กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ อาหารเช้าแก่เด็กปฐมวัย
รหัสโครงการ 66 - L5303 - 3- 1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านฉลุง
วันที่อนุมัติ 8 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 พฤศจิกายน 2565 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 74,256.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวยาวารี คงมัยลิก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.687,99.965place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 พ.ย. 2565 29 ก.ย. 2566 71,232.00
2 1 ธ.ค. 2565 29 ก.ย. 2566 3,024.00
รวมงบประมาณ 74,256.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 16 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการ
100.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)     เด็กปฐมวัย เป็นวัยเริ่มต้นของชีวิต ตั้งแต่ช่วงอายุแรกเกิด ถึง 5 ปี ถือว่าเป็นวัยที่มีความสำคัญและเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศ จึงควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดให้มีสุขภาพ พลานามัยที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจที่เหมาะสมตามวัยอย่างเต็มศักยภาพ ถ้าเด็กได้รับการเลี้ยงดูที่ดี เช่น ให้เด็กได้รับโภชนาการที่ดีถูกต้องเหมาะสมตามหลักโภชนาการที่สมบูรณ์จะเป็นกลไกลสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กทั้งด้านร่างกาย จิตใจ-อารมณ์ จะส่งผลต่อการพัฒนาด้านสมองระบบประสาท และสติปัญญาในการเรียนรู้ของเด็กโดยเฉพาะช่วงอายุก่อนวัยเรียน 0 - 5 ปี จำเป็นต้องได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ในแต่ละหมู่ควรรับประทานหลากหลายชนิด รับประทานวันละ 3 มื้อ อย่างเพียงพอและดื่มนมเป็นอาหารเสริมทุกวัน โดยเฉพาะอาหารเช้าจำเป็นมากสำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นวัยกำลังเจริญเติบโตทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสมอง ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายของเด็กทำงานได้ดีขึ้น มีพละกำลังในการทำกิจกรรมต่างๆ พร้อมกับการพัฒนาสมองเกิดการเรียนรู้อย่างมีสมาธิและจดจำได้ดี หากเด็กไม่ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน หรือไม่เพียงพอ จะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายกับระบบภูมิคุ้มกัน อาจจะทำให้ป่วยง่ายพร้อมยังมีผลต่อสติปัญญา จะทำให้เด็กเรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง และจำอะไรได้ไม่ค่อยดี -2-     ปัจจุบันมีผลสำรวจจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) พบว่า เด็กเกินครึ่งไม่ได้กินอาหารเช้าส่วนใหญ่มาจากปัญหาความยากจน และความเร่งรีบในการประกอบอาชีพ รวมถึงการขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของอาหารเช้าของ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ส่งผลให้เด็กไม่ได้รับประทานอาหารเช้า หรือได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางโภชนาการไม่เพียงพอมีผลต่อภาวะทุพโพชนาการ คือ ร่างกายได้รับสารอาหารที่ไม่เหมาะสมหรือได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายไม่เพียงพอ ทั้งที่อาหารมื้อเช้าเป็นมื้อที่สำคัญต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็ก
    จากการสำรวจสภาวการณ์เจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านฉลุง พบว่ามีเด็กอายุ 2 ปีครึ่ง ถึง 4 ปี จำนวน 45 คน มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ 2 คน น้ำหนักค่อนข้างน้อย 2 คน เตี้ย 6 คน ค่อนข้างเตี้ย 7 คน จากปัญหาดังกล่าว พบว่าการส่งเสริมเฝ้าระวังการคัดกรองพัฒนาการของเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายพัฒนาเด็กไทยให้มีคุณภาพ ภายใต้มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ เป็นเครื่องมือและกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนสร้างเด็กไทยให้มีคุณภาพ โดยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง 4 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ ตลอดจนเจ้าหน้าที่บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงาน ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และผู้ปกครองซึ่งเป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องร่วมมือกันในการดูแลเด็กปฐมวัยอย่างใกล้ชิดให้มีสุขภาพจิตที่ดี เติบโตอย่างเต็มศักยภาพ
    ทั้งนี้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านฉลุง เห็นว่าควรให้ความสำคัญกับการรับประทานอาหารเช้าของเด็กปฐมวัยเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยในเบื้องต้นได้ทำการสำรวจข้อมูลพฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้าของเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการต่ำ และได้จัดทำโครงการอาหารเช้าปฐมวัย ขึ้น เพื่อให้เด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านฉลุง มีภาวะโภชนาการที่ดีและเติบโตอย่างเต็มศักยภาพทุกคน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อให้เด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านฉลุงที่มีภาวะทุพโภชนาการ ได้รับอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางสารอาหารครบ 5 หมู่
  1. เด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านฉลุงที่มี ภาวะทุพโภชนาการได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่า  ทางสารอาหารครบ 5 หมู่ ทุกคน
2 ข้อที่ 2. เพื่อยกระดับภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านฉลุง
  1. เด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านฉลุง มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน  ร้อยละ 80
3 ข้อที่ 3. เพื่อเฝ้าระวังและแก้ปัญหาเด็กมีภาวะทุพโภชนาการ ของเด็กปฐมวัยให้สูงดีสมส่วน และพัฒนาการสมวัย
  1. เด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านฉลุง ได้รับการเฝ้าระวังและได้รับการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการให้สูงดี
    สมส่วน และพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 80
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
17 พ.ย. 65 - 29 ก.ย. 66 จัดจ้างเหมาประกอบอาหารเช้าสำหรับเด็กศูนย์พัฒนา เด็กเล็กบ้านฉลุง 16 71,232.00 60,816.00
1 ธ.ค. 65 - 29 ก.ย. 66 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับภาวะโภชนาการ เด็กปฐมวัย 16 3,024.00 2,103.00
รวม 32 74,256.00 2 62,919.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางสารอาหารครบ 5 หมู่
  2. เด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีภาวะโภชนาการที่ดีทุกคน
  3. เด็ก สูงดี สมส่วน พัฒนาการสมวัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2565 10:04 น.