสนุนประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งนี้ ยังส่งเสริมให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน สามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองและการสร้างกลไกในสังคมที่จะต้องเข้าร่วมกันแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่มีผลต่อสุขภาพให้ลุล่วง

เทศบาลเมืองปัตตานีได้เข้าร่วมกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2551 เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 47 ที่มุ่งเน้นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและฟื้นฟูสมรรถภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการบริการสาธารณสุขได้ทั่วถึงและมากขึ้น โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรภาคีต่าง ๆ ในพื้นที่ให้เข้ามาบริหารจัดการระบบสุขภาพร่วมกันอย่างแข็งขัน เกิดระบบสุขภาพชุมชนขึ้นในทุกพื้นที่   ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานภายในกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปัตตานี ถูกต้อง  ตามระเบียบ ทางกองทุนจึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการและพัฒนาศักยภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปัตตานี ขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานด้านการบริหารจัดการกองทุนมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพิจารณาอนุมัติแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน 2. เพื่อควบคุมและกำกับดูแลการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงิน หรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด 3. เพื่อกำกับดูแลให้หน่วยงาน หรือกลุ่ม หรือองค์กรที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ ให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพกำหนด 4. เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และแกนนำสุขภาพ 5. เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานของกองทุนให้มีประสิทธิภาพ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
    1. การบริหารงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองปัตตานี มีความถูกต้อง และมีประสิทธิภาพสามารถตรวจสอบได้
    2. คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานภายในกองทุนฯ ได้รับความรู้ความเข้าใจในการบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพไปในทิศทางเดียวกัน     3. กระบวนการบริหารจัดการกองทุนมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว     4. มีเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานที่จำเป็นและเพียงพอต่อการทำงาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2565 13:33 น.