กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้ห่วงใยใส่ใจผู้พิการและผู้ดูแลคนพิการปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L5312-3-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสตำบลปากน้ำ
วันที่อนุมัติ 14 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 28,320.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรุ่งนภา อุสมา
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวอนันญา เเสะหลี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละคนพิการที่เข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ

จำนวนคนพิการไม่สามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน ในเรื่องของกายอุปกรณ์ที่จำเป็นที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต เช่น ราวจับ วอล์คเกอร์ รถเข็น การปรับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม คิดเป็นร้อยละ 15

15.00
2 ร้อยละของผู้ดูแลหรือญาติสามารถให้การดูแลผู้พิการได้

ร้อยละของผู้ดูแลคนพิการไม่ทราบถึงสิทธิประโยชน์ที่เกิดขึ้นสำหรับคนพิกา และขาดความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพและการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับคนพิการ

15.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ความพิการเป็นสถานะสุขภาพอย่างหนึ่ง ซึ่งแสดงออกมาในลักษณะของการสูญเสียความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆในการดำรงชีวิตในสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากสุขภาพ เช่น การเจ็บป่วย การได้รับการบาดเจ็บ ทำให้ผู้พิการไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เองทั้งหมดทำให้ต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิงญาติ/ผู้ดูแล ครอบครัวถือเป็นองค์ประกอบพื้นฐานส่วนหนึ่งที่่ร่วมดูแลคนพิการ ดังนั้นการให้ความรู้ความเข้าใจและทักษะในการดูแลผู้พิการจึงเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้สามารถดำรงชีวิตได้เทียบเท่าคนปกติเข้าถึงสวัสดิการและบริการขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการอย่างทั่วถึง ในพื้นที่ตำบลปากน้ำซึ่งมีผู้มาลทะเบียนและรับเงินเบี้ความพิการภายใต้การดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ ณ เดือนตุลาคม 2565 ทั้งหมด 252 คน แบ่งเป็นประเภทคนพิการได้ 7 ประเภท 1.พิการทางการมองเห็น 19 คน 2.พิการทางการได้ยิน หรือการสื่อความหมาย 52 คน 3.พิการทางการเคลื่อนไหว 112 คน 4.พิการทางด้านจิตใจหรือพฤติกรรม 28 คน 5.พิการทางสติปัญญา 30 คน 6.พิการทางการเรียนรู้ 4 คน 7.พิการออทิสติก 7 คน ซึ่งการดำเนินงานในการดูแลคนพิการยังขาดความต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อให้มีการดูแลคนพิการอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสตำบลปากน้ำ ร่วมกับกองสวัสดิการสังคม องค์ฺการบริหารส่วนตำบลปากน้ำ จึงได้จัดทำโครงการอบรมความรู้ห่วงใยใส่ใจผู้พิการและผู้ดูแลคนพิการ เพื่อให้คนพิการและผู้ดูแลคนพิการมีความรู้ ทักษะในการดูแล เข้าถึงสิทธิประโยชน์ของคนพิการและเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถช่วยเหลือกันเองได้อย่างยั่งยืนโดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆในพื้นที่ เช่น โรงพยาบาล สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสตู และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ญาติหรือผู้ดูแลคนพิการมีความรู้ ทักษะในการดูแล สุขภาพคนพิการ

 

25.00 60.00
2 เพื่อให้คนพิการและผู้ดูแลคนพิการ มีความรู้และเข้าถึงสิทธิประโยชน์ของคนพิการ

 

25.00 60.00
3 เพื่อส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการให้แก่คนพิการ เพื่อผ่อนคลายการส่งเสริมสุขภาพจิตสุขภาพกาย เช่น การเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกาย การร้องเพลง กิจกรรมบันเทิงต่าง ๆ ของคนพิการ

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 28,320.00 0 0.00
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมประชุมคณะทำงาน 0 700.00 -
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการ 0 500.00 -
9 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ครั้งที่1 0 16,100.00 -
13 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ครั้งที่ 2 0 10,020.00 -
4 เม.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 การจัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการ 0 1,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. คนพิการและผุ้ดูแลคนพิการ มีความรู้ทักษะ สามารถให้การดูแลหรือฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการได้อย่างถูกต้อง หรือเป็นภาระให้ครอบครัวน้อยที่สุด
  2. คนพิการและผู้ดูแลคนพิการ มีความรู้ถึงสิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
  3. คนพิการและผู้ดูแลคนพิการ สามารถนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้เพื่อการพัฒนาและฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  4. คนพิการและผู้ดูแลคนพิการ สามารถให้ความช่วยเหลือผู้ดูแลคนพิการกันเองในกลุ่มคนพิการเพื่อให้คนพิการสามารถดำรงชีวิตร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุข และมีส่วนช่วยสังคมทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมอีกทางหนึ่ง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2565 15:05 น.